สวทช. สนับสนุนการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก จัดอบรมเชิงปฏิบัติการณ์ การปรับตั้งและการดูแลรักษาเครื่องฉีดพลาสติกอย่างมืออาชีพ โดยผู้เชี่ยวชาญโดยตรง หวังติวเข้มผู้ประกอบการให้ผลิตสินค้าคุณภาพสูง รวดเร็วและต้นทุนการผลิตลดลง ด้วยเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐาน
. |
สวทช. ร่วมสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก จัดหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการณ์ การปรับตั้งและการดูแลรักษาเครื่องฉีดพลาสติกอย่างมืออาชีพ ปี 2006โดยผู้เชี่ยวชาญโดยตรง หวังติวเข้มผู้ประกอบการให้ผลิตสินค้าคุณภาพสูง และรวดเร็ว ขณะที่มีต้นทุนการผลิตลดลง ด้วยการใช้เทคโนโลยีด้านการผลิตที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ |
. |
ปัจจุบัน พลาสติก (plastic) ได้เข้ามามีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุก่อสร้างหลายชนิดทำด้วยพลาสติก อาทิ เครื่องใช้ในครัวเรือนจำพวกจาน ชาม ขวดโหลต่าง ๆ ของเล่นเด็ก วัสดุก่อสร้าง สีทาบ้าน กาวติดไม้และติดโลหะ อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ ส่งผลให้อุตสาหกรรมพลาสติกเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว |
. |
อุตสาหกรรมฉีดพลาสติก จัดเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญในการผลิตชิ้นส่วนสำหรับอุตสาหกรรมหลัก เช่น ยานยนต์และเครื่องอุปโภค บริโภค อีกทั้งในประเทศไทยมีโรงงานฉีดพลาสติกอยู่หลายพันโรงงาน ทั้งขนาดใหญ่ ปานกลาง และขนาดเล็ก แต่โรงงานส่วนใหญ่ยังขาดความรู้พื้นฐานที่ถูกต้องในการปรับตั้งพารามิเตอร์ต่าง ๆ ในการฉีด ใช้วิธีการในการปรับตั้งพารามิเตอร์การฉีดที่ไม่เป็นระบบ ทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น การเก็บข้อมูลจากพารามิเตอร์การฉีดที่ไม่แน่นอน มีการปรับเปลี่ยนตัวแปรที่ป้อนเข้าอยู่เสมอ รวมทั้งยังมีข้อผิดพลาดของพารามิเตอร์ที่ใช้ปรับตั้งอยู่ด้วย จึงส่งผลให้เกิดปัญหาซ้ำซาก และจากที่ในโรงงานขาดระบบการปรับตั้งพารามิเตอร์การฉีดที่เป็นมาตรฐาน รวมทั้งเครื่องจักรที่ขาดการบำรุงรักษาที่ดี พนักงานแต่ละคนจึงใช้มาตรฐานของตนเองในการปรับตั้งพารามิเตอร์ ทำให้คุณภาพชิ้นงานไม่คงที่ การควบคุมและแก้ไขปัญหาจึงเป็นไปได้ลำบาก ตลอดจนเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้าที่มีสูงขึ้นเรื่อย ๆ |
. |
ดังนั้น โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย(ITAP) ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้จัดอบรมสัมมนาเรื่อง การปรับตั้งและการดูแลรักษาเครื่องฉีดพลาสติกอย่างมืออาชีพ ปี 2006 โดยมี ดร.
|
. |
รศ.ดร.สมชาย ฉัตรรัตนา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า ทาง สวทช. มีความต้องการที่จะสนับสนุนและช่วยเหลือเอกชนในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีมาตรฐานถูกต้อง สามารถใช้งานจากเครื่องจักร เครื่องมือ อย่างถูกวิธี ซึ่งจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ออกมามีคุณภาพสูง มีต้นทุนที่แข่งขันได้ และที่สำคัญคือเกิดการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกที่มีคุณภาพโดยผู้ประกอบการไทย |
. |
. |
นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังจะได้รู้จักกับหน่วยงานเพิ่มขึ้น อาทิ โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) สวทช. กรมวิทยาศาสตร์บริการ และสถาบันค้นคว้าพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีความพร้อมในด้านของเครื่องจักรเครื่องมือ รวมทั้งการให้การบริการทางด้านฝึกอบรม และการบริการด้านเทคนิคอื่น ๆ ซึ่งในอนาคตหากผู้ประกอบการเกิดปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ หน่วยงานต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถให้บริการได้ |
. |
ขณะที่ ดร.
|
. |
ผลดีที่ผู้ประกอบการได้รับคือเกิดความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้นแล้วนำสิ่งที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับเครื่องมือเครื่องจักรตลอดจนปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ถูกต้อง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะส่งผลให้การแข่งขันได้เปรียบ เนื่องจากกระบวนการผลิตสั้นลง มีรอบการผลิตต่ำ ผลที่ตามมาคือต้นทุนลดลง เกิดผลกำไรมากขึ้น ผลิตชิ้นงานที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น ชิ้นงานเสียก็มีปริมาณน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งเมื่อเราสามารถลดจุดบอดของแต่ละเรื่องเหล่านี้ได้ แล้วหันไปเติมเต็มความสมดุลย์ ความเหมาะสมปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็จะหมดไป ขณะเดียวกันกระบวนการผลิตก็จะง่าย ถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงสุด ดร.พีระวัฒน์กล่าว |
. |
ด้าน นาง
|
. |
นอกจากนี้ยังมีปัญหาในแง่ของต้นทุนค่าไฟฟ้าที่สูงมาก มีการแข่งขันที่ดุเดือด ราคาผลิตภัณฑ์ต่อหน่วยต่ำลงในขณะที่ต้นทุนตัวอื่น ๆ สูงขึ้น ฉะนั้นจึงต้องเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง มีความเข้าใจในผลิตภัณฑ์มากขึ้น ลดปัญหาที่เกิดขึ้นให้ได้อย่างรวดเร็วที่สุด |
. |
จากการเข้าอบรมครั้งนี้ช่วยให้เราสามารถทราบถึงจุดบกพร่องของกระบวนการผลิตและบุคลากรที่ยังไม่สมบูรณ์และถูกต้องตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งจากนี้จะได้นำความรู้ไปแก้ไขปรับปรุงเพื่อเสริมศักยภาพด้านการผลิตให้มีมาตรฐานและคุณภาพสูงสุด โดยมีเป้าหมายที่จะลดปริมาณชิ้นงานของเสียให้น้อยลง ลดต้นทุนการผลิต ลดค่าไฟฟ้า ลดพลังงาน รวมทั้งตัวบุคลากรเองก็จะมีระบบการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน อันจะนำไปสู่ผลงานที่ได้มาตรฐานต่อไป นางวราภรณ์ กล่าวในที่สุด. |