กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เดินสายจัดสัมมนาให้ข้อมูลการเปิดเสรีกรอบไทย-อินเดีย อาเซียน-อินเดีย พร้อมแนะให้เห็นโอกาสจากความตกลงเปิดทางเข้าสู่ตลาดอินเดีย เผยผลจากการเปิดสินค้าเร่งลดภาษี (EHS) 82 รายการ ส่งให้มูลค่าการค้าไทย-อินเดียเพิ่มขึ้น
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เดินสายจัดสัมมนาให้ข้อมูลการเปิดเสรีกรอบไทย-อินเดีย อาเซียน-อินเดีย พร้อมแนะให้เห็นโอกาสจากความตกลงเปิดทางเข้าสู่ตลาดอินเดีย เผยผลจากการเปิดสินค้าเร่งลดภาษี (EHS) 82 รายการ ส่งให้มูลค่าการค้าไทย-อินเดียเพิ่มขึ้น |
. |
. |
นายชนะ คณารัตนดิลก รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยผลการจัดสัมมนา "ตะลุยภารตะ ขุมทรัพย์การค้า" ตลอดระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา กรมฯ ได้จัดสัมมนาเชิงวิชาการอย่างต่อเนื่องในการสร้างความรู้ ความเข้าใจตลาดอินเดีย และเตรียมความพร้อมการเปิดเสรีในกรอบไทย-อินเดีย อาเซียน-อินเดีย ในหัวข้อ ตามจังหวัดต่างๆ ในทุกภูมิภาค คือ จังหวัดเชียงใหม่, ภูเก็ต, ขอนแก่น จันทบุรี และครั้งสุดท้ายที่กรุงเทพฯ ซึ่งประสบความสำเร็จมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมอย่างมาก |
. |
นายชนะกล่าวว่า ข้อตกลงFTA ไทย-อินเดีย เป็นข้อตกลงแรกที่ไทยทำกับประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ และเป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างอินเดียกับภูมิภาคอาเซียน ปัจจุบันภายใต้กรอบทวิภาคี FTA ไทย-อินเดีย ทั้งสองฝ่ายได้ยกเลิกภาษี จำนวน 82 รายการ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2549 จึงเป็นโอกาสดีที่ท่านสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ก่อน ส่วนสินค้าอีกหลายพันรายการยัง อยู่ในระหว่างการดำเนินการเจรจา โดยมีความคืบหน้าใกล้จะสำเร็จสรุปผลแล้ว |
. |
จากผลของ FTA ไทย-อินเดีย ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างไทย-อินเดียเพิ่มมากขึ้น ในปี 2550 มีมูลค่าการค้ากว่า 163,000 ล้านบาท และใน 7 เดือนแรกของปี 2551 มูลค่าการค้าประมาณ 114,000 ล้านบาท สินค้าที่ไทยส่งไปอินเดียมากคือ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติก รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากอินเดียมากคือ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ |
. |
ทั้งนี้ที่ผ่านมาการค้าขายกับอินเดียมีปัญหา และอุปสรรค เช่น อินเดียเก็บภาษีนำเข้าในอัตราสูง และยังมีการเก็บภาษีอื่นๆภายในประเทศ สำหรับระบบพิธีการศุลกากรมีความยุ่งยาก ซับซ้อน และล่าช้า ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการขนถ่ายสินค้า และมีพื้นที่ขนาดใหญ่ การขนส่งสินค้าใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้มีการลอกเลียนแบบสินค้าเกิดขึ้นจำนวนมากและรวดเร็ว ซึ่งการเจรจาการค้าเป็นเครื่องมือที่ช่วยลดอุปสรรคและบรรเทาปัญหาลงได้ |
. |
การสัมมนาฯ นี้ได้เชิญวิทยากรที่เป็นตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนซึ่งมีความเชี่ยวชาญตลาดอินเดีย มาให้ข้อมูลแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยเปิดตลาดอินเดีย เจาะลึกโอกาสของธุรกิจไทยในตลาดอินเดีย และโอกาสของนักธุรกิจไทยในประเทศอินเดีย โดยแนะว่าการทำการค้ากับอินเดียต้องอดทน หนักแน่น และการบุกตลาดอินเดียต้องเรียนรู้ศึกษา สำรวจเจาะลึกสินค้าประเภทเดียวกันกับเราในตลาดอินเดีย เตรียมตัวให้พร้อมด้วยการปรับปรุงสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด ทั้งนี้อินเดียยังมีความต้องการสินค้าของไทยอีกมาก เช่น ยางรถยนต์ หมาก สำหรับธุรกิจที่น่าจะมีโอกาสในตลาดอินเดีย คือ ธุรกิจบริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ภัตตาคาร สปา หรือเครื่องอุปโภคบริโภค |