เนื้อหาวันที่ : 2008-11-10 14:43:16 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 730 views

ฮอนด้า ต่อยอดการทดลองอุปกรณ์ช่วยเดิน เพิ่มประสิทธิภาพด้วยระบบรองรับน้ำหนักตัว

ฮอนด้า เผยความสำเร็จขั้นที่ 2 ของการทดลองอุปกรณ์ช่วยเดินที่ช่วยรองรับน้ำหนักตัว เพื่อลดการถ่ายน้ำหนักลงบนขาของผู้ใช้งาน ขณะเดิน ขึ้น -ลง บันได และการย่อตัว ฮอนด้าจะเริ่มทดสอบอุปกรณ์ในสภาพการใช้งานจริงเพื่อประเมินประสิทธิภาพในการทำงาน

.

ฮอนด้า เผยความสำเร็จขั้นที่ 2 ของการทดลองอุปกรณ์ช่วยเดินที่ช่วยรองรับน้ำหนักตัว เพื่อลดการถ่ายน้ำหนักลงบนขาของผู้ใช้งาน ขณะเดิน ขึ้น -ลง บันได และการย่อตัว ฮอนด้าจะเริ่มทดสอบอุปกรณ์ในสภาพการใช้งานจริงเพื่อประเมินประสิทธิภาพในการทำงาน

.

อุปกรณ์ช่วยเดินรุ่นใหม่ที่มีระบบช่วยรองรับน้ำหนักตัวจะลดการรับน้ำหนักของกล้ามเนื้อขา และข้อต่อ สะโพก หัวเข่า และข้อเท้า โดยจะรองรับน้ำหนักตัวบางส่วนของผู้ใช้งาน อุปกรณ์ช่วยเดินรุ่นใหม่นี้มีโครงสร้างที่เรียบง่าย ประกอบด้วยที่รองนั่ง โครงอุปกรณ์ และรองเท้า สวมใส่ง่ายเพียงสวมรองเท้า และยกปรับที่รองนั่งให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

.

นอกจากนี้ ยังมีกลไกที่ส่งแรงพยุงตัวไปยังตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงของผู้ใช้งาน และสามารถควบคุมแรงพยุงตัวให้เคลื่อนไหวไปพร้อมกันกับขา ด้วยนวัตกรรมของฮอนด้าอันโดดเด่นทั้ง 2 ประการ ทำให้อุปกรณ์ช่วยเดินรุ่นใหม่ สามารถช่วยให้ผู้ใช้งานมีท่าทาง

.

.
การเคลื่อนไหวได้หลากหลายอย่างเป็นธรรมชาติ

ฮอนด้าเริ่มวิจัยอุปกรณ์ช่วยเดินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้คนสามารถเดินหรือเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น ฮอนด้าพัฒนาศาสตร์ความรู้ที่ใช้ในการพัฒนาอุปกรณ์ช่วยเดินจากการศึกษาการเดินของมนุษย์

.

ผ่านการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์อันล้ำสมัยของฮอนด้า ที่ชื่อว่า อาซิโม การวิจัยนี้ดำเนินงานโดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน ( Fundamental Technology Research Center ) ของ บริษัท ฮอนด้า อาร์ แอนด์ ดี จำกัด ในเมือง

.

วาโกะ จังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น ฮอนด้าจะเริ่มทดสอบอุปกรณ์ช่วยเดินที่โรงงานใน จังหวัดไซตามะ (เมืองซายามะ จังหวัดไซตามะ) ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของอุปกรณ์ทดลองช่วยเดินที่มีระบบรองรับน้ำหนักตัว

.

.
คุณลักษณะสำคัญ
1. อุปกรณ์ช่วยเดินแบบนั่งที่สะดวกต่อการใช้งานสวมใส่ง่ายเพียงสวมรองเท้า และยกปรับที่รองนั่งให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมสามารถใช้อุปกรณ์ช่วยเดินได้โดยไม่ต้องรัดเข็มขัดติดกับลำตัวของผู้ใช้งาน ช่วยให้ผู้ใช้งานเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว ด้วยโครงอุปกรณ์ที่ใช้พื้นที่ระหว่างขาเพียงเล็กน้อย
.

2. วิธีการช่วยรองรับน้ำหนักตัว อุปกรณ์ช่วยเดินจะรองรับน้ำหนักตัวบางส่วนของผู้ใช้งาน โดยแรงจากมอเตอร์จะยกที่รองนั่งที่เป็นโครงเชื่อมต่อระหว่างรองเท้าและที่รองนั่ง ให้โค้งงอและยืดขยายได้ เช่นเดียวกับหัวเข่า ส่งผลให้การรับน้ำหนักของกล้ามเนื้อขาและข้อต่อ สะโพก หัวเข่า และข้อเท้า ลดลง

.

ฮอนด้าพัฒนากลไกอันโดดเด่น ที่ช่วยให้ที่รองนั่งและโครงอุปกรณ์รองรับตามการเคลื่อนไหวของร่างกายและขา มีการส่งแรงพยุงไปยังตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงของผู้ใช้งาน เช่นเดียวกับขาของมนุษย์ ซึ่งทำให้อุปกรณ์ช่วยเดินรุ่นใหม่ สามารถรองรับการเคลื่อนไหว และท่าทางที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงการเดิน การขึ้น ลง บันได และการย่อตัว

.
3. การควบคุมแรงพยุงอย่างเป็นธรรมชาติ การเดินอย่างเป็นธรรมชาติเป็นผลจากการส่งแรงพยุงไปที่ขาขวาและขาซ้ายผ่านการควบคุมของมอเตอร์ 2 ตัวที่ได้รับข้อมูลจากเซ็นเซอร์ซึ่งฝังอยู่ในรองเท้าของอุปกรณ์ช่วยเดิน
.

ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ช่วยเดินจะเพิ่มขึ้น เมื่ออยู่ในท่าการเคลื่อนไหวที่มีแรงกดน้ำหนักที่หัวเข่า เช่น การขึ้น - ลง บันได และการย่อตัว ดังนี้ เป็นผลจากการปรับแรงการพยุงตัวให้สอดคล้องกับการโค้งงอและยืดขยายของหัวเข่า

.

ลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์ช่วยเดินที่มีระบบรองรับน้ำหนักตัว

น้ำหนัก                       6.5 กิโลกรัม (รวมรองเท้าและแบตเตอรี่)          

ระบบขับเคลื่อน         มอเตอร์ 2 ตัว                                

แบตเตอรี่                   ลิเธียม อิออน(Lithium ion)                    

ระยะเวลาการใช้งานต่อการชาร์จไฟ 1 ครั้ง  2 ชั่วโมง (รวมการเดิน และการย่อตัว และอื่นๆ)       

ส่วนสูงที่เหมาะสมของผู้ใช้งานมากกว่าหรือน้อยกว่าไม่เกิน 5 ซม. ของความสูงที่ตั้งไว้  

(เช่น ความสูงที่ตั้งไว้สำหรับขนาดกลาง คือ 170 ซม.)