บีโอไอ ออกมาตรการพิเศษเพื่อกระตุ้นการลงทุนปี 2551-52 โดยให้สิทธิประโยชน์สูงสุดแก่ 6 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เน้นกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และกิจการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมฟื้นมาตรการช่วยเหลือเรื่องสภาพคล่องทางการเงินแก่กิจการที่ประกอบอยู่เดิม
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ออกมาตรการพิเศษเพื่อกระตุ้นการลงทุนปี 2551-52 โดยให้สิทธิประโยชน์สูงสุดแก่ 6 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เน้นกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และกิจการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมฟื้นมาตรการช่วยเหลือเรื่องสภาพคล่องทางการเงินแก่กิจการที่ประกอบอยู่เดิม |
. |
"ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบในการเพิ่มมาตรการพิเศษ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาวะที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัว และเร่งรัดการลงทุนให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศให้ปี 2551-2552 เป็นปีแห่งการลงทุน(Thailand Investment Year 2008-2009)" นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมฯ |
. |
สำหรับมาตรการพิเศษดังกล่าวจะให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการที่ยื่นขอรับส่งเสริมภายในวันที่ 31 ธ.ค.52 และได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริม โดยได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุดตามที่กฎหมายสามารถให้ได้ ได้แก่ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี ทุกเขตที่ตั้ง และได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี, อนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่า และอนุญาตให้หักเงินค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกจากกำไรสุทธิไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินที่ลงทุน นอกเหนือจากการหักค่าเสื่อมราคาตามปกติ |
. |
โดยกิจการทั้ง 6 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ กิจการเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานและพลังงานทดแทน เช่น กิจการผลิตแอลกอฮอล์ หรือเชื้อเพลิงจากผลผลิตทางการเกษตร กิจการผลิตเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานทดแทน สถานีบริการก๊าชธรรมชาติ(NGV) เป็นต้น, |
. |
กิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น กิจการผลิตเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใยประดิษฐ์ กิจการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ กิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เป็นต้น ซึ่งจะมีการเปิดประเภทกิจการใหม่เพิ่ม ได้แก่ กิจการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ที่ใช้สำหรับงานอุตสาหกรรม(Advanced Ceramics), |
. |
กิจการผลิตวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และจะเปิดประเภทกิจการใหม่ขึ้นอีก 2 ประเภทได้แก่ กิจการผลิตเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม(Eco-friendly Chemicals) และกิจการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม(Eco-friendly Products) เช่น วัสดุบรรจุภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร ที่สามารถย่อยสลายเองได้, |
. |
กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ(Mega Projects) เนื่องจากเป็นกิจการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐในการส่งเสริมให้เอกชนลงทุน เพื่อลดภาระของรัฐ, กิจการด้านการท่องเที่ยวและเชื่อมโยงกับภาคอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเตรียมพร้อมรองรับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง |
และกิจการในอุตสาหกรรมที่ใช้ผลิตผลทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบ เพื่อช่วยเหลือด้านราคาพืชผลทางการเกษตรและเพื่อยกระดับเทคโนโลยีการผลิตให้สูงขึ้นเช่น กิจการผลิตสารให้ความหวาน กิจการผลิตเดรกตริน หรือโมดิไฟด์สตาร์ช |
. |
ขณะที่ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ที่ประชุมฯ เห็นชอบให้บีโอไอใช้มาตรการการให้สิทธิมาตรา 36 ซึ่งเคยประกาศใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 กลับมาใช้อีกครั้ง เพื่อช่วยเหลือเรื่องสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการและผู้ส่งออก โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) โดยสามารถนำเข้าวัตถุดิบได้ไม่ต้องเสียภาษี ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคาร และไม่มีภาระดอกเบี้ยในกรณีต้องชำระอากรวัตถุดิบก่อน |
. |
โดยมาตรการนี้จะมีผลบังคับใช้ไปถึงสิ้นปี 52 โดยครอบคลุมใน 14 กลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบด้วย เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องหนัง รองเท้า เครื่องเรือนหรือเครื่องตกแต่ง ของเด็กเล่น เลนส์ สิ่งทอ เครื่องกีฬา ชิ้นส่วนยานพาหนะ ผลิตภัณฑ์พลาสติกหรือเคลือบด้วยพลาสติก ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วน อัญมณีและเครื่องประดับ และสิ่งพิมพ์ ซึ่งมอบหมายให้สมาคมหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลการให้สิทธิประโยชน์ |