หลังเกิดภาวะวิกฤตทางการเงินในสหรัฐฯ มีสัญญาณบ่งชี้ถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่จะต่ำลงทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียปรากฎชัดเจนมากขึ้น ทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2552 ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดมองว่า ไทยจะเผชิญหน้ากับความท้าทายที่หนักหน่วงทั้งสองด้าน ภายในและภายนอกประเทศ
. |
หลังเกิดภาวะวิกฤตทางการเงินในสหรัฐฯ มีสัญญาณบ่งชี้ถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่จะต่ำลงทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียปรากฎชัดเจนมากขึ้น ทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2552 ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดมองว่า ไทยจะเผชิญหน้ากับความท้าทายที่หนักหน่วงทั้งสองด้าน คือจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ |
. |
หลังเกิดภาวะวิกฤตทางการเงินในสหรัฐฯ มีสัญญาณบ่งชี้ถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่จะต่ำลงทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียปรากฎชัดเจนมากขึ้น ปริมาณการค้าโลกจะมีแนวโน้มลดลงในอนาคต ซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในโลกตะวันตกมีแนวโน้มจะแผ่ขยายผลมายังภูมิภาคเอเชียโดยผ่านภาคส่งออกที่ชะลอตัวลง ท่ามกลางปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจดังกล่าว สิ่งที่ต้องให้ความสนใจอย่างจริงจังคือความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย เนื่องจากที่ผ่านมาการเติบโตของไทยมีการพึ่งพิงภาคการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนหลักมากขึ้นเรื่อยๆ |
. |
ธนาคารมองว่าภาวะวิกฤตทางการเงินโลกในครั้งนี้ อาจมีผลกระทบในทางลบต่อทั้งภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทย และส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากขึ้นในอนาคต ถึงแม้ว่าตลาดการส่งออกของไทยกระจายตัวค่อนข้างดี โดยมูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่นรวมกันประมาณ 1 ใน 3 ของยอดรวมทั้งหมดของประเทศ แต่หากรวมตลาดหลักอื่นๆในภูมิภาค |
. |
ได้แก่ อาเซียน จีน และฮ่องกง รวมกันแล้วมีมูลค่ามากกว่า 2 ใน 3 ของยอดส่งออกรวมของประเทศ ดังนั้นหากเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวไปพร้อมๆ กัน ย่อมส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกและการเจริญเติบโตของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ วิกฤตทางการเงินโลกยังอาจส่งกระทบต่อรายได้จากการท่องเที่ยวของไทยให้ลดลงด้วย ซึ่งจะเป็นการซ้ำเติมผลกระทบที่เกิจจากความไม่สงบทางการเมืองในช่วงก่อนหน้านี้อยู่แล้ว |
. |
ส่วนปัจจัยภายในประเทศ สถานการณ์ทางการเมืองยังคงส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ภายในประเทศ สถานการณ์การเมืองที่ยังขาดเสถียรภาพ ทำให้ความเชื่อมั่นภายในประเทศทั้งจากนักลงทุนและผู้บริโภคจะยังคงอ่อนแอและเปราะบางต่อไป ขณะเดียวกัน ความคืบหน้าของโครงการลงทุนสาธารณูปโภคขนาดใหญ่อาจจะล่าช้าเนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมือง |
. |
เมื่อพิจารณาจากปัจจัยทั้งหมดนี้แล้ว ธนาคารคาดว่า อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพีของไทยจะเติบโตต่ำลงจากที่ประมาณการไว้ที่ 4.7% ในปี 2551 มาอยู่ที่ 3.9% ในปี 2552 ในเวลาเดียวกัน ธนาคารเชื่อว่า ภาวะเงินเฟ้อของไทยจะคลายตัวลงอย่างมาก จากอัตราเฉลี่ยที่ 6.4% ในปี 2551 มาอยู่ที่อัตราเฉลี่ย 2.5% ในปี 2552 ภาวะเงินเฟ้อที่คลายตัวลงนี้น่าจะเอื้อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงได้เพื่อลดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวลงอย่างรุนแรง |
. |
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบนี้น่าจะได้เห็นในในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 โดยปรับลดดอกเบี้ยสองครั้ง ๆ ละ 25bps (หรือ 0.25%) ตามด้วยอีก 25bps (หรือ 0.25%) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 ซึ่งจะส่งผลให้อัตรานโยบายลดลงมาอยู่ที่ระดับ 3.0% แต่ถ้าภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลงเร็วและมากกว่าที่คาด ก็อาจได้เห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่เร็วขึ้น |
. |
ในส่วนทิศทางค่าเงินบาท ธนาคารเชื่อว่า แนวโน้มภาวะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ต่อเนื่องในอนาคต ประกอบกับเงินลงทุนที่ยังไหลออกอย่างต่อเนื่องจะมีผลกดดันต่อค่าเงินบาท ซึ่งคาดว่าจะอ่อนตัวลงไปอยู่ที่ 35.50 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงปลายปี 2551 และไปที่ 36 บาทต่อดอลลาร์ในช่วงกลางปี 2552 |