เจ.ดี.พาวเวอร์ เอเชีย แปซิฟิก เผยผลการศึกษาสมรรถนะ ระบบการทำงานและรูปลักษณ์ ประจำปี 2551 (Automotive Performance, Execution and Layout APEAL) ในประเทศไทยพบว่า รถยนต์ ค่ายฮอนด้า 2 รุ่น อีซูซุ 1 รุ่น มาสด้า 1 รุ่น และนิสสัน 1 รุ่น ได้รับคะแนนสูงสุดในแต่ละส่วนตลาดรถยนต์
เจ.ดี.พาวเวอร์ เอเชีย แปซิฟิก เผยผลการศึกษาสมรรถนะ ระบบการทำงานและรูปลักษณ์ ประจำปี 2551 (Automotive Performance, Execution and Layout — APEAL) ในประเทศไทยพบว่า รถยนต์ ค่ายฮอนด้า 2 รุ่น อีซูซุ 1 รุ่น มาสด้า 1 รุ่น และนิสสัน 1 รุ่น ได้รับคะแนนสูงสุดในแต่ละส่วนตลาดรถยนต์ |
. |
ปีนี้นับเป็นปีที่ 6 ของการศึกษาสมรรถนะ ระบบการทำงาน และรูปลักษณ์ ซึ่งใช้คำตอบของผู้บริโภคเป็นเกณฑ์วัดถึงปัจจัยที่สร้างความตื่นตา และความปลื้มใจที่เจ้าของรถมีต่อสมรรถนะ และการออกแบบของรถยนต์คันใหม่ของพวกเขา ในช่วง 2-6 เดือนแรกของการเป็นเจ้าของ โดยการศึกษาได้พิจารณาคุณลักษณะของรถยนต์ถึงเกือบ 100 คุณลักษณะ ซึ่งครอบคลุมระบบการทำงานของรถยนต์ 10 ประเภท ได้แก่ ภายนอกตัวรถ ภายในตัวรถ พื้นที่เก็บของ และพื้นที่ว่าง เครื่องเสียง/ ความบันเทิง/ ระบบนำทาง ที่นั่ง ระบบฮีทเตอร์ ระบบระบายอากาศ และระบบแอร์ (HVAC) สมรรถนะในการขับขี่ เครื่องยนต์/ ระบบเกียร์ ทัศนวิสัย/ ความปลอดภัยในการขับขี่ และความประหยัดน้ำมัน |
. |
ผลการศึกษารุ่นรถในแต่ละส่วนตลาดรถยนต์ ในส่วนของรถยนต์ขนาดกลางระดับต้น ฮอนด้า แจ๊สรุ่นใหม่ ครองอันดับสูงสุดด้วย 878 คะแนน จาก 1,000 คะแนน ทำคะแนนได้ดีเป็นพิเศษในทุกด้านของระบบการทำงาน 10 ประเภทของรถยนต์ในขณะที่ โตโยต้า ยาริส (852) และฮอนด้า ซิตี้ ซีร์เอ็กซ์ (847) มาเป็นที่สองและสามตามลำดับ |
. |
บรรดารถยนต์ขนาดกลาง มาสด้า3 ได้รับคะแนนสูงสุด 885 ทำคะแนนได้ดีเป็นพิเศษ ใน 8 จาก 10 ประเภท ของระบบการทำงานของรถยนต์ คือภายนอกตัวรถ ภายในตัวรถ เครื่องเสียง/ ความบันเทิง/ ระบบนำทาง ที่นั่ง ระบบฮีทเตอร์ ระบบระบายอากาศ และระบบแอร์ (HVAC) สมรรถนะในการขับขี่/ เครื่องยนต์/ ระบบเกียร์ และทัศนวิสัย/ ความปลอดภัยในการขับขี่ ตามด้วย ฮอนด้า ซีวิค ซึ่งครองอันดับสอง (869) และทำคะแนนได้ดีในด้านการประหยัดน้ำมัน โตโยต้า โคโรล่า อัลติส ตามฮอนด้า ซีวิค มาเป็นที่สาม (862) ถึงแม้คะแนนนี้จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมก็ตาม แต่ก็ทำคะแนนได้ดีเป็นพิเศษในส่วนของพื้นที่เก็บของและพื้นที่ว่าง |
. |
ฮอนด้า ซีอาร์-วี ครองอันดับสูงสุด (893) ในตลาด SUV (รถยนต์เอนกประสงค์กึ่งสปอร์ต) สองปีติดต่อกันและทำคะแนนได้ดีเป็นพิเศษในด้านภายนอกตัวรถ พื้นที่เก็บของ และพื้นที่ว่าง เครื่องเสียง/ ความบันเทิง/ ระบบนำทาง ที่นั่ง และระบบฮีทเตอร์ ระบบระบายอากาศ และระบบแอร์ (HVAC) อีซูซุ มิว-เซเว่น ตามมาติดๆ (890) และทำคะแนนได้ดีเป็นพิเศษในด้านภายในตัวรถ และระบบฮีทเตอร์ ระบบระบายอากาศ และระบบแอร์ (HVAC) เชฟโรเล็ต แคปติวา มาเป็น อันดับ 3 (887) และทำคะแนนได้ดีในด้านสมรรถนะการขับขี่ เครื่องยนต์/ ระบบเกียร์ ทัศนวิสัย/ ความปลอดภัยในการ ขับขี่ และความประหยัดน้ำมัน |
. |
ในส่วนตลาดปิกอัพตอนขยาย อีซูซุ ดีแม็กซ์ ไฮแลนเดอร์ ครองอันดับสูงสุด (899) และทำคะแนนได้ดีเป็นพิเศษในด้านภายในตัวรถ ระบบฮีทเตอร์ ระบบระบายอากาศและระบบแอร์ (HVAC) สมรรถนะในการขับขี่ และทัศนวิสัย/ ความปลอดภัยในการขับขี่ โตโยต้าสองรุ่นได้แก่ ไฮลักซ์ วีโก้ พรีรันเนอร์ มาเป็นที่สอง (893) และไฮลักซ์ วีโก้ ครองอันดับสาม (892) ไฮลักซ์ วีโก้ พรีรันเนอร์ ทำคะแนนได้ดีเป็นพิเศษในด้านภายนอกตัวรถ พื้นที่เก็บของ และพื้นที่ว่าง เครื่องเสียง/ ความบันเทิง/ ระบบนำทาง และเครื่องยนต์/ ระบบเกียร์ ในขณะที่ไฮลักซ์ วีโก้ ทำคะแนนได้ดีในด้านระบบฮีทเตอร์ ระบบระบายอากาศ และระบบแอร์ (HVAC) และความประหยัดน้ำมัน |
. |
ในประเภทรถปิกอัพสองตอน นิสสัน ฟรอนเทียร์ นาวารา ครองอันดับสูงสุด (891) สองปีติดต่อกัน และทำคะแนนดีในด้านเครื่องเสียง/ ความบันเทิง/ ระบบนำทาง ที่นั่ง ระบบฮีทเตอร์ ระบบระบายอากาศ และระบบแอร์ (HVAC) เครื่องยนต์/ ระบบเกียร์ ทัศนวิสัย/ ความปลอดภัยในการขับขี่ และความประหยัดน้ำมัน อีซูซุ ดีแม็กซ์ ไฮแลนเดอร์ และโตโยต้าไฮลักซ์ วีโก้ พรีรันเนอร์ ทั้งคู่มาเป็นอันดับสองด้วยคะแนนที่เสมอกันที่ 888 ดีแม็กซ์ ไฮแลนเดอร์ ทำคะแนนได้ดีเป็นพิเศษในด้านสมรรถนะในระบบขับขี่ ส่วน ไฮลักซ์ วีโก้ พรีรันเนอร์ นั้นทำคะแนนดีในด้านภายนอกตัวรถ ภายในตัวรถ พื้นที่เก็บของ และพื้นที่ว่าง และเครื่องเสียง /ความบันเทิง/ ระบบนำทาง |
. |
"เช่นเดียวกัน แต่ละปีที่ผ่านมา ในปี 2551 นี้เรายังคงพบว่า ผลที่ได้รับของค่ายรถยนต์ ที่ผสมผสานดีไซน์ที่แหวกแนว แปลกใหม่เพิ่มเข้าไปในรถแต่ละรุ่น คือคะแนนรวมในการศึกษา APEAL ที่สูงขึ้นนั่นเอง“โลอิค เปอ็อง ผู้จัดการประจำประเทศไทย เจ.ดี. พาวเวอร์ เอเชีย แปซิฟิก ประเทศสิงค์โปร์ กล่าว “ตลาดรถปิกอัพเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงผลที่ได้รับนี้โดยเฉพาะในส่วนตลาดปิกอัพตอนขยาย และปิกอัพสองตอน รุ่นยกระดับระบบขับเคลื่อนสองล้อที่เริ่มทยอยเข้ามาในตลาดไทยเมื่อไม่นานนี้เอง ได้สร้างความพึงพอใจเป็นอย่างมากให้แก่เจ้าของรถ มากกว่ารถปิกอัพรุ่นขับเคลื่อนสองล้อแต่ไม่ยกระดับ และรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อ" |
. |
ผลการศึกษาอุตสาหกรรมแสดงให้เห็นว่าสมรรถนะ ระบบการทำงาน และรูปลักษณ์ของรถยนต์ใหม่ในตลาดไทย ยังคงดำรงตำแหน่งของปี 2550 โดยปี 2551 นี้ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากันที่ 876 คะแนน ในแง่ของประเภทระบบการทำงานของรถยนต์นั้น ด้านทัศนวิสัย/ ความปลอดภัยในการขับขี่ ให้ความพึงพอใจมากที่สุดแก่เจ้าของรถใหม่ ส่วนด้านเครื่องเสียง/ ความบันเทิง/ ระบบนำทางนั้น ให้ความพึงพอใจน้อยที่สุด |
. |
การวิจัยนี้แสดงให้เห็นอีกว่า รูปลักษณ์ของรถยนต์มีผลในการบอกต่อของเจ้าของรถเป็นอย่างมาก 71 เปอร์เซ็นต์ ของเจ้าของรถที่ได้คะแนน APEAL เท่ากับหรือมากกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม พวกเขาจะแนะนำรถรุ่นที่เขาซื้อให้ผู้อื่น "อย่างแน่นอน" สำหรับเจ้าของรถที่ได้คะแนน APEAL ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมนั้น ตัวเลขนี้ลดลงเหลือเพียง 43 เปอร์เซ็นต์ “รุ่นรถที่ได้คะแนนดีในด้านสมรรถนะ |
. |
"ระบบการทำงานและรูปลักษณ์ (APEAL) มีผลทำให้เจ้าของรถนั้นมีความตั้งใจที่จะบอกต่อให้กับบุคคลอื่นมากกว่ารุ่นรถอื่นๆ เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ผลิตรถยนต์จะต้องมุ่งเสริมนวตกรรมแปลกใหม่ ในด้านของดีไซน์เพื่อปรับปรุงให้รถมีความดึงดูดใจมากขึ้น และเพิ่มความพึงพอใจให้ผู้ที่เป็นเจ้าของ” เปอ็อง กล่าว “การกระทำเช่นนี้ จะเพิ่มความสนใจของสาธารณชนมากขึ้น และเพิ่มการบอกเล่าปากต่อปากในแง่บวกอีกด้วย" |
. |
การศึกษาวิจัยเรื่องสมรรถนะ ระบบการทำงาน และรูปลักษณ์ ประจำปี 2551 นี้ จัดทำขึ้นโดยทำการประเมินผลจากเจ้าของรถใหม่ จำนวน 3,843 ราย ที่ซื้อรถยนต์ใหม่ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2550 ถึงเดือนมิถุนายน 2551 การศึกษาได้ทำการสำรวจรถยนต์นั่ง รถปิกอัพ และรถยนต์อเนกประสงค์ จำนวน 65 รุ่น จากรถยนต์ 11 ยี่ห้อ และเก็บข้อมูลในภาคสนามตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือนสิงหาคม 2551 |
. |
การศึกษาวิจัยเรื่องสมรรถนะ ระบบการทำงาน และรูปลักษณ์ (APEAL) เป็น 1 ใน 4 การศึกษาวิจัยด้านพฤติกรรมลูกค้าที่ เจ.ดี. พาวเวอร์ เอเชีย แปซิฟิก จัดทำขึ้นในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาวิจัยดัชนีความพึงพอใจของลูกค้า ประจำปี 2551 (Customer Satisfaction Index: CSI) ซึ่งเป็นการวัด ความพึงพอใจของลูกค้าต่อศูนย์บริการมาตรฐานในประเทศไทย ซึ่งได้เผยแพร่ไปแล้วในเดือนมิถุนายน |
. |
ส่วนดัชนีการวัดความพึงพอใจด้านบริการการขาย ประจำปี 2551 (Sales Satisfaction Index: SSI) ซึ่งเป็นการวัดความพึงพอใจต่อขั้นตอนการขายรถใหม่ ได้เผยแพร่ไปแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม รวมทั้งการศึกษาวิจัยเรื่องคุณภาพรถยนต์ใหม่ ประจำปี 2551 (Initial Quality Study: IQS) เป็นการศึกษาวิจัยถึงปัญหา ที่เจ้าของรถพบจากรถใหม่ ซึ่งเผยแพร่ไปแล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา |