มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยให้การสวมหมวกกันน็อก ไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไปสิ่งประดิษฐ์แนวคิดสร้างสรรค์ "หมวกกันน็อกทำความเย็นด้วยเครื่องลดอุณหภูมิแบบเทอร์โมอิเล็กตริก" ลดความเครียดและอาการหงุดหงิด จากอากาศที่ร้อนอบอ้าว
. |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยให้การสวมหมวกกันน็อก ไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไปสิ่งประดิษฐ์แนวคิดสร้างสรรค์ "หมวกกันน็อกทำความเย็นด้วยเครื่องลดอุณหภูมิแบบเทอร์โมอิเล็กตริก" ลดความเครียดและอาการหงุดหงิด จากอากาศที่ร้อนอบอ้าว |
. |
ในปัจจุบัน การขับขี่รถจักรยานยนตร์เป็นที่นิยมกันมาก เพราะให้ความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทาง แต่ปัญหาของการสวมใส่หมวกกันน็อก ก็มาพร้อมกับความนิยมในการขับขี่ยานพาหนะนี้เช่นกัน เนื่องจากมีมาตรการช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ผู้ขับขี่รถจักรยานยนตร์ จึงต้องสวมหมวกกันน็อกทุกคน หากไม่ทำตามก็จะถือว่าทำผิดกฏจราจร ซึ่งปัญหาที่ตามมาจากการสวมใส่หมวกกันน็อกก็คือ ความเครียดและอาการหงุดหงิด จากอากาศที่ร้อนอบอ้าว จนหลายคนละเลย ไม่ให้ความสำคัญ ก่อให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุต่าง ๆ ตามมามากมาย |
. |
ด้วยเหตุนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ซึ่งประกอบด้วย นายอดิสรณ์ ลิ้มเจริญ นายอภิวัฒน์ เดชศักดา และนายชินดนัย รัตนเวียง ได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยให้การสวมหมวกกันน็อก ไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไปสิ่งประดิษฐ์แนวคิดสร้างสรรค์ที่ว่านั่นก็คือ "หมวกกันน็อกทำความเย็นด้วยเครื่องลดอุณหภูมิแบบเทอร์โมอิเล็กตริก" โดยมี ดร.พิพัฒน์ ปราโมทย์ เป็นที่ปรึกษา |
. |
(กล้า )นายชินดนัย รัตนเวียง ตัวแทน สิ่งประดิษฐ์หมวกกันน็อกติดแอร์ได้เล่าถึงหลักการทำงานนี้ว่า จะมีตัวเทอร์โมอิเล็กตริกโมดูลเป็นตัวทำความเย็น โดยจะป้อนกระแสไฟฟ้ากระแสตรงให้กับเทอร์โมอิเล็กตริกโมดูล ที่ใช้สารกึ่งตัวนำแบบเอ็นพี(n-p type) กระแสไหลผ่านวัสดุที่ทำจากสารกึ่งตัวนำต่างชนิดกัน ส่งผลให้เกิดความต่างศักย์ทางไฟฟ้า จึงทำให้มีความแตกต่างของอุณหภูมิเกิดขึ้นระหว่างขั้วทั้งสอง |
. |
ส่วนลักษณะของหมวกกันน็อกด้านบนจะมีช่องระบายอากาศโดยใช้ใบพัดลมเพื่อระบายอากาศภายในหมวก ด้านในของหมวกก็จะติดแผ่นอลูมิเนียมเพื่อการกระจายความเย็น ด้านหน้าและด้านหลังของหมวกจะเจาะเป็นช่องลมเพื่อวางครีบระบายความร้อน หลักการทำงานก็จะเหมือนแอร์บ้านทั่วไป วัสดุที่นำมาใช้ก็จะเป็นหมวกกันน็อกธรรมดาที่มีขายตามท้องตลาด |
. |
โดยการใช้งานจะใช้แจ็คเสียบกับแบตเตอรี่รถจักรยานยนตร์ หรือแบตแบบพกพา เมื่อกดสวิชต์ก็จะใช้งานได้ทันทีกระแสไฟที่ใช้เพียง 12 โวลท์ และมีน้ำหนัก 500 กรัม สะดวกและไม่ก่อให้เกิดอันตราย ผู้ที่สนใจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โทร 089-180-0760, 087-100-1445 หรือ www.rmutt.ac.th |
. |