ฤดูฝนหมั่นสังเกตความผิดปกติของอุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งจากสี กลิ่น เสียง และอุณหภูมิ และตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น
ฤดูฝนหมั่นสังเกตความผิดปกติของอุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งจากสี กลิ่น เสียง และอุณหภูมิ และตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น ฝนฟ้าคะนอง เพราะเสี่ยงสูงต่อการได้รับอันตราย |
. |
. |
ฤดูฝนเป็นช่วงที่มีผู้ประสบอุบัติภัยอันตรายจากไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก โดยมีสาเหตุมาจากความประมาทและการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างไม่ถูกวิธี อุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟฟ้าชำรุดเสียหาย ประกอบกับฝนที่ตกลงมา ทำให้สภาพบ้านเรือนเปียกชื้น จึงเป็นตัวนำไฟฟ้าอย่างดี เพื่อป้องกันอุบัติภัยจากไฟฟ้า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอแนะวิธีการใช้เครื่องไฟฟ้าอย่างปลอดภัยและถูกวิธี |
. |
ก่อนใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ควรศึกษาคู่มือแนะนำการใช้งานให้เข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำ อย่างเคร่งครัด หมั่นตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านให้อยู่ในสภาพปลอดภัยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดเสียหาย ควรนำไปให้ช่างผู้ชำนาญการซ่อมแซม หากไม่มีความรู้เรื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า ควรหลีกเลี่ยงการซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าเอง เพราะอาจได้รับอันตรายได้ |
. |
เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าบางประเภทต้องใช้อุปกรณ์ตรวจสอบด้านความปลอดภัย เช่น เตาไมโครเวฟ ต้องตรวจสอบการรั่วของคลื่นไมโครเวฟไม่ให้มากเกินอัตราที่กำหนด หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีสายดินต้องตรวจสอบฉนวนของสายดินกับสายศูนย์ หากร่างกายเปียกชื้น ไม่ควรจับต้องหรือใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเด็ดขาด เพราะน้ำเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าอย่างดี |
. |
หากมีไฟฟ้ารั่วจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย จนถูกไฟฟ้าดูดเสียชีวิตได้ ในกรณีที่ต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น ควรติดตั้งสายดิน และ เครื่องตัดไฟรั่ว หมั่นสังเกตสิ่งผิดปกติของเครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งจากสี กลิ่น เสียง และอุณหภูมิ ซึ่งเกิดจากจุดต่อต่างๆ ของเต้าเสียบไม่แน่น หรือเต้ารับหลวมเกินไป |
. |
หลังจากใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเสร็จแล้ว ควรปิดสวิตซ์ไฟฟ้าและ ถอดปลั๊กไฟทุกครั้ง เนื่องจากหากไม่ถอดปลั๊กจะมีกระแสไฟฟ้าไหลเวียน อาจทำให้เกิดความร้อนสูง ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดเสียหายได้ หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่มีฝนตกฟ้าคะนอง โดยเฉพาะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรทัศน์ วีดีโอ เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร โทรศัพท์ เป็นต้น |
. |
เพื่อป้องกันเครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายจากการถูกฟ้าฝ่า หากเกิดฟ้าผ่าควรปิดสวิตซ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและถอดปลั๊กทันที รวมทั้งดึงสายโทรศัพท์ออกจากเครื่องทุกครั้ง และงดเว้นการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด เพื่อลดความเสี่ยงในการถูกฟ้าผ่า กรณีเครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำ ก่อนนำไปใช้งานควรเช็ดหรือผึ่งให้แห้งทุกครั้ง เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร หากฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วม ควรรีบตัดกระแสไฟฟ้า ที่แผงสวิตซ์รวมทันที |
. |
และภายหลังระดับน้ำลด ควรย้ายตำแหน่งปลั๊กไฟให้สูงกว่าระดับน้ำท่วมขัง ที่สำคัญ ควรเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจากไฟฟ้า หากพบเห็นผู้ถูกไฟฟ้าดูด (ห้ามใช้มือดึงตัวคนที่ถูกไฟฟ้าดูดโดยตรง) ให้ใช้ผ้าแห้งดึงผู้ถูกไฟฟ้าดูดออก พร้อมปิดสวิตซ์ ถอดปลั๊ก หรือปลดคัทเอาท์โดยเร็วที่สุด แล้วรีบปฐมพยาบาลและนำส่งโรงพยาบาลในทันที จะเห็นได้ว่าไฟฟ้ามีทั้งประโยชน์และโทษ ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง |
. |
หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า หากชำรุดเสียหายให้รีบนำไปซ่อมแซม รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น เพราะเสี่ยงต่อการถูกไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช๊อต ทำให้ได้รับอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ |
. |
ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย |