สศค.วิเคราะห์ผลกระทบจากวิกฤติล้มละลายของเลห์แมน บราเธอร์ เกิดจากสภาวะสภาพคล่องล้นโลกและนำไปสู่วิกฤติซับไพร์ม ซึ่งได้ลุกลามไปสู่ความผันผวนของตลาดการเงินโลก โดยเชื่อว่าเหตุการณ์จะยังไม่จบในช่วงสั้นๆ
นาย
|
. |
ทั้งนี้ ไทยต้องเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยระยะสั้น เพื่อป้องกันปัญหาการขาดสภาพคล่องจากสถานการณ์เงินทุนไหลออก และระดมเงินกู้ในประเทศแทนการกู้ต่างประเทศ หน่วยงานภาครัฐต้องเข้ามาดูแลสภาพคล่องในประเทศให้เพียงพอ หากมีเงินทุนไหลออกอย่างรวดเร็ว และเกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด นอกจากนี้ ธปท.ต้องเข้ามาดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลภูมิภาคและไม่ให้มีความผันผวน |
. |
ส่วนระยะปานกลาง เพื่อป้องกันเศรษฐกิจชะลอตัวในระยะต่อไปจากปัจจัยเสี่ยงด้านต่างประเทศที่กระทบภาคการส่งออก โดยภาครัฐต้องเร่งการใช้จ่ายโดยเฉพาะการลงทุนให้เร็วขึ้น ผลักดันโครงการเมกะโปรเจ็คต์ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด เพื่อให้มีบทบาทขับเคลื่อนเศรษบกิจแทนการส่งออก |
. |
ส่วนนโยบายการเงินต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ขณะนี้ความเสี่ยงต่อเงินเฟ้อมีน้อยกว่าความเสี่ยงต่อการหดตัวทางเศรษฐกิจและนโยบายระยะยาว ต้องเร่งตลาดส่งออกสินค้าไปตลาดใหม่ๆ ที่ไม่ได้ผลกระทบจากสหรัฐมากนัก เช่น แอฟริกา ตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ยังต้องแสวงหาความร่วมมือทางด้านการเงินจากประเทศในภูมิภาคเอเซียให้มากขึ้น ซึ่งอาจใช้เวทีการประชุมอาเซียน |