อุตสาหกรรมยานยนต์สหรัฐ ยังคงอยู่ในภาวะเสี่ยง เนื่องจากทำเนียบขาวไม่อาจประกาศแผนช่วยเหลืออุตสาหกรรมยานยนต์สหรัฐ ให้พ้นจากการล้มละลายได้
อุตสาหกรรมยานยนต์สหรัฐ ยังคงอยู่ในภาวะเสี่ยง เนื่องจากทำเนียบขาวไม่อาจประกาศแผนช่วยเหลืออุตสาหกรรมยานยนต์สหรัฐ ให้พ้นจากการล้มละลายได้ |
. |
รัฐบาลสหรัฐภายใต้การนำของ ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ของสหรัฐ กำลังพิจารณาหาทางช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ เจเนอรัล มอเตอร์ส และ ไครซเลอร์ 2 ใน 3 ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐ ที่ระบุว่า สภาพคล่องของบริษัทกำลังจะหมดไปภายในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ หากรัฐบาลไม่ให้ความช่วยเหลือ |
. |
ทั้งนี้เมื่อสัปดาห์ก่อน สภานิติบัญญัติ หรือ สภาคองเกรส ได้คว่ำแผนช่วยเหลือผู้ผลิตรถยนต์สหรัฐมูลค่า 14,000 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 5 แสนล้านบาท ไปแล้ว อย่างไรก็ดี รัฐบาลสหรัฐกำลังพยายามหาหนทางอื่นเพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐต่อไป รวมทั้งการพิจารณาใช้เงินบางส่วนจากแผนกู้วิกฤตการเงินมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์ หรือราว 24 ล้านล้านบาท ให้กับบรรดาผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐ โดยเฉพาะเจเนอรัล มอเตอร์ส และ ไครซเลอร์ ที่กำลังเข้าใกล้ภาวะล้มละลาย |
. |
นายบ็อบ คอร์กเกอร์ วุฒิสมาชิกรัฐเทนเนสซีพรรครีพับลิกัน ยอมรับว่า สถานะทางการเงินของเจเนอรัล มอเตอร์ส และไครซเลอร์ กำลังง่อนแง่นอย่างหนัก และอาจจะล้มละลายในเร็วๆ นี้ หากไม่ต้องการให้ล้มละลาย บริษัททั้งสองก็ควรเร่งปรับโครงสร้างหนี้ รวมถึงค่าจ้างและผลประโยชน์อื่นๆ ให้สอดคล้องกับบริษัทรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นอื่นๆ เช่น โตโยต้า ฮอนด้า และนิสสัน ในสหรัฐ จ่ายให้กับพนักงาน |
. |
ด้าน นางเจนนิเฟอร์ แกนโฮล์ม ผู้ว่าการรัฐมิชิแกน สังกัดพรรคเดโมแครต ให้ความเห็นว่า ในประเทศอื่นๆ รัฐบาลต่างให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ผลิตรถยนต์ของประเทศตัวเอง ไม่ใช่เพื่อไม่ให้เกิดการว่างงานเท่านั้น แต่ยังช่วยไม่ให้เศรษฐกิจโดยรวมได้รับผลกระทบไปด้วย. |
. |
ที่มา : สำนักข่าวไทย |