วิดวะบางมด หัวใส ดึงแนวคิด คนเหล็ก ออกมานำมาพัฒนามือกลสำหรับคนพิการ เพิ่มความพิเศษอีกหลากหลายฟังชัน ให้สามารถนำมาใช้จริงได้ หนุนแนวความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและต่อคนผู้พิการ
. |
วิดวะบางมด หัวใส ดึงแนวคิด คนเหล็ก ออกมา อย่าอยู่เลยน่าในหนัง นำมาพัฒนาเพื่อผู้พิการดีกว่า จะเหล็กทั้งตัวมันก็เกินไป แขนกลขากลน่ะเด็ก ๆ เจอ มือกล2 เข้าไปนี่สิ่ ถึงกลับ จ๋อยแหมบ ทำ I Love U น่ะหรอเรื่องสิว ๆ ขนาดไข่ไก่รึที่ว่าแน่..ยังยอมสิโรราบ นี่แค่ Order เซิฟ ๆ ยังมีอีกเพียบ |
. |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภูมิใจนำเสนอ ผลงานชิ้นเยี่ยมอีกหนึ่งชิ้น นั่นคือ ต้นแบบมือกลสำหรับคนพิการระยะที่ 2 (มือกล2) หลังจากประสบความสำเร็จจากต้นแบบมือกลในระยะที่ 1 ยังไม่เพียงพอ เพราะมีความต้องการที่จะช่วยเหลือสังคม และคนพิการทั้งหลาย จึงได้ปรับปรุงแก้ไขพร้อมใจนำเสนอผลงานชิ้นนี้อีกครั้ง นับว่าเป็นการพัฒนาที่เรียกได้ว่าลงตัวและสามารถเป็นไปได้สูง และยังเป็นผลงงานของนักศึกษา ที่เป็นเยาวชนคนไทยที่ได้แรงบันดาลใจจากหลาย ๆ อย่าง ต้องการที่จะพัฒนาต่อจากรุ่นพี่ และอยากเพิ่มความพิเศษอีกหลากหลายฟังชัน ให้สามารถนำมาใช้จริงได้ |
. |
มดน้อย นักประดิษฐ์ ต้นแบบมือกลสำหรับคนพิการระยะที่2 หรือ มือกล2 มีด้วยกัน 2 คน คือ นายรุจิศักดิ์ เมืองสง (เปี๊ยก) และนายนภดล ตันติราพันธ์ (ปอม) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากภาควิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมีท่านอ. วุฒิชัย พลวิเศษ จากภาควิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด และท่าน อ.อนรรฆ ขันธะชวนะ จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ คอยให้คำแนะนำและคำปรึกษา รวมทั้งสนับสนุนแนวความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและต่อคนผู้พิการ |
. |
เปี๊ยก นายรุจิศักดิ์ เมืองสง ได้เล่าถึงที่มาของการพัฒนาต้นแบบมือกลสำหรับคนพิการระยะที่2 (มือกล2) นี้ ว่า ในปัจจุบันประเทศไทยและทุกประเทศทั่วโลกมีผู้ที่พิการเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่พิการแขน ขา มือ ฯลฯ และพวกเขาเหล่านั้นมีความต้องการ รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องใช้แขนเทียม ขาเทียม มือเทียมเริ่มเพิ่มมากขึ้น ๆ ทุกที อันมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่โลกมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ความต้องการจึงมีมากขึ้นตามลำดับ อีกส่วนหนึ่งเกิดจากความพิการตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดจากอุบัติเหตุ ซึ่งในปัจจุบันอุปกรณ์ที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการรวมถึงราคาค่อนข้างสูง และยังไม่สามารถทำงานได้ตามใจของผู้ใช้(ผู้สั่งงาน) ทั้งยังมีการควบคุมที่ลำบากยังมีปัญหาอยู่ จึงเกิดแนวคิดที่จะพัฒนาต้นแบบมือกลสำหรับคนพิการขึ้น |
. |
. |
โดยแต่ก่อนนั้นมีรุ่นพี่ที่ภาควิชาได้คิดทำต้นแบบมือกลในระยะที่ 1 ออกมาแล้วแต่ยังไม่สมบูรณ์นัก ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดแรงผลักดันให้อยากที่จะทำการพัฒนาต้นแบบมือกลสำหรับคนพิการระยะที่2 ขึ้น และหลังจากที่ได้ดูหนังเรื่องคนเหล็ก(หนังในแนวที่ชอบ) ทำให้คิดว่า เราน่าจะทำให้สิ่งที่เรียกว่าจินตนาการไม่เป็นจินตนาการอีกต่อไป ถ้าทำขึ้นมาแล้วสามารถช่วยลดปัญหาแถมมีประโยชน์ช่วยเหลือผู้พิการได้ เจ้ามือกล 2 นี้ จึงเหมาะสำหรับผู้พิการมือขาด เนื่องจากว่าผู้พิการมือขาดนั้นไม่ค่อยมีอุปกรณ์ในการช่วยเหลือ และหวังว่าต่อไปนี้ผู้ที่พิการมือขาดจะสามารถทำงานได้เหมือนคนทั่วไป |
. |
(ปอม) นายนภดล ตันติราพันธ์ บอกถึงการพัฒนาในระยะที่ 2 ว่า เรื่องของความสามารถ จะแตกต่างจากระยะที่ 1 หลายอย่าง เนื่องจากพวกเราต้องการพัฒนามือกล 2 ให้เน้นในเรื่องของความสามารถที่เหมือนมือของมนุษย์จริง ๆ อย่างเช่น ความสามารถแสดงสัญลักษณ์ทางมือเหมือนที่มนุษย์ทำ โดยมีการตั้งรูปแบบโปรแกรมไว้ล่วงหน้า เช่น ฟังก์ชันสู้ตาย (การชูนิ้วชี้และนิ้วกลาง) I LOVE YOU (การชูนิ้วชี้และนิ้วก้อย) นับเลข 1,2,3,4,5 (ขึ้นลงทีละนิ้ว) นอกจากนั้นมือกลยังสามารถหยิบจับวัตถุ(ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 40-70 มม.)ได้ดี เพราะเราติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับไว้ที่นิ้วมือ เช่น การหยิบจับขวดน้ำ ขวดชาเขียว ไข่ไก่ ลูกปิงปอง ฯลฯ โดยไม่มีแม้แต่รอยบีบ การแตก (เพื่อต้องการให้เหมือนมือจริง ๆ) |
. |
ความพิเศษอีกอย่าง คือ ไม่ใช้มอเตอร์ในการควบคุมการเคลื่อนที่ของนิ้วมือ แต่กลับใช้โลหะจำรูป (โลหะจำรูป<Shape Memory Alloys> คือ วัสดุที่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ขนาดแล้วสามารถกลับไปยังรูปร่าง และขนาดเดิมได้เมื่ออุณหภูมิโลหะนั้นเปลี่ยนไป ตัวอย่างของโลหะจำรูปที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น ขาแว่นตาไทเทเนียม เสาโทรศัพท์ ฯลฯ ) มาควบคุมการเคลื่อนที่ของนิ้วมือแทน มือกล 2 นี้เป็นมือข้างขวาที่มีขนาดใกล้เคียงกับมือมนุษย์ มีขนาดความยาวของมือ 20 ซม. ความยาวของแขน 30 ซม. ความกว้างของแขน 10 ซม. น้ำหนักประมาณ 1.5 กก. วัสดุโครงสร้างทำจากอลูมิเนียมเพื่อให้มีความทนทานแข็งแรง |
. |
เปี๊ยกและปอม ได้พูดถึง ขั้นตอนต่อไป ว่า การนำไปใช้จริงในปัจจุบันยังอยู่ในช่วงของการพัฒนายังไม่สามารถสวมใส่กับผู้พิการได้จริง แต่ขั้นตอนการพัฒนาต่อไปที่เป้าหมายสูงสุด คือ สามารถที่จะนำมือกลไปสวมใส่กับผู้ที่พิการแขนขาด หรือ มือขาดได้ โดยการนำองค์ความรู้หลาย ๆ ด้านที่ทางภาควิชากำลังทำการศึกษามารวมกันรออีกไม่นาน ครับ |