การก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงเป็นความกังวลของชาวบ้านว่าสร้างปัญหาตามมาจากรถบรรทุกเข้าออกหมู่บ้านจำนวนมาก เรื่องฝุ่น เรื่องการใช้น้ำในปริมาณมาก เสียงรบกวน อุบัติเหตุก็ไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่าจะไม่เกิดขึ้น ชาวบ้านงง!เร่งรวบรัดเกินเหตุ
. |
. |
สืบเนื่องจากการที่บริษัทสมหมาย จำกัด ซึ่งประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงไฟฟ้าชีวมวลอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด มีแผนจะจัดตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้าจากแกลบที่บ้านคำสร้างไชย หมู่ ๑๗ ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด โดยติดต่อขอซื้อที่ดินประมาณ ๑๕๐ ไร่ โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม2551 ทางบริษัทและนายหน้าค้าที่ดิน ได้พาผู้นำหมู่บ้านและ ส.อบต.ไปศึกษาดูงานในโรงงานของตนที่จังหวัดร้อยเอ็ด |
. |
ต่อมาวันที่ ๑๖ ตุลาคม ผู้นำหมู่บ้านได้มีการแจกแบบสอบถามความคิดเห็นของชาวบ้านเกี่ยวกับการสร้างโรงไฟฟ้าและได้มีการจัดประชาคมหมู่บ้านอย่างเร่งด่วนขึ้นการห็นของชาวบ้านเกี่ยวกับานมที่ผ่านมาทางบริษัทและนายหน้าค้าที่ดิน ได้เหมารถพาผู้นำชุมชนและ ส.อบต.ไปศึกษาดูงานในโรงงานที่จัง เพื่อให้ชาวบ้านรับรองและเห็นชอบให้สร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยเข้าร่วมเวทีดังกล่าว ทำให้มีชาวบ้านส่วนใหญ่คัดค้านการสร้างโรงงานดังกล่าว |
. |
ล่าสุด เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายนที่ผ่านมา เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ศาลากลางหมู่บ้านคำสร้างไชย มีการเปิดเวทีแสดงความคิดเห็น ร่วมกันของชาวบ้าน โดยมีคนในชุมชน ทั้งเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน เข้าร่วมกว่า 100 คน โดยมีวิทยากรคือ อ.สุรสม กฤษณะจูฑะ นายสุรศักดิ์ รอนใหม่ นางสาวกมลวรรณ ชื่นชูใจ สมสิทธิ นิทธยุ มาให้ความรู้เรื่อง พลังงานทางเลือก และสิทธิชุมชน และประสบการณ์จากเรื่องเคลื่อนไหวของโรงงานไฟฟ้าที่แก่งคอย นอกจากนี้ชาวบ้านยังได้มีการพูดคุยกันเรื่อง ลำดับขั้นตอนความไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับการรวบรัดให้ชุมชนมีประชามติเห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้าแกลบของบริษัทสมหมาย จำกัด |
. |
นายศุภมิต สิมาพันธ์ คูรโรงเรียนบ้านห้วยนกเปล้าซึ่งอาศัยในชุมชนคำสร้างไชย กล่าวว่า ที่ผ่านมาขั้นตอนต่างๆ ของทางบริษัทกระทำการแบบรวบหัวรวบหาง ตนได้เข้าไปฟังเจ้าของบริษัทมาให้ข้อมูลในการประชุมสภาตำบล ซึ่งไม่ได้เชิญชาวบ้าน ทางบริษัทได้กล่าวอ้างว่าโรงงานผลิตไฟฟ้าจะทำให้ชาวบ้านในตำบลนี้มีงานทำ ลูกหลานของชาวบ้านจะได้เข้าทำงานในโรงงาน ชาวบ้านได้ใช้ไฟฟ้าราคาถูกเพราะมีโรงไฟฟ้าผลิตเองใกล้ชุมชน จะมีเงินทุนสนับสนุนเพื่อการพัฒนาชุมชน |
. |
แต่เมื่อถามลึกลงไปในรายละเอียด ทางบริษัทไม่สามารถชี้แจงได้ และไม่มีการศึกษาผลกระทบ เพราะทางบริษัทได้ระบุในจดหมายขอก่อสร้างว่ามีกำลังผลิตไฟฟ้า 9.9 วัตต์ ทำให้ไม่ต้องศึกษาผลกระทบเพราะในกฎหมายระบุว่าถ้าโรงไฟฟ้าที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ ๑๐ เมกกะวัตต์ขึ้นไปจะต้องมีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือที่เรียกว่า อี ไอ เอ |
. |
ซึ่งตนมองว่าทางบริษัทจงใจหลีกเลี่ยงกฎหมาย ในฐานะที่เป็นครูและอยู่หมู่บ้านแห่งนี้ แล้วเขาก็จะเอาฝุ่นและแกลบมาให้ผมถึงหน้าบ้าน ก็จำเป็นที่จะต้องลุกขึ้นมาตั้งคำถามถึงความปลอดภัยในชีวิต สุขภาพของผม ลูก เมีย และทุกคนในหมู่บ้าน ผมกับชาวบ้านได้ทำหนังสือคัดค้านไปถึงอำเภอ ไปถึง อบต. เรียกร้องให้มีการทำประชามติใหม่ เพราะชาวบ้านบางคนไม่ได้เข้าร่วมประชุมในวันนั้นก็มีชื่อเห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้า |
. |
นายฐากูร ประจญศึก ปลัดอำเภอสว่างวีระวงศ์ กล่าวว่า ภายหลังจากที่ทางอำเภอได้รับหนังสือร้องเรียนจากชาวบ้าน นายอำเภอได้สั่งให้ทาง อบต.ตรวจสอบข้อมูล ซึ่งตัวผมเองก็ได้เข้าไปตรวจสอบข้อมูลกับทางอุตสาหกรรมจังหวัด ผลปรากฏว่าทางบริษัทยังไม่ได้มีการยื่นเอกสาร ซึ่งข้อมูลว่าจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลของบริษัทสมหมาย ที่มาถึงชาวบ้านนั้นระบุว่าทางจังหวัดเห็นชอบแล้ว ไม่เป็นความจริง |
. |
ในส่วนของทางอำเภอก็ยังไม่ได้รับเอกสารใดใดจากทางบริษัท ซึ่งขั้นตอนต่างๆ อยู่ที่ อบต. แต่ที่มีรายงานมาถึงอำเภอคือ ผ่านขั้นตอนการทำประชามติไปแล้ว ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าได้ทำถูกต้องตามขั้นตอนทางกฎหมายหรือไม่ ทางอำเภอยินดีอยู่ข้างพี่น้องประชาชน และการทบทวนประชามติที่ทำไปแล้วนั้นสามารถตรวจสอบและจัดทำใหม่อีกครั้งได้ เพราะมันต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลกระทบด้านสุขภาพที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน ด้านความปลอดภัยของชุมชน และอื่นๆ จะต้องมีการศึกษาอย่างรอบด้านก่อน |
. |
นายชัยนิตย์ อินทร์งาม หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านคำนกเปล้า ต.ท่าช้าง กล่าวว่า ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงแห่งนี้ ตนมีความกังวลในเรื่องนี้มาก ต่อไปถ้ามีการก่อสร้างจะมีรถบรรทุกเข้าออกหมู่บ้านจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องฝุ่น เรื่องการใช้น้ำในปริมาณมาก เสียงรบกวน อุบัติเหตุก็ไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่าจะไม่เกิดขึ้นเพราะรถคันใหญ่จะวิ่งผ่ากลางชุมชน ในการสร้างหรือไม่สร้างโรงไฟฟ้าที่จะมีผลกระทบต่อชุมชนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของชุมชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่รวบรัดโดยไม่ให้ชาวบ้านตั้งตัวติดเช่นนี้ |
. |
นางเตือน แสนทวีสุข อายุ ๗๓ ปี กล่าวว่า ในคุ้มบ้านหลังสถานีอนามันมีอยู่ทั้งหมด ๑๒ หลังคานั้น ถ้าให้เซ็นต์ยกเลิกหรือไม่เอาโรงไฟฟ้าทุกคนก็พร้อมเซ็นต์ทันที ที่มาประชุมวันนี้ก็ตั้งใจมาจะบอกว่าไม่อยากให้สร้าง จะมาบอกว่าไม่เอาโรงไฟฟ้า เฉพาะที่ควันจากการเผาขยะที่อนามัยก็ทะเลาะกันเกือบทุกครั้ง เพราะทั้งตาและหลานอีก ๓ คน เป็นโรคหอบ ถ้าหากสร้างโรงไฟฟ้าที่มีฝุ่นแกลบขึ้นมาจริงๆ ตนกับตา และหลานๆ ก็คงตายก่อนคนอื่นๆ ในหมู่บ้านแน่นอน |
. |
นางไพศรี ศรีเฉลิม ชาวบ้านคำสร้างไชย กล่าวว่า มีชื่อในเอกสารประชุมประชาคมหมู่บ้านที่แนบไปถึง อบต.และในวาระการประชุมระบุว่าทุกคนที่มีรายชื่อทั้งหมดนั้นเห็นชอบ และลงมติให้สร้างโรงไฟฟ้าได้ ตามจริงแล้วไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วยในวันนั้นเพราะติดธุระ ตอนเช้าเขาเอาหนังสือฉบับนั้นมาให้เซ็นต์ที่บ้านและไปบ้านหลังอื่นๆ ด้วย จึงอยากเรียกร้องไปถึงทุกฝ่ายว่าให้มีการประชุมกันใหม่ ลงประชามติกันใหม่ เพราะถ้าพวกเราชาวบ้านไม่รักษาสุขภาพ ไม่ปกป้องสิทธิ และร่วมกันดูแลชุมชน แล้วอนาคตลูกหลานเราจะอยู่ที่หมู่บ้านแห่งนี้ได้อย่างมีความสุขได้อย่างไร |
. |
ที่มา : http://www.prachatai.com/05web/th/home/14745 |