ตลาดรถยนต์ปิดไตรมาส 3 เติบโต 2.2% ยอดขายรวม 461,258 คัน การเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาดรถยนต์นั่งที่มีมาตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากความนิยมต่อรถยนต์รุ่นใหม่ที่แนะนำเข้าสู่ตลาด อาทิ โคโรลล่า อัลติส ฮอนด้า แจ๊ส และ ฮอนด้า ซิตี้ เป็นปัจจัยสนับสนุนหลักต่อตลาดรถยนต์
ตลาดรถยนต์ปิดไตรมาส 3 เติบโต 2.2% ยอดขายรวม 461,258 คัน การเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาดรถยนต์นั่งที่มีมาตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากความนิยมต่อรถยนต์รุ่นใหม่ที่แนะนำเข้าสู่ตลาด อาทิ โคโรลล่า อัลติส ฮอนด้า แจ๊ส และ ฮอนด้า ซิตี้ เป็นปัจจัยสนับสนุนหลักต่อตลาดรถยนต์ |
. |
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกันยายน 2551 ด้วยปริมาณการขาย 47,881 คัน ลดลง 10.5 % แบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 18,687 คัน เพิ่มขึ้น 19.1% รถเพื่อการพาณิชย์ 29,194 คัน ลดลง 22.8% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 24,781 คัน ลดลง 24.2% |
. |
ทางด้านสถิติการขายสะสม 9 เดือนของปี 2551 มีปริมาณทั้งสิ้น 461,258 คัน เพิ่มขึ้น 2.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 166,377 คัน เพิ่มขึ้น 28.8% รถเพื่อการพาณิชย์ 294,881 คัน ลดลง 8.5% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้จำนวน 252,698 คัน ลดลง 10.5% ประเด็นสำคัญ 1. ตลาดรถยนต์ 9 เดือนแรกเติบโต ด้วยยอดขายรวม 461,258 คัน เพิ่มขึ้น 2.2% |
. |
ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาดรถยนต์นั่งที่มีมาตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากความนิยมต่อรถยนต์รุ่นใหม่ที่แนะนำเข้าสู่ตลาด อาทิ โคโรลล่า อัลติส ฮอนด้า แจ๊ส และ ฮอนด้า ซิตี้ เป็นปัจจัยสนับสนุนหลักต่อตลาดรถยนต์ |
. |
ในขณะที่ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ซึ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุดของตลาดรถยนต์เมืองไทยได้รับผลกระทบจากภาวะราคาน้ำมันดีเซลที่พุ่งสูงมากในช่วง 7 เดือนแรกของปีตลอดจนปัจจัยภายในประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจโดยรวม จึงมีอัตราการเติบโตลดลง 8.5% รวมถึงตลาด รถกระบะขนาด 1 ตัน มีอัตราการเติบโตลดลง 10.5% ตามลำดับ |
. |
2. ตลาดรถยนต์ในเดือน กันยายน มีอัตราการเติบโตลดลง 10.5% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ปริมาณการขาย 47,881 คัน เป็นผลมาจากการหดตัวของตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่ปรับตัวลดลง 22.8% รวมทั้งรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้ที่ลดลงถึง 24.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา |
. |
เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศที่ทวีความรุนแรง ประกอบกับวิกฤตการทางการเงินในสหรัฐอเมริกาได้ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภคและส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ดีตลาดรถยนต์นั่งที่มีอัตราการเติบโตสูงถึง 19.1% ยังคงเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้ตลาดรถยนต์รวมไม่ลดลงไปมาก |
. |
3. ตลาดรถยนต์เดือนตุลาคม คาดว่าจะมีปริมาณการขายที่ดีขึ้น จากการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด อาทิ โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ ใหม่ โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ใหม่ ฮอนด้า ซิตี้ ใหม่ มิตซูบิชิ ปาเจโร่ สปอร์ต และ อีซูซุ ดีแมกซ์ รุ่นปรับปรุงโฉม อย่างไรก็ดีสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ประกอบกับวิกฤตการทางการเงินจะเป็นปัจจัยลบสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดรถยนต์ได้ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกันยายน 2551 |
. |
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 47,881 คัน ลดลง 10.5% อันดับที่ 1 โตโยต้า 19,109 คัน ลดลง 19.0% ส่วนแบ่งตลาด 39.9% อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,901คัน ลดลง 2.9% ส่วนแบ่งตลาด 22.8% อันดับที่ 3 ฮอนด้า 8,054 คัน เพิ่มขึ้น 25.4% ส่วนแบ่งตลาด 16.8% |
. |
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 18,687 คัน เพิ่มขึ้น 19.1% อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,163 คัน เพิ่มขึ้น 4.2% ส่วนแบ่งตลาด 43.7% อันดับที่ 2 ฮอนด้า 7,452 คัน เพิ่มขึ้น 36.6% ส่วนแบ่งตลาด 39.9% อันดับที่ 3 นิสสัน 666 คัน เพิ่มขึ้น 32.4% ส่วนแบ่งตลาด 3.6% 3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* ปริมาณการขาย 24,781 คัน ลดลง 24.2% |
. |
อันดับที่ 1 อีซูซุ 10,255 คัน ลดลง 1.5% ส่วนแบ่งตลาด 41.4% อันดับที่ 2 โตโยต้า 9,652 คัน ลดลง 32.4% ส่วนแบ่งตลาด 38.9% อันดับที่ 3 นิสสัน 1,737 คัน ลดลง 29.6% ส่วนแบ่งตลาด 7.0% *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 2,040 คัน โตโยต้า 1,433คัน - อีซูซุ 452คัน-มิตซูบิชิ 128 คัน - ฟอร์ด 27 คัน |
. |
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 22,741 คัน ลดลง 26.3% อันดับที่ 1 อีซูซุ 9,803 คัน ลดลง 1.7% ส่วนแบ่งตลาด 43.1% อันดับที่ 2 โตโยต้า 8,219 คัน ลดลง 36.8% ส่วนแบ่งตลาด 36.1% อันดับที่ 3 นิสสัน 1,737 คัน ลดลง 29.6% ส่วนแบ่งตลาด 7.6% |
. |
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 29,194 คัน ลดลง 22.8% อันดับที่ 1 โตโยต้า 10,946 คัน ลดลง 30.6% ส่วนแบ่งตลาด 37.5% อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,901 คัน ลดลง 2.9% ส่วนแบ่งตลาด 37.3% อันดับที่ 3 นิสสัน 1,759 คัน ลดลง 33.9% ส่วนแบ่งตลาด 6.0% สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม - กันยายน 2551 1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 461,258 คัน เพิ่มขึ้น 2.2% |
. |
อันดับที่ 1 โตโยต้า 195,924 คัน ลดลง 1.9% ส่วนแบ่งตลาด 42.5% อันดับที่ 2 อีซูซุ 101,510 คัน ลดลง 1.6% ส่วนแบ่งตลาด 22.0% อันดับที่ 3 ฮอนด้า 63,944 คัน เพิ่มขึ้น 32.6% ส่วนแบ่งตลาด 13.9% 2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 166,377 คัน เพิ่มขึ้น 28.8% อันดับที่ 1 โตโยต้า 80,573 คัน เพิ่มขึ้น 18.0% ส่วนแบ่งตลาด 48.4% |
. |
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 56,640 คัน เพิ่มขึ้น 38.9% ส่วนแบ่งตลาด 34.0% อันดับที่ 3 เชฟโรเล็ต 8,428 คัน เพิ่มขึ้น 52.9% ส่วนแบ่งตลาด 5.1% 3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* ปริมาณการขาย 252,698 คัน ลดลง 10.5% อันดับที่ 1 โตโยต้า 104,508 คัน ลดลง 12.9% ส่วนแบ่งตลาด 41.4% อันดับที่ 2 อีซูซุ 95,989 คัน เพิ่มขึ้น 0.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.0% |
. |
อันดับที่ 3 นิสสัน 18,469 คัน ลดลง 19.7% ส่วนแบ่งตลาด 7.3% *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 15,577 คัน โตโยต้า 10,357 คัน — อีซูซุ 4,681 คัน - ฟอร์ด 411คัน - มิตซูบิชิ 128 คัน 4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 237,121 คัน ลดลง 10.9% อันดับที่ 1 โตโยต้า 94,151 คัน ลดลง 13.6% ส่วนแบ่งตลาด 39.7% |
. |
อันดับที่ 2 อีซูซุ 91,308 คัน เพิ่มขึ้น 0.1% ส่วนแบ่งตลาด 38.5% อันดับที่ 3 นิสสัน 18,469 คัน ลดลง 19.7% ส่วนแบ่งตลาด 7.8% 5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 294,881 คัน ลดลง 8.5% อันดับที่ 1 โตโยต้า 115,351 คัน ลดลง 12.2% ส่วนแบ่งตลาด 39.1% อันดับที่ 2 อีซูซุ 101,510 คัน ลดลง 1.6% ส่วนแบ่งตลาด 34.4% อันดับที่ 3 นิสสัน 18,971คัน ลดลง 22.6% ส่วนแบ่งตลาด 6.4% |