เนื้อหาวันที่ : 2008-12-16 10:17:53 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 7657 views

อาเซอร์ไบจาน ประเทศที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก

อาเซอร์ไบจาน (Azerbaijan) ดินแดนแห่งนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต (Soviet Union) เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายไป ปี ค.ศ.1991 อาเซอร์ไบจานได้ประกาศเอกราชเป็นสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ.1991 แม้ว่าอาเซอร์ไบจานจะเป็นประเทศที่เพิ่งเกิดมาได้ไม่นานมานี้ แต่สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องอัตราการจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ว่ากันว่าอาเซอร์ไบจานมีอัตราการจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลกโดยในปี ค.ศ.2007 นั้นตัวเลขการจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซอร์ไบจานสูงถึงร้อยละ 32.5 เลยทีเดียว!

ท่องโลกเศรษฐกิจ ฉบับนี้ ผู้เขียนขออนุญาตพาท่านผู้อ่านไปเยือน อาเซอร์ไบจาน (Azerbaijan) ครับ ดินแดนแห่งนี้เคยเป็นส่วน หนึ่ง ของสหภาพโซเวียต (Soviet Union) อย่างไรก็ตามเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายไปเมื่อปี ค..1991 อาเซอร์ไบจานจึงได้ประกาศเอกราชเป็นสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ( Republic of Azerbaijan ) เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค..1991

.

แม้ว่าอาเซอร์ไบจานจะเป็นประเทศที่เพิ่งเกิดมาได้ไม่นานมานี้ แต่สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องอัตราการจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ว่ากันว่าอาเซอร์ไบจานมีอัตราการจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลกโดยในปี ค..2007 นั้นตัวเลขการจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซอร์ไบจานสูงถึงร้อยละ 32.5 เลยทีเดียว! ครับ

.

อาเซอร์ไบจาน: มหัศจรรย์แห่งเทือกเขาคอเคซัส

อาเซอร์ไบจานตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาคอเคซัสที่เชื่อมระหว่างยุโรปตะวันออกและเอเชียตะวันตกโดยมีพรมแดนติดกับรัสเซียทางตอนเหนือ อิหร่านทางตอนใต้ อาร์เมเนียทางตะวันตกเฉียงใต้ จอร์เจียทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือ ส่วนทางตะวันออกติดทะเลสาบแคสเปียน ( Caspian Sea )
.

อาเซอร์ไบจานมีเมืองหลวงชื่อ บากู ( Baku ) ครับ โดยประชากรทั้งหมดของประเทศนี้มีเพียงแปดล้านกว่าคนเท่านั้น ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาซีรี (Azeri) ซึ่งชาวอาซีรีนี้ได้กระจายอยู่ทั่วในดินแดนแถบเอเชียตะวันตกและยุโรปตะวันออก อย่างอิหร่าน ตุรกี จอร์เจีย คาซัคสถาน

.

 

ธงชาติของอาเซอร์ไบจาน

ประเทศที่เพิ่งเกิดใหม่แต่มีอัตราการจำเริญเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก

.

แม้ว่าชัยภูมิประเทศของอาเซอร์ไบจานจะมีลักษณะเป็น Landlocked Country หรือประเทศที่ไม่ติดทะเล แต่อย่างไรก็ตามอาเซอร์ไบจานกลับเต็มไปด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอีกทั้งมีแร่ธาตุสำคัญ ๆ มากมาย อาทิ ทองคำ เงิน ทองแดง ไททาเนียม โครเมียม แมงกานีส ด้วยเหตุนี้เองหลังจากที่อาเซอร์ไบจานประกาศเอกราชแยกตัวออกจากโซเวียตแล้ว กลุ่มทุนจากโลกตะวันตกโดยเฉพาะบรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานทั้งหลายได้แห่เข้ามาขอสัมปทานการสำรวจแร่ธาตุและพลังงานกับรัฐบาลอาเซอร์ไบจาน

.

หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดการดูแลเรื่องพลังงานให้กับรัฐบาลอาเซอร์ไบจาน คือ State Oil Company of Azerbaijan Republic ซึ่งมีชื่อย่อว่า SOCAR ครับ SOCAR เป็นรัฐวิสาหกิจสำคัญที่ทำหน้าที่จัดการดูแลด้านพลังงานให้กับรัฐบาลตั้งแต่กระบวนการสำรวจผลิตและกลั่นน้ำมันรวมไปถึงการสร้างท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

.

SOCAR รัฐวิสาหกิจด้านพลังงานที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดของอาเซอร์ไบจาน

.

ในปี ค..1994 SOCAR ได้เซ็นสัญญาสามสิบปีกับสิบสามบรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานอย่าง EXXON, AMOCO และ BP (British Petroleum) เพื่อร่วมกันสำรวจและขุดเจาะน้ำมันภายในบริเวณทะเลสาบแคสเปียน

.

โดยล่าสุดเมื่อปี ค..2006 อาเซอร์ไบจานเพิ่งเปิดใช้ The Baku-Tbilisi-Ceyhan Pipeline (BTC) ซึ่งเป็นท่อส่งน้ำมันดิบที่ยาวเป็นอันดับสองของโลก โดยท่อส่งน้ำมันดิบดังกล่าวมีความยาวถึง 1,768 กิโลเมตร เส้นทางการเดินท่อผ่านสามประเทศได้แก่อาเซอร์ไบจาน จอร์เจียและตุรกี

.

การก่อสร้างท่อส่งน้ำมันดิบ BTC นับเป็นการร่วมลงทุนครั้งใหญ่ของบรรษัทน้ำมันข้ามชาติ อาทิ BP ของอังกฤษ และ Chevron ของสหรัฐอเมริกา รวมไปถึง SOCAR ด้วย ทั้งนี้การพัฒนาโครงการ BTC สามารถสร้างความสะดวกในการขนส่งน้ำมันดิบจากแหล่งน้ำมันในทะเลสาบแคสเปียนไปยังเมืองเซย์ฮาน (Ceyhan) ซึ่งเป็นเมืองท่าของตุรกีริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน ด้วยเหตุนี้โครงการ BTC จึงช่วยประหยัดต้นทุนการขนส่งน้ำมันอีกทั้งทำให้การค้าน้ำมันดิบของอาเซอร์ไบจานขยายตัวอีกด้วย

.

มีการประมาณการกันว่าโครงการ BTC จะทำให้อาเซอร์ไบจานมีรายได้จากการขายน้ำมันดิบไม่ต่ำกว่า หนึ่ง แสนหกหมื่นล้านเหรียญดอลลาร์ตลอดช่วงระยะเวลาสามสิบปี อาจกล่าวได้ว่าความสำเร็จของโครงการสร้างท่อขนส่งน้ำมันดิบนับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของอาเซอร์ไบจานสามารถก้าวกระโดดได้เร็วขึ้น

.

The Baku-Tbilisi-Ceyhan Pipeline

ท่อส่งน้ำมันดิบที่ยาวเป็นอันดับสองของโลก

ท่อ BTC ได้ถูกสร้างผ่านสามประเทศโดยมีจุดเริ่มต้นที่เมืองบากู Baku

เมืองหลวงของอาเซอร์ไบจาน และผ่านเมืองทิบลิชี่ ( Tbilisi ) เมืองหลวงของจอร์เจีย

โดยน้ำมันดิบจะถูกขนถ่ายไปยังเมืองเซย์ฮาน (Ceyhan) ซึ่งเป็นเมืองท่าของตุรกี

.

อาเซอร์ไบจานเป็นดินแดนใหม่ที่กลุ่มทุนจากโลกตะวันตกทั้งในยุโรปและอเมริกาจ้องตาเป็นมัน เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรด้านพลังงาน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่บรรษัทน้ำมันข้ามชาติอย่าง British Petroleum หรือ BP จะเข้าไปบุกเบิกร่วมกับ SOCAR ในอุตสาหกรรมการขุดเจาะน้ำมันดิบของอาเซอร์ไบจาน ตลอดระยะเวลาเกือบยี่สิบปีที่ผ่านมา BP นับเป็นบรรษัทข้ามชาติด้านพลังงานที่เข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมันของอาเซอร์ไบจานมากที่สุด BP โดยเป็น หนึ่ง ในคู่สัญญาร่วมในโครงการสำรวจขุดเจาะน้ำมันดิบบริเวณทะเลสาบแคสเปียน เช่นเดียวกัน BP ถือหุ้นใหญ่ที่สุดในโครงการก่อสร้างท่อส่งน้ำมัน BTC

.

ปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างยุโรปและอเมริกาพยายามแสวงหาพันธมิตรใหม่ที่มีทรัพยากรพลังงานเหลือเฟือ ทั้งนี้แหล่งน้ำมันดิบเดิมอย่างตะวันออกกลางดูจะมีอุปสรรคในการขุดเจาะน้ำมันมากขึ้นเรื่อยๆไม่ว่าจะเป็นบทบาทของ OPEC ที่เพิ่มขึ้นในตลาดน้ำมันดิบหรือแม้กระทั่งสงครามทำให้ช่องทางการแสวงหาน้ำมันดิบไม่ง่ายเหมือนในอดีต

.

อย่างไรก็ตามการแตกสลายของสหภาพโซเวียตทำให้ประเทศมหาอำนาจทั้งหลายเห็นช่องทางในการแสวงหาแหล่งน้ำมันดิบแห่งใหม่จึงถือโอกาสผูกมิตรกับประเทศเกิดใหม่เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นอาเซอร์ไบจาน จอร์เจีย อุซเบกิซสถาน คาซัคสถาน โดยต้องการสัมปทานเข้าไปขุดเจาะน้ำมันดิบ

.

บากู ( Baku ) เมืองหลวงของอาเซอร์ไบจาน

เมืองที่มีประชากรอยู่เพียงแค่ล้านกว่าคน

.

ล่าสุด World Bank เพิ่งจะออกมายกย่อง อาเซอร์ไบจานว่าเป็น หนึ่ง ในสิบของประเทศที่น่าลงทุนทำธุรกิจมากที่สุดจากรายงาน World Bank’s Doing Business โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาเซอร์ไบจานกลายเป็นประเทศที่น่าจับตามอง คือ การเติบ โต ทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลกนอกจากนี้ยังมีการปฏิรูปกฎระเบียบต่างๆให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนมากขึ้น

.

หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว ดินแดนต่างๆที่เคยอยู่ในโซเวียตได้ประกาศ  เอกราชและเริ่มต้นพัฒนาเศรษฐกิจโดยใช้แนวทางตลาดเสรีของโลกทุนนิยม ขณะเดียวกันประเทศน้องใหม่เหล่านี้ก็ต้องเผชิญกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่เดินเข้าสู่กระแสโลกาภิวัตน์ นอกจากนี้ยังต้องเตรียมรับมือกับการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรของเหล่ากลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่แฝงมาในรูปของบรรษัทข้ามชาติ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้นับเป็นโจทย์ที่ท้าทายรัฐบาลอาเซอร์ไบจานในการพัฒนาประเทศแล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าครับ

.

เอกสารประกอบการเขียน

  1. เนื้อหาและภาพจาก www.wikipedia.org
  2. World Bank Group. "Top 10 reformers from Doing Business 2009"