สิงคโปร์เตรียมเลิกใช้นโยบายที่หนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก หลังเศรษฐกิจประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยจนต้องปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นครั้งที่ 3 แล้วในปีนี้
|
. |
สิงคโปร์เตรียมเลิกใช้นโยบายที่หนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก หลังเศรษฐกิจประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยจนต้องปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นครั้งที่ 3 แล้วในปีนี้ |
. |
ธนาคารกลางสิงคโปร์เปิดเผยว่า ทางธนาคารจะใช้มาตรการควบคุมมิให้เงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าไปมากกว่านี้ ในขณะเดียวกันกระทรวงพาณิชย์สิงคโปร์ก็รายงานว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์อาจการขยายตัวเพียง 3% ในปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวถึง 5% |
. |
ธนาคารกลางของหลายประเทศทั่วโลกกำลังยกเลิกนโยบายควบคุมทางการเงินและลดดอกเบี้ยลง หลังวิกฤตการเงินโลกส่งผลให้สถาบันการเงินหลายแห่งล้มละลายและเศรษฐกิจซบเซา ทางสิงคโปร์เองก็ต้องการคุมเงินดอลลาร์สิงคโปร์ไม่ให้แข็งค่าเพื่อประโยชน์ของผู้ส่งออกอย่างบริษัท เวนเชอร์ คอร์ป และ ชาร์เตอร์ด เซมิคอนดัคเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง ท่ามกลางอุปสงค์โลกที่ซบเซา |
. |
"หากเงินดอลลาร์สิงคโปร์ไม่แข็งค่าอีกก็จะเป็นประโยชน์กับภาคการส่งออก แม้อุปสงค์จากต่างประเทศจะอยู่ในภาวะชะลอตัวก็ตาม" ทาคายูกิ อุราดะ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์เอเชียจากโนมูระ โฮลดิงส์ อิงค์ ในสิงคโปร์ กล่าว "ถึงกระนั้น สถนการณ์ทางเศรษฐกิจคงไม่ดีขึ้นในเร็ววันนี้" |
. |
กระทรวงพาณิชย์รายงานเพิ่มเติมว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของสิงคโปร์หดตัวลง 6.3% ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ซึ่งหดตัวลง 5.7% |
. |
เมื่อวันที่ 8 ต.ค.ที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), ธนาคารกลางยุโรป และธนาคารกลางอีก 4 แห่ง ต่างพร้อมใจกันประกาศลดดอกเบี้ย ตามมาด้วยธนาคารกลางจีน ฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม การลดดอกเบี้ยอาจไม่สามารถต้านขาลงของเศรษฐกิจได้
|
. |
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วจะขยายตัวช้าสุดในรอบกว่า 26 ปี ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่พลอยย่ำแย่ไปด้วย สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงาน
|