ธปท. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1 จากร้อยละ 3.75 เหลือร้อยละ 2.75 ต่อปี โดยมีผลทันที กระตุ้นจากภาครัฐมีข้อจำกัด ทั้งเรื่องการเบิกจ่ายงบประมาณและการลงทุน ทำให้ต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงมาช่วยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ธปท. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1 จากร้อยละ 3.75 เหลือร้อยละ 2.75 ต่อปี โดยมีผลทันที กระตุ้นจากภาครัฐมีข้อจำกัด ทั้งเรื่องการเบิกจ่ายงบประมาณและการลงทุน ทำให้ต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงมาช่วยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ |
. |
น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) |
. |
น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 1 จากร้อยละ 3.75 เหลือร้อยละ 2.75 ต่อปี โดยมีผลทันที |
. |
ทั้งนี้ เป็นการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในอัตราที่มากที่สุด นับตั้งแต่มีการตั้ง กนง. เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2544 หรือในรอบ 7 ปี 5 เดือน ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงอยู่ที่ร้อยละ 0.55 |
. |
สาเหตุที่ กนง.ตัดสินใจลดดอกเบี้ยอย่างรุนแรง เนื่องจากเศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว และมีความเสี่ยงต่อการขยายตัวในระยะต่อไปเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ปัญหาการเมืองภายในประเทศมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะต่อความเชื่อมั่นและการท่องเที่ยว ขณะที่แรงกระตุ้นจากภาครัฐมีข้อจำกัด ทั้งเรื่องการเบิกจ่ายงบประมาณและการลงทุน ทำให้ต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงมาช่วยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ |
. |
นอกจากนี้ กนง.ยังประเมินด้วยว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยปรับลดลงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ โดยจีดีพีปี 2551 จากที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.3-5 ก็จะเหลือประมาณ 3.3-4 หรือลดลงประมาณร้อยละ 1 ส่วนปี 2552 จากเดิมที่จะขยายตัวร้อยละ 3.8-5 เหลือร้อยละ 2.8-4 |
. |
ซึ่ง กนง.หวังว่า การลดดอกเบี้ยครั้งนี้จะช่วยเสริมความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และจะกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นได้ ส่วนธนาคารพาณิชย์จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงตาม กนง.เมื่อไร ขึ้นกับสภาพคล่องของแต่ละธนาคาร แต่ กนง.หวังว่า ธนาคารพาณิชย์จะตอบรับอย่างเร็วที่สุด |
. |
ส่วนการที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยอมสลายการชุมนุม จะเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนกลับมาได้หรือไม่ นางดวงมณี กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไปว่า การเมืองจะนิ่งจริงหรือไม่ รัฐบาลจะบริหารงานได้อย่างต่อเนื่อง ผลักดันโครงการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ได้หรือไม่ ซึ่งยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตามดูในระยะ 2 สัปดาห์ข้างหน้า ในการตั้งรัฐบาลชุดใหม่ แต่ยอมรับว่า |
. |
ขณะนี้เกิดความล่าช้าในนโยบายกระตุ้นการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้า นอกจากนี้ ยังต้องติดตามวิกฤติการเงินโลก ซึ่งมีผลกระทบต่อประเทศอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจรุนแรงกว่าที่คาด และส่งผลต่อการส่งออกของไทย |
. |
สำหรับอัตราเงินเฟ้อปรับลดลงมากตามราคาน้ำมันและราคาสินค้า โดยคาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีโอกาสจะปรับลดลงใกล้ร้อยละ 0 แต่ยังไม่ถึงภาวะเงินฝืด เพราะยังมีกิจกรรมการใช้จ่ายของประชาชน และ กนง.ได้เปลี่ยนกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อปี 2552 ใหม่ให้แคบลง จากร้อยละ 0-3.5 เป็นร้อยละ 0.5-3 โดยจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้อนุมัติต่อไป. |
. |
ที่มา : สำนักข่าวไทย |