นครพนม ได้ชื่อว่าเป็น เมืองนครแห่งอีสาน ดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขงแถบนี้ เดิมทีเป็นที่ตั้งของอาณาจักรศรีโคตรบูร ตัวเมืองตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของลำน้ำโขง
ช่วงนี้เมืองกรุงฝนตก ม็อบประท้วง รถก็ติด ชั่งเป็นทฤษฎีของประเทศไทยยุคสมัยโลกาภิวัฒน์ เสียจริง ๆ มองไปยังประเทศเพื่อนบ้านของเราน่าอิจฉาจัง ขอไม่เป็นพม่านะ เอาเป็นว่าลัดเลาะไปแถวริมฝั่งโขงก็แล้วกัน ช่างน่าอยู่จริง ๆ มองไปทั่วแผ่นดินอีสานก็ยังปกคลุมไปด้วยความแห้งแล้งเหมือนเดิม แม้จะย่างเข้าสู่ฤดูแห่งการทำนากันแล้วแต่บางพื้นที่ยังยังไม่เห็นวิ่แววว่าจะได้เห็นสายฝนโปรยปายมาเสียที ต้นข้าวที่หวานไว้ก็เริ่มเขียวขึ้นมาแล้ว จะแปลงเป็นเงินในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เพราะช่วงนี้ราคาข้าวก็ขึ้น ๆ ลง ๆ ชาวอีสานต้องเร่งมือทำนากันแล้ว |
. |
นครพนม ได้ชื่อว่าเป็น เมืองนครแห่งอีสาน ดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขงแถบนี้ เดิมทีเป็นที่ตั้งของอาณาจักรศรีโคตรบูร ตัวเมืองตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของลำน้ำโขง(ฝั่งลาว) บริเวณทางใต้ปากเซบั้งไฟ ตรงข้ามกับพระธาตุพนมในปัจจุบัน ตามประวัติเล่ากันว่าเมื่อพญานันทเสนผู้ครองศรีโคตรบูรสวรรคต เสนาอำมาตย์และประชาชนต่างก็เห็นว่าบ้านเมืองเกิดเภทภัยหลายครั้ง ควรที่จะย้ายไปสร้างเมืองใหม่อยู่ตรงข้ามกัน บริเวณที่มีป่าไม้รวกขึ้นอยู่เป็นดงจึงได้เรียกชื่อเมืองใหม่นี้ว่า มรุกขนคร หมายถึงเมืองที่อยู่ในดงไม้รวก มรุกขนครในสมัยพญาสุมิตรธรรม |
. |
. |
เมื่อ พ.ศ. 500 นั้นรุ่งเรืองมาก มีเมืองขึ้นมากมายและมีการบูรณะพระธาตุพนมขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย โดยการก่อพระลานอูบมุงชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 แล้วสร้างกำแแพงล้อมรอบ มีงานสมโภชใหญ่โต หลังจากพญา สุมิตรธรรมแล้วก็มีผู้ครองนครต่อมาอีก 2 พระองค์ แต่ก็เกิดมีเหตุอาเพศแก่อาณาจักรศรีโคตรบูรจนกลายเป็นเมืองร้าง กระทั่งถึง พ.ศ. 1800 เจ้าศรีโคตรบูรได้สร้างเมืองมรุกขนครขึ้นใหม่ใต้เมืองท่าแขก บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ในพ.ศ. 2057 ผู้ครองเมืองมรุกขนครคือพระเจ้านครหลวงพิชิตทศพิศ ราชธานีศรีโคตรบูรหลวง ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่กลายเป็น “เมืองศรีโคตรบูร” ตรงตามชื่ออาณาจักรดั้งเดิม |
. |
ในยุคสมัยนี้ยังได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมอีกด้วย ต่อมา พ.ศ. 2280 พระธรรมราชา เจ้าเมืองศรีโคตรบูรองค์สุดท้ายได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าขึ้นไปทางเหนือ แล้วให้ชื่อว่า “เมืองนคร” ซึ่งก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่าจะมีการโยกย้ายอีกหลายครั้ง ดังเช่น พ.ศ.2321 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ได้มีการย้ายเมืองอีกครั้งไปตั้งที่บ้านหนองจันทร์ ห่างขึ้นไปทางทิศเหนือ 52 กิโลเมตร จนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2333 เมื่อผู้ครองเมืองนครถึงแก่พิราลัย เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยรัชกาลที่ 1 พระราชทานนามให้ใหม่ว่า |
. |
นครพนม ชื่อนครพนมนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองลูกหลวงมาก่อนและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์จึงได้ใช้คำว่า นคร ส่วนคำว่า พนม ก็มาจากพระธาตุพนมปูชนียสถานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน บ้างก็ว่ามรุกขนครเดิมที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงตั้งอยู่ในบริเวณที่มีภูเขาสลับซับซ้อนจึงนำคำว่า พนม ซึ่งแปลว่าภูเขามาใช้ ส่วนคำว่า นคร ก็เป็นการดำรงชื่อเมืองไว้คือเมืองมรุกขนคร นครพนมจึงหมายถึง เมืองแห่งภูเขา |
. |
เห็นประวัติความเป็นมาของเมืองนครพนมกันแล้ว ควรหาโอกาสที่จะเดินไปพักผ่อนชมสถาปัตยกรรมอีสานกันบ้าง ไปไหว้พระธาตุประจำวันเกิด ตามวันเกิดของทุกท่านเอง เพื่อความเป็นสิริมงคลตลอดปี ให้พรและจิตอธิษฐานได้ การไหว้พระธาตุแต่ละแห่งนั้นจะมีคำนมัสการที่เป็นภาษาบาลีที่ผู้เกิดในวันนั้นๆ ได้สวดคาถามากจบตามจำนวนธูปที่จุดบูชา ณ พระธาตุประจำวันเกิดนั้นๆ เชื่อว่าจะส่งแรงอธิษฐานไปถึงเทวดาผู้คุ้มครองได้เร็วขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ได้เกิดตามวันนั้น หากบูชากราบไหว้ เชื่อว่าจะได้สิ่งที่ดีจากเทวดานพเคราะห์องค์นั้นๆ กลับมา |
. |
สำหรับพระธาตุประจำวันเกิด และเครื่องสักการะบูชา มีดังนี้ |
. |
วันอาทิตย์ พระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม เครื่องสักการะ : ธูป 6 ดอก, เทียน 2 เล่ม, พวงมาลัย, ดอกไม้, ผ้าสีแดง, น้ำอบไทย, ข้าวเหนียว ปิ้ง, ข้าวพอง คาถาประจำวันเกิด : อะ วิช สุ นุต สา นุส ติ |
. |
พระธาตุพนม พระธาตุเรณู |
. |
วันจันทร์ พระธาตุเรณู อำเภอเรณูนคร เครื่องสักการะ : ธูป 15 ดอก, เทียนขาว 2 เล่ม, พวงมาลัย, ดอกไม้, ผ้าสีเหลือง, น้ำอบไทย, ข้าวเหนียวปิ้ง, ข้าวพอง คาถาประจำวันเกิด : อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา |
. |
วันอังคาร พระธาตุศรีคุณ อำเภอนาแก เครื่องสักการะ : ธูป 8 ดอก, เทียน 2 เล่ม,พวงมาลัย, ดอกไม้, ผ้าสีชมพู, น้ำอบไทย, ข้าวเหนียว ปิ้ง, ข้าวพอง คาถาประจำวันเกิด : ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง |
. |
พระธาตุศรีคุณ พระธาตุมหาชัย |
. |
วันพุธ พระธาตุมหาชัย อำเภอปลาปาก เครื่องสักการะ: ธูป 17 ดอก, เทียนขาว 2เล่ม, พวงมาลัย, ดอกไม้, ผ้าสีเขียว, น้ำอบไทย,ข้าวเหนียว ปิ้ง, ข้าวพอง คาถาประจำวันเกิด : ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท |
. |
วันพฤหัสบดี พระธาตุประสิทธิ์ อำเภอนาหว้า เครื่องสักการะ : ธูป 19 ดอก, เทียน 2 เล่ม,พวงมาลัย, ดอกไม้, ผ้าสีส้ม, น้ำอบไทย, ข้าวเหนียวปิ้ง,ข้าวพอง คาถาประจำวันเกิด : ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ |
. |
พระธาตุประสิทธิ์ พระธาตุท่าอุเทน |
. |
วันศุกร์ พระธาตุท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน เครื่องสักการะ : ธูป 21 ดอก, เทียน 2 เล่ม, พวงมาลัย, ดอกไม้, ผ้าสีฟ้า, น้ำอบไทย, ข้าวเหนียวปิ้ง,ข้าวพอง คาถาประจำวันเกิด : วา โธ โน อะ มะ มะ วา |
. |
วันเสาร์ พระธาตุนคร อำเภอเมือง เครื่องสักการะ : ธูป 10 ดอก, เทียน 2 เล่ม,พวงมาลัย, ดอกไม้, ผ้าสีม่วง, น้ำอบไทย, ข้าวเหนียวปิ้ง,ข้าวพอง คาถาประจำวันเกิด : โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ |
. |
พระธาตุนคร |
. |
ข้อมูลเพิ่มเติม |
|