เนื้อหาวันที่ : 2008-10-29 14:41:14 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2920 views

เที่ยวแนวสุขภาพกับโรงพยาบาลอภัยภูเบศร

ช่วงหน้าฝนแบบนี้ หลายคนที่ไม่ชอบความชุ่มฉ่ำ ก็ต้องบ่นรำคาญเรื่องการเดินทางเวลาไปไหนมาไหนไม่ค่อยสะดวก ไปแหล่งท่องเที่ยวที่ในอดีตเคยเป็นที่รักษาคนไข้ระดับชั้นเจ้าฟ้าเจ้าแผนดินกันบ้าง

.

ช่วงหน้าฝนแบบนี้ หลายคนที่ไม่ชอบความชุ่มฉ่ำ ก็ต้องบ่นรำคาญเรื่องการเดินทางเวลาไปไหนมาไหนไม่ค่อยสะดวก  พาลจะไม่สบายเอา ครั้งนี้เลยจะพาทั้งคนที่สุขภาพดีและไม่ค่อยดีหรือทำท่าว่าจะแย่ ไปแหล่งท่องเที่ยวที่ในอดีตเคยเป็นที่รักษาคนไข้ระดับชั้นเจ้าฟ้าเจ้าแผนดินกันบ้าง

.

โรงพยาบาลอภัยภูเบศร สถานพยาบาลด้านการแพทย์แผนไทย ที่แม้กาลเวลาจะผ่านมานานนับร้อยปี แต่ที่แห่งนี้ก็ยังคงรักษาผู้คนต่อเนื่องเรื่อยมา และยังเป็นแหล่งค้นคว้าความรู้เรื่องการแพทย์อีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย ความพิเศษของที่นี่คงเป็นตึกอาคารรูปทรงกึ่งตะวันตกและยุโรป โดยสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2452 โดย บริษัทโฮวาร์ด เออร์สกิน เรียกได้ว่าคงไม่มีโรงพยาบาลที่ไหนในยุคนั้นจะสวยเทียบเท่าได้ เพราะที่นี่คือ บ้านของผู้ที่ยอมเสียสละสมบัติส่วนตัวนี้เพื่อผู้อื่นเสมอมาอย่างท่าน เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์)

.
พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทย 

ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมยุโรปแบบบาโร้ค (Barogue) เป็นตึกสองชั้นมีมุขด้านหน้าตรงกลางเป็นโดม ผนังด้านนอก มีลายปูนปั้นลายพฤกษาประดับซุ้มประตูและหน้าต่าง ภายในตึกแบ่งออกเป็นหลายห้อง ห้องที่งดงามที่สุดคือ ห้องโถงกลางชั้นล่างซึ่งยังคงลักษณะการตกแต่งภายในแบบเดิมอยู่ครบถ้วนตั้งแต่ลวดลายกระเบื้องปูพื้นภาพเขียนสีปูนเปียกบนเพดาน และลายปูนปั้นหัวเสาปัจจุบันใช้เป็นที่จัดแสดงประวัติเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ของใช้ประจำตัว พระฉายาลักษณ์พระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดาสิริโสภาพรรณวดี ซึ่งทั้งสองพระองค์เป็นหลานปู่และหลานทวดของเจ้าพระยาอภัยภูเบศรด้วย

 .

 .

ห้องชั้นล่างซีกซ้ายของอาคารจัดเป็น  "พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร" พิพิธภัณฑ์การแพทย์ไทยอภัยภูเบศร ได้เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2536 เพื่อรวบรวมความรู้ ตำรับ ตำรายา ดั้งเดิมของไทย รวมทั้งเครื่องมือ เทคโนโลยีในการผลิตยาในอดีต และนอกจากนี้ยังต้องการจัดแสดงตัวอย่างสมุนไพรที่เคยมีการใช้ ในอดีตไว้เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาวิจัยในอนาคต ทั้งยังต้องการรวบรวมวัฒนธรรมการรักษาพยาบาล ของไทยในอดึตไว้ให้ครนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ ซึ่งจะก่อประโยชน์ทั้งด้านการศึกษา การสาธารณสุข สังคม เศรษฐกิจ กล่าวได้ว่าปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์การแพทย์ไทยอภัยภูเบศร เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดปราจีนบุรี

.

มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้จัดทำโครงการส่งเสริมและรวบรวมความรู้ภูมิปัญญาในการใช้สมุนไพรและการแพทย์แผนไทย 4 ภาค ร่วมกันคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการจัดทำฐานข้อมูลสมุนไพร  จัดทำเว็บไซด์เพื่อเผยแพร่ความรุ้ และบริการตอบคำถามเกี่ยวกับสมุนไพร และแพทย์แผนไทย จัดทำอภัยภูเบศรสาร  ร่วมกับรายการชีวิตชีวา ในการให้ความรู้เรื่องสมุนไพร  จัดทำหนังสือเผยแพร่เรื่องสมนไพร เช่น หนังสือ "สมุนไพรเพื่อชีวิต พิชิตโรคภัย" หนังสือ "80 ปี นายแพทย์ไพโรจน์  นิงสานนท์  ข้าวรวงใหญ่แห่งวงการสาธารณสุขไทย" เป็นต้น

.

.

ดังนั้นการพัฒนาสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยโดยอภัยภูเบศรจะได้มีการพัฒนาอย่างครบวงจร ต่อเนื่อง มีความชัดเจนขึ้นไปตามลำดับ โดยกลไกลสำคัญคือ มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

.

พอทราบถึงความเป็นมากันแล้วคงจะชวนให้ท่าน ลองไปเยี่ยมเยียนหรือใครที่มีผู้เฒ่าผู้แก่ไปพักผ่อนโดยอาศัยสถานที่แห่งนี้รักษาทั้งกายและใจไปด้วยก็ไม่เลวนัก นอกจากนี้สถานพยาบาลแห่งนี้ยังคงมีร้านขายยาสมุมไพรที่น่าตาน่าซื้อหามาใช้ ให้บริการกับแขกไปใครมาได้แวะเวียนเข้ามาเลือกซื้อนำเป็นของฝากที่แสดงถึงให้สุขภาพที่ดีและความห่วงใยกับผู้รับได้ไม่น้อย สถานที่แห่งนี้ห่างจากตัวเมืองเพียง 2.5 กิโลเมตร วิ่งรถไปตามถนนโดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3069 ถนนปราจีนอนุสรณ์

.

อีกอย่างที่จะลืมไม่ได้เลยนั้นก็คือ ที่อาคารตึกฯ ยังมีบริการน้ำสมุนไพรรสดีให้บริการฟรีอีกด้วย ก็เอาเป็นว่าใครที่ไปเที่ยวเรื่องที่ช่วยให้สุขภาพดีนั้นได้รับแน่นอน อีกทั้งส่วนที่บริการนวดและรักษาแบบแผนไทยก็มีให้บริการอย่างมืออาชีพ ใครสนใจลองแวะไปกันได้

 .

 .

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร

โดยนายแพทย์ไพโรจน์ นิงสานนท์ อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้มอบวัสดุครุภัณท์เกี่ยวกับยาไทย เช่น ตู้เก็บสมุนไพร ครกบดยา รางบดยา หินฝนยา ตำรายาไทย ฯลฯเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาการแพทย์ไทย และสนับสนุนการจัดตั้ง "มูลนิธิหมื่นชำนาญแพทยา" ขึ้น หมื่นชำนาญแพทยา(พลอย แพทยานนท์)เป็นบุตรของแพทย์หลวงประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยเป็นอย่างมาก พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศรเปิดบริการให้เข้าชมเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2539

.

.

โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

32/7 หมู่ 12 ถ.ปราจีนอนุสรณ์ อ.เมือง

จ.ปราจีนบุรี 25000

โทร. 0-3721-6145-164 ต่อ 3154

แฟกซ์. 0-3721-1523

เว็บไซต์ : www.abhaibhubejhr.org