เนื้อหาวันที่ : 2006-09-11 10:17:56 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 5786 views

ประสบความสำเร็จในการทำ Six Sigma ด้วยระบบ Machine Vision

ทุกคนในกระบวนการผลิตต่างทราบดีว่า การทำ Six Sigma กับกระบวนการผลิตเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและซับซ้อนอย่างยิ่ง จนกระทั่ง บางคนรู้สึกท้อถอย และสรุปกับตัวเองว่า Six Sigma ไม่สามารถทำได้จริง

ทุกคนในกระบวนการผลิตต่างทราบดีว่า การทำ Six Sigma กับกระบวนการผลิตเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและซับซ้อนอย่างยิ่ง จนกระทั่ง บางคนรู้สึกท้อถอย และสรุปกับตัวเองว่า Six Sigma ไม่สามารถทำได้จริง เป็นเพียงทฤษฎีที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ดูดีเท่านั่น

..

.

ในความเป็นจริง การจะประสบความสำเร็จในการทำ Six Sigma นั้น โดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพของการผลิต   ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องทำงานหนักมากกว่าปกติ จำเป็นต้องอาศัยแรงขับเคลื่อน และการคำนวณอย่างละเอียด ในแง่ของการทดสอบซ้ำแล้วซ้ำเล่า และสร้างแนวความคิดใหม่ ๆ จนกว่าจะแน่ใจว่า บรรลุถึงความสำเร็จของ Six Sigma

.

นอกจากการเปลี่ยนระบบ เปลี่ยนแนวคิดในการทำงานแล้ว ยังมีเรื่องของการนำเอาเทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามาช่วยทำให้การทำ Six Sigma ประสบความสำเร็จอีกด้วย นั่นก็คือ การใช้ระบบ Machine Vision มีตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจน นั่นก็คือ บริษัท เจเนอรัล อิเล็คทริค หรือ GE ที่นำเอาระบบ Machine Vision มาใช้ในไลน์การผลิต 2 ไลน์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จนประสบความสำเร็จ  

.

จากการทดสอบและทดลองใช้ของจีอี พบว่า มี 2 โครงการที่ต้องการประสบความสำเร็จในการทำ Six Sigma สาเหตุที่บริษัท จีอี และอีกหลาย ๆ บริษัท ได้เริ่มต้นใช้ระบบ Six Sigma เพี่อที่จะลดความแปรผันจากการผลิต เพิ่มคุณภาพการผลิต ลดของเสียจากการผลิต ซึ่งหลาย ๆ บริษัทเริ่มต้นทำ Six Sigma และล้มเหลวมามากต่อมาก

.

มาทำความรู้จัก Six Sigma อย่างคร่าว ๆ Six Sigma เป็นวินัย และกระบวนการทางข้อมูล ในการกำจัดส่วนสูญเสียและลดความแปรผันในการผลิต มันเป็นตัวแทนทางสถิติของประสิทธิภาพกระบวนการผลิต หรือองค์กรใด ๆ และวัตถุประสงค์หลัก คือการใช้การวัดผลเชิงกลยุทธ์มาใช้ ด้วยการมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงกระบวนการ และการลดความแปรผันต่าง ๆ

.

การจะประสบความสำเร็จในการทำ Six Sigma นั้น จะต้องผลิตของดีให้ได้ถึง 99.9997 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหากดูจากเปอร์เซ็นต์เพียงอย่างเดียว อาจดูไม่มากมายนัก แต่หากเปรียบเทียบออกมาให้เห็นภาพในโลกของความเป็นจริง ของเสีย 0.0003 เปอร์เซ็นต์ อาจจะหมายถึง

.

          - การผลิตยาจากโรงงานที่ผิดพลาดได้ถึง 200,000 เม็ด (ข้อมูลจากสหรัฐอเมริกา) 

          - การผลิตน้ำดื่มที่ไม่ปลอดภัยอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง 

          - โอกาสในการเกิดอุบัติเหตุทางเครื่องบิน 96 เที่ยว จาก 100,000 เที่ยว

.

Six Sigma ไม่เพียงแต่ลดของเสียเท่านั้น แต่ Six Sigma ช่วยให้บริษัทประหยัดเงินอย่างมหาศาล จากข้อมูลของสถาบัน Six Sigma, Black Belt (ผู้รับผิดชอบโครงการ Six Sigma) ของจีอี ช่วยให้บริษัทประหยัดเงินไปได้ถึง 10 ล้านบาทต่อโครงการ และพวกเขาสามารถประสบความสำเร็จมากถึง 4-6 โครงการต่อปี หากพวกเขาได้รับผิดชอบงานเต็มเวลา ประมาณการณ์กันว่า จีอีสามารถประหยัดเงินของบริษัทไปได้ถึง 4 แสนล้านบาทใน 5 ปีแรกที่ดำเนินโครงการนี้มา

..

.
โครงการที่ 1

โครงการแรกใช้เวลาทั้งสิ้น 2 เดือน จีอีต้องการตรวจสอบหลอดไฟของรถยนต์ในกระบวนการผลิต ในการทำงานจริง จีอีต้องการข้อมูลจริงจากการผลิตมากมาย ไม่ว่าจากวัด การนับ และอื่น ๆ อีกมาก

..

จีอีต้องการข้อมูลในการผลิตมากกว่าปกติ มากกว่าที่ระบบ Machine Vision ทั่วไปจะทำได้ จีอีต้องการข้อมูลจากการผลิตในลักษณะ Real-time และแสดงข้อมูลบนหน้าจอการผลิต เพื่อที่พนักงานฝ่ายผลิตจากสามารถนำข้อมูลที่เห็นจากหน้าจอไปปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้ทันเวลา ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าระบบ Machine Vision ทั่ว ๆ ไปที่ทำหน้าที่ตรวจเช็คแบบ มี/ไม่มี เท่านั้น

..

หัวใจหลักของความต้องการจากเครื่องจักรเครื่องนี้ คือ ความละเอียด +/- 0.2 มิลลิเมตร หากจะประสบความสำเร็จได้ เลนส์และไฟส่องสว่างที่ใช้ต้องไม่ทำให้ภาพบิดเบี้ยวจากความเป็นจริง โดยทั่วไป งาน Machine Vision ความละเอียดไม่ใช่สิ่งสำคัญเท่าใดนัก หลาย ๆ คน จึงไม่ให้ความสำคัญกับเลนส์และไฟส่องสว่าง แต่ในกรณีนี้ จำเป็นต้องเลือกเลนส์และไฟส่องสว่างโดยเฉพาะ เพราะหากภาพที่ได้บิดเบี้ยว จะไม่สามารถวัดขนาดของชิ้นงานได้เลย

.

ความยุ่งยากประการต่อมา โครงการนี้ต้องใช้กล้อง Machine Vision 2 ตัวทำงานพร้อมกัน และมีการเชื่อมโยงกันในการวัดขนาดของชิ้นงาน การใช้กล้อง 2 ตัวเพื่อใช้ในการวัดขนาดเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากกว่าระบบ Machine Vision ทั่วไป

.

สำหรับโครงการนี้ การใช้ระบบ Machine Vision ไม่ได้เพียงแต่นำมาใช้ตรวจเช็คชิ้นงานเพื่อที่จะตัดสินใจ ผ่าน/ไม่ผ่าน และผลักชิ้นงานทิ้งไปเท่านั้น แต่โครงการนำเอาระบบ Machine Vision มาใช้เพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐาน สำหรับพนักงานฝ่ายผลิต ให้สามารถปรับกระบวนการผลิตให้กลับมาสู่มาตรฐานได้อย่างทันท่วงที

.
โครงการที่ 2

โดยทั่วไปแล้ว โครงการที่สองมักจะยากกว่าโครงการแรกเสมอ รายละเอียดของโครงการที่ 2 เหมือนกับโครงการที่ 1 ในแง่ของการตรวจสอบ แต่ว่า ต้องการความเร็วในการตรวจสอบมากว่า และต้องปรับแต่งจากเครื่องจักรเก่า

.

สิ่งที่ยากที่สุดจากโครงการที่ 2 คือ การตรวจเช็คด้วยความเร็วที่สูงมาก นั่นคือ 160 ชิ้นต่อวินาที ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนสายพานการผลิตให้ชิ้นงานวิ่งผ่านหน้ากล้อง

.

สิ่งที่ได้จากโครงการที่ 2 คือ ข้อมูลการผลิตแบบ Real-time ทำให้พนักงานฝ่ายผลิตสามารถปรับเปลี่ยนขบวนการผลิตได้ตลอดเวลา

คอกเน็กซ์ ผู้นำทางด้านระบบ Machine Vision

คอกเน็กซ์ คือ ผู้นำทางด้านระบบวิชั่นเซนเซอร์ และ Machine Vision หรือที่เรียกติดปากกันว่า เครื่องจักรที่สามารถมองเห็น คอกเน็กซ์คิดค้นผลิตภัณฑ์ด้าน Machine Vision ที่มีความสามารถในการวัด ตรวจสอบ ตรวจนับ และ แยกแยะสินค้าในไลน์การผลิตที่วิ่งเร็วที่สุดในโลกได้

.

เทคโนโลยีที่ผ่านการทดสอบมาอย่างยาวนาน ผู้เชี่ยวชาญในแอพพลิเคชั่น และทีมงานสนับสนุนด้านเทคนิคที่มีอยู่ทั่วโลก ดังนั้น ลูกค้าของเราจึงให้ความเชื่อถือในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ Machine Vision ที่ทำงานได้ดีทุก ๆ ครั้ง และทุก ๆ เวลา แม้กระทั่งสภาพของโรงงานที่สภาพสมบุกสมบันมากที่สุด ในตลาด Machine Vision

.

คอกเน็กซ์ได้จำหน่ายระบบ Machine Vision มาแล้วทั่วโลกมากกว่า 3 แสนระบบ ซึ่งถือว่ามากกว่าผู้ผลิตรายใด ๆ ในโลก

.

ลูกค้าของ Cognex ต่างเชื่อมั่นในความสัมพันธ์ที่เป็นเสมือนดั่งพันธมิตร เราช่วยให้ลูกค้าของเราค้นหาหนทางในการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ประสิทธิผล และนั่นหมายถึงกำไรของการผลิตที่มีมากขึ้น

.

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์  Machine Vision

บริษัท แฟคตอรี่ ออโตเมชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด

โทรศัพท์ 0-2692-5441-3 โทรสาร 0-2692-5440