ธปท.เผยแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับล่าสุด โดยปรับลดเป้าหมาย GDP ปี 51 มาที่ 4.3-5.0 % จากเมื่อเดือนกรฎาคมคาดไว้ที่ 4.8-5.8% ส่วนในปี 52 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 3.8-5.0% จากเดิมคาดไว้ที่ 4.3-5.8% จากความเสี่ยงด้านลบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีมากกว่าความเสี่ยงด้านบวก
ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับล่าสุด โดยปรับลดเป้าหมายอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ(GDP)ปี 51 มาที่ 4.3-5.0 % จากเมื่อเดือนกรฎาคมคาดไว้ที่ 4.8-5.8% ส่วนในปี 52 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 3.8-5.0% จากเดิมคาดไว้ที่ 4.3-5.8% เนื่องจากความเสี่ยงด้านลบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีมากกว่าความเสี่ยงด้านบวก |
. |
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 51 ปรับลดมาเป็น 6.0-6.5% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 2.0-2.5% ส่วนในปี 52 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 3.0-4.0% และ เงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 2.0-3.0% เนื่องจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ลดลงต่ำกว่าคาด |
. |
น.ส.
|
. |
ทั้งนี้ ช่วง 2 เดือนแรกของครึ่งปีหลัง เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างชัดเจน มีสัญญาณการชะลอตวของการลงทุนเอกชนบางสาขา ซึ่งส่วนหนึ่งถูกกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวด้วย ขณะที่ความเสี่ยงด้านการเมืองอาจกระทบกับความเชื่อมั่นการลงทุน และการท่องเที่ยว มองว่าไตรมาส 4/51 การส่งออกจะชะลอตัว |
. |
ส่วนในปีหน้ามองว่าวิกฤติสถาบันการเงินในสหรัฐมีโอกาสลุกลามไปยังภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงของสหรัฐ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับการส่งออกของไทย แม้ว่าจะมีส่วนช่วยในการลดการเร่งตัวของราคาน้ำมัน แต่ผลดีจากราคาน้ำมันที่ลดลงต่อภาพรวมเศรษฐกิจมีน้อยกว่าผลกระทบทางลบที่เกิดกับการส่งออก |
. |
ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐอาจจะอยู่ที่ 1202.2 พันล้านบาท โดยลดลงจากประมาณครั้งเดิม 23.2% ขณะที่การลงทุนภาครัฐใช้แค่ 658.7 พันล้านบาท ลดลง 38.4% |
. |
ด้านประมาณการอัตราเงินเฟ้อ ความเสี่ยงด้านต่ำมีมากกว่าด้านสูงในช่วงต้นของประมาณการ สอดคล้องกับโอกาสที่เศรษฐกิจโลกอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมัน รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ลดลงต่ำกว่าที่คาด แต่ในระยะต่อไปเมื่อเศรษบกิจโลกฟื้นตัว ความเสี่ยงด้านสูงจะมีมากขึ้น |
. |
ในการปรับประมาณการครั้งนี้ ธปท. ได้ทบทวนข้อสมมติประกอบการคาดการณ์อย่างรอบคอบ พบว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ ช่วงที่เหลือของปี 51 และทั้งปี 52 จะลดต่ำลง สอดคล้องกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยคาดว่าเฉลี่ยทั้งปี 51 ราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 104.1 ดอลลาร์/บาร์เรล และปี 52 อยู่ที่ 95 ดอลลาร์/บาร์เรล |
. |
ราคาสินค้าเกษตรปรับต่ำลงตามแนวโน้มอุปสงค์โลกที่ชะลอตัว และปัญหาด้านอุปทานสินค้าบางประเภทคลี่คลายลง เช่นข้าว ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ไม่ใช่เชื้อเพลิงในตลาดโลกยังใกล้เคียงปี 51และจะลดลงอีกในปี 52 ส่วนการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าปี 51/52 จะปรับลดลงจากผลกระทบของวิกฤติการเงินในสหรัฐที่รุนแรงกว่าที่ประเมิน นอกจากนี้ดอกเบี้ย Fed Funds ปรับลดลงสอดคล้องกับการเร่งแก้ปัญหาศก.สหรัฐ |
. |
ค่าเงินในภูมิภาคมีแนวโน้มอ่อนค่าเมื่อเทียบดอลลาร์จากการไหลออกของเงินทุนจากภาวะตลาดสหรัฐที่มีปัญหาสภาพคล่องตึงตัวมาก และเกิดภาวะ Risk Aversion ช่วงสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินโลกมีความไม่แน่นอนสูง นอกจากนี้ ประเมินว่ารายจ่ายภาครัฐยังอยู่ระดับต่ำ โดยในปีงบประมาณ 2552 เม็ดเงินที่รัฐบาลใช้จ่ายจริงน้อยลง และรัฐวิสาหกิจจะปรับลดรายจ่ายลงทุนในโครงการที่ไม่มีความชัดเจน |