เนื้อหาวันที่ : 2008-10-14 19:31:15 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2643 views

แสงแดด ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

อาการแพ้แดด หรือจะส่งผลในระยะยาวกับผู้ที่ได้รับแสงแดดติดต่อกันเป็นเวลานาน คือปัญหา ฝ้า กระ จุดด่างดำ รอยเหี่ยวย่น หรือ ท้ายที่สุดคือ "มะเร็งผิวหนัง"

 

ภาวะโลกร้อน หรือ Global Warming ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตคนในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ที่เห็นได้ชัดคือ ความร้อนจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น พร้อมกับความเข้มของแสงที่สามารถส่งผ่านทั้งรังสียูวีเอ และรังสียูวีบี อันเป็นสาเหตุของปัญหาผิวพรรณ ไม่ว่าจะเป็นอาการที่แสดงออกแบบเฉียบพลัน คือผิวแดง ไหม้ หมองคล้ำ หรือที่เรียกกันว่า "อาการแพ้แดด" หรือจะส่งผลในระยะยาวกับผู้ที่ได้รับแสงแดดติดต่อกันเป็นเวลานาน คือปัญหา ฝ้า กระ จุดด่างดำ รอยเหี่ยวย่น หรือ ท้ายที่สุดคือ "มะเร็งผิวหนัง"
 
ปัญหาดังกล่าวได้กลายเป็นประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจและหาวิธีป้องกัน และหนึ่งในทางออกนั้น คือการเลือกใช้ ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด นั่นเอง
 
พท.นพ.วิษณุ ประเสริฐสม ประธานกรรมการบริหารคลินิกเวชกรรมเมดิแคร์ ได้ให้ข้อมูล ถึงการใช้ชีวิตกลางแจ้งอย่างถูกวิธีว่า "แสงแดดในช่วงเช้าและบ่ายมีประโยชน์ต่อร่างกายในกระบวนการสังเคราะห์วิตามินดี แต่ในขณะเดียวกันช่วงเวลา 1100-1400 น ถือเป็นช่วงเวลาวิกฤตที่แสงแดดมีอันตรายอย่างที่สุด ดังนั้น หากมีความจำเป็นที่จะต้องทำงานหรือเล่นกีฬากลางแจ้งในช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากจะต้องเลือกเครื่องแต่งกายที่มิดชิด โทนสีอ่อนแล้ว การเลือกใช้ ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด ให้เหมาะกับสภาพผิวก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน"
 
ครีมกันแดดมี 2 ชนิด คือ 
1) แบบป้องกันโดยการสะท้อนแสง (Physical Sun Screen) การเลือกใช้ส่วนประกอบ เช่นซิงก์ ออกไซด์ (Zinc Oxide) แมกนีเซียมออกไซด์ (Magnesium Oxide) หรือ ไททาเนียมไดออกไซด์ (Titaniumdioxide) เป็นต้น ซึ่งส่วนประกอบดังกล่าวมีคุณสมบัติในการเป็นเกราะสะท้อนไม่ให้รังสียูวีทำร้ายผิวได้โดยตรง เพราะจะไม่ซึมซาบเข้าสู่ผิว จึงไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ แต่จะทำให้หน้าขาวดูไม่เป็นธรรมชาติ ทั้งยังเหนียวเหนะหนะ ไม่เป็นที่นิยม 
 
2) แบบป้องกันโดยการดูดกลืนแสง (Chemical Sunscreen) การเลือกใช้ส่วนประกอบ เช่น พาบา (Paba) แอนทรานิเลต (Anthranilate) หรือเบนโซฟีโนน (Benzophenone) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นตัวดูดกลืนไม่ให้แสงมาทำอันตรายต่อผิวได้ ไร้สี ทาหน้าไม่ขาว แต่ข้อเสียคือ เนื่องจากสารดังกล่าวสามารถซึมสู่ผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองในกลุ่มผู้มีผิวแพ้ง่าย หรือ Sensitive Skin 
 
ครีมกันแดดที่วางจำหน่ายในท้องตลาด มีส่วนประกอบที่คล้ายคลึงกันจะต่างกันตรงที่ค่า SPF หรือ Sun Protection Factor ซึ่งเป็นค่าประมาณ “ระยะเวลา” ที่ผลิตภัณฑ์สามารถปกป้องผิวจากแสงแดดได้ เช่น หลังจากที่คุณอยู่กลางแจ้งเป็นเวลา 20 นาที ผิวคุณจะมีปฏิกิริยาจากแสงแดด คือ ร้อนแสบแดง ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF 15 จะช่วยยืดระยะเวลาดังกล่าวออกไปได้ประมาณ 300 นาที หรือ 5 ชั่วโมงนั่นเอง 
 
คุณหมอวิษณุ ยังกล่าวว่ามีคนไข้หลายท่านของ เมดิแคร์คลินิก ที่ยังมีทัศนะคติที่ผิดเรื่องการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด คนไข้ของเมดิแคร์ มีจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่า หลังการใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 และทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของครีมกันแดดได้ เป็น SPF 45 ซึ่งจริงๆแล้วเป็นความเข้าใจที่ผิด ค่า SPF ไม่สามารถบวกเพิ่มได้จากสองผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้คุณหมอพยายามที่จะสร้างความเข้าใจ โดยการแนะนำครีมกันแดดที่มีค่า SPF ให้เหมาะสมกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันของคนไข้แต่ละคน "
 
"เช่น ถ้าเป็นพนักงานออฟฟิสหรือนักเรียน นักศึกษา ที่ส่วนใหญ่อยู่ในห้องที่มีแสงจากหลอดฟลูออเลศเซ็น ครีมกันแดด SPF 40 ก็น่าจะเพียงพอกับการป้องกัน ส่วนผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง หรือนักกีฬาที่ต้องอยู่กลางแดดจัด 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อยนั้น คุณหมอจะแนะนำ SPF 60 หรือ ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่มีค่าSPF 100 แล้ว ยิ่งสร้างความมั่นใจแก่ผู้ที่ชื่นชอบกิจกรรมกลางแจ้งได้เป็นอย่างดี"