สภาพัฒน์ ให้สาเหตุของการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 51 ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงมากกว่าที่คาด ประกอบกับสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศช่วงไตรมาส 3/51 ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและบริการมากกว่าที่คาด
สภาพัฒน์ ให้สาเหตุของการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 51 ว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงมากกว่าที่คาด ประกอบกับสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศช่วงไตรมาส 3/51 ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและบริการมากกว่าที่คาด ขณะที่การนำเข้าเร่งตัวมากกว่าที่คาดในทุกหมวดสินค้า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการคาดการณ์ว่าราคายังจะเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะกลุ่มเหล็ก ทองคำ และโลหะ ดังนั้นปริมาณการส่งออกสุทธิจึงช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจได้น้อยลง |
. |
ด้านการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวมากกว่าที่คาด จากผลกระทบเศรษฐกิจโลก รวมทั้งผลกระทบที่ผ่านมาทางตลาดหลักทรัพย์ ราคาสินทรัพย์และความมั่งคั่งของครัวเรือนในประเทศต่าง ๆ มีความรุนแรงและลุกลามเป็นวงกว้าง ขณะที่สถานการณ์การเมืองในประเทศที่รุนแรงขึ้นส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและเลื่อนการตัดสินใจขยายการลงทุนออกไป |
. |
มูลค่าการนำเข้าที่เร่งตัวขึ้นมากกว่าคาด และผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดพลิกกลับมาขาดดุล จากที่เคยคาดว่าจะเกินดุล รวมทั้งมีการปรับลดการประมาณการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ตามสภาวะการเบิกจ่ายในไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ 51 ต่ำกว่าที่คาดไว้เดิม |
. |
"วันนี้ที่ผมตัดสินใจสุดท้ายให้ปรับ(จีดีพีปี 51)ลดลง เพราะเห็นว่าเกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง Drop ลงเร็วกว่าที่คาด เชื้อมันกระจายแรงและเร็วกว่าที่คาด...การปักหัวของ Q3 และ Q4 มาจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก แต่ปีหน้าถ้าจะพยุงตวให้รอดจะมาจาก 3 ปัจจัย คือรัฐบาลต้องบริหารงานให้ได้ มีความสงบ ความเชื่อมั่นในการลงทุน ดูแลภาคชนบท ภาคเกษตร และขับเคลื่อนเมกะโปรเจ็กท์" นายอำพน กล่าว |
. |
สภาพัฒน์ คาดว่าไตรมาสสุดท้ายของปีนี้เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่อง เนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซาต่อการส่งออกและการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังอยู่ในช่วงของการชะลอตัว อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยสนับสนุนที่จะช่วยให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้ต่อไปในไตรมาสสุดท้ายของปี ได้แก่ การดำเนินมาตรการของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ราคาน้ำมัน และราคาวัถุดิบลดลง และอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง รวมทั้งการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น |
. |
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญในช่วงไตรมาส 4/51 คือ ภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซา ซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออกและการท่องเที่ยวอย่างชัดเจน ความไม่แน่นอนด้านการเมืองในประเทศ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่สถาบันการเงินจะเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะกับภาคธุรกิจ SME ดังนั้นการเตรียมสภาพคล่องผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจภาครัฐจึงเป็นสิ่งสำคัญ |
. |
เลขาธิการ สภาพัฒน์ ยังเห็นด้วยกับแนวคิดของนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.คลัง ที่ระบุว่าการปรับลดภาษีเงินบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลอาจจะทำได้ยากขึ้น เพราะคาดว่าในงบประมาณปี 52 รัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 50,000-100,000 ล้านบาท เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลง กระทบต่อรายได้นิติบุคคล รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มที่อาจจะเก็บได้น้อยลงจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงตามราคาตลาดโลก |
. |
ขณะที่รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณขาดดุลในปี 52 ไว้ 249,000 ล้านบาท และล่าสุดยังเพิ่มการขาดดุลงบประมาณอีก 1 แสนล้านบาท นอกจากนี้ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันยังมีข้อกำหนดให้รัฐบาลจำเป็นต้องกันเงินสำรองเพื่อชำระหนี้เงินคงคลังในปีงบประมาณ 51 ประมาณ 27,000 ล้านบาท ดังนั้นจึงมองว่ารัฐบาลไม่ควรทำงบประมาณขาดดุลเกิน 400,000 ล้านบาท |
. |
"การสนับสนุนการลดภาษีของเอกชนอยู่ในฐานะที่ลำบาก...รัฐบาลจำเป็นต้องรักษาวินัยการเงินการคลัง และดูแลการปรับลดภาษีอย่างเข้มงวด เพราะหากเป็นการปรับลดภาษีโดยไม่ก่อให้เกิดรายได้ สภาพัฒน์ฯ ก็ไม่สนับสนุนนโยบายดังกล่าว" นายอำพล ระบุ |
. |
นายอำพล ระบุว่า เศรษฐกิจชะลอตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ถึง 1 ไตรมาส ดังนั้นยิ่งหากการเมืองวุ่นวายจะยิ่งทำให้การลงทุนลดลงอย่างรวดเร็ว และจะกระทบต่อภาคการผลิต ทำให้ประชาชนลดการใช้จ่ายลง หากรัฐบาลบริหารประเทศไม่ได้จะยิ่งกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนและทำให้การลงทุนติดลบ กระทบการว่างงาน |
. |
นอกจากนี้ปัญหาการเมืองหากยืดเยื้อจะกระทบไปสู่ภาคตลาดเงินตลาดทุน โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs เพราะระบบธนาคารพาณิชย์จะห่วงภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ ซึ่งจะยิ่งทำให้เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยไม่ใช่เป็นปัญหาการขาดสภาพคล่องในระบบ |