กรมการค้าภายใน หากพบการซื้อขายทองคำไม่เป็นธรรมหรือร้านทองเอาเปรียบผู้บริโภคก็มีความเป็นไปได้ที่จะนำทองคำเข้าไปอยู่ในบัญชีสินค้าควบคุม เพราะขณะนี้มีประชาชนร้องเรียนผ่านสายด่วน 1569 เข้ามามากว่าร้านทองคิดค่ากำเหน็จสูงเกินจริง และมีการออกใบจองทองคำ(ตั๋วทอง)ให้แทน
นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า หากพบการซื้อขายทองคำไม่เป็นธรรมหรือร้านทองเอาเปรียบผู้บริโภคก็มีความเป็นไปได้ที่จะนำทองคำเข้าไปอยู่ในบัญชีสินค้าควบคุม เพราะขณะนี้มีประชาชนร้องเรียนผ่านสายด่วน 1569 เข้ามามากว่าร้านทองคิดค่ากำเหน็จสูงเกินจริง และมีการออกใบจองทองคำ(ตั๋วทอง)ให้แทน |
. |
ทั้งนี้ประชาชนรวมทั้งนักลงทุนรายย่อยเกรงว่าอาจถูกร้านทองเอาเปรียบด้วยการปฏิเสธการซื้อตั๋วทองคืนหากราคาทองคำเพิ่มขึ้นจากวันที่ออกใบจอง หรือไม่ส่งมอบทองคำจริงตามเวลาที่กำหนดหากราคาผันผวน |
. |
"พฤติกรรมการซื้อทองของคนไทยกำลังเปลี่ยนไป โดยหันมาซื้อเพื่อการลงทุนและการออมมากขึ้น จากเดิมที่ซื้อเป็นเครื่องประดับ กรมฯ จึงพิจารณาความเป็นไปได้ว่าจะนำทองคำเข้าเป็นสินค้าควบคุมหรือไม่ เพื่อควบคุมการซื้อขายทั้งระบบ ตั้งแต่ราคาขาย ค่ากำเหน็จ การแจ้งการถือครอง ปริมาณซื้อขายในแต่ละวัน รวมถึงหลักเกณฑ์การออกใบจองด้วย เพื่อทำให้มั่นใจว่าลูกค้าจะไม่ถูกโกง" นายยรรยง กล่าว |
. |
อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า กรมฯ สามารถใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 นำทองคำเป็นสินค้าควบคุมได้ทันที แม้ทองคำจะไม่ใช่สินค้าจำเป็นแต่ก็เข้าข่ายเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ มีราคาขึ้นลงรวดเร็ว ประชาชนทั่วไปมีสิทธิบริโภค และสร้างผลกระทบต่อผู้บริโภคในวงกว้าง |
. |
ทั้งนี้หากนำทองคำเข้ารายการสินค้าควบคุมจริง ร้านค้าทองจะต้องแจ้งปริมาณ มูลค่าซื้อขายในแต่ละวันให้กรมฯ รับทราบ เพิ่มเติมจากเดิมที่แจ้งเฉพาะการเปลี่ยนแปลงราคาอย่างเดียว วันละ 3 เวลาคือ 09.00 น., 11.00 น. และ 15.00 น. |
. |
อย่างไรก็ตาม กรมการค้าภายในได้หารือในเบื้องต้นกับสมาคมผู้ค้าทองคำแล้ว ซึ่งเห็นด้วยในหลักการ และสมาคมจะช่วยประสานร้านค้าสมาชิกเพื่อให้ปฏิบัติตาม ส่วนเรื่องการคุมค่ากำหน็จทองรูปพรรณ คาดว่าจะสรุปได้เร็วๆ นี้ โดยอาจให้คิดค่ากำเหน็จตามสัดส่วนราคาทอง เช่น 5% หรือ 10% เพื่อให้ผู้บริโภคไม่เสียเปรียบร้านทอง |