เชฟโรเลต ครูซ รถยนต์ซีดานรุ่นใหม่ล่าสุด ที่จะเผยโฉมสู่สายตาสาธารณะชนเป็นครั้งแรก 4 ประตู ที่มีดีไซน์โฉบเฉี่ยวสไตล์คูเป้ แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า การออกแบบที่เร้าใจกับราคาที่คุ้มค่าสามารถไปด้วยกันได้ดีอย่างลงตัว
. |
เชฟโรเลต ครูซ (Chevrolet Cruze) รถยนต์ซีดานรุ่นใหม่ล่าสุด ที่จะเผยโฉมสู่สายตาสาธารณะชนเป็นครั้งแรกในงานแสดงรถยนต์ ปารีส มอเตอร์ โชว์ เดือนตุลาคม 2551 นี้ ซึ่งรถยนต์ 4 ประตู ที่มีดีไซน์โฉบเฉี่ยวสไตล์คูเป้ แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า การออกแบบที่เร้าใจกับราคาที่คุ้มค่าสามารถไปด้วยกันได้ดีอย่างลงตัว |
. |
เชฟโรเลต ครูซ จะออกสู่ตลาดยุโรปในเดือนมีนาคมปีหน้า โดย ครูซ นั้นเป็นการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างการปรับรูปโฉมใหม่กับดีไซน์ระดับโลก ในรถยนต์ซีดาน ของเชฟโรเลตซึ่งเป็นสัญลักษณ์เฉพาะตัวของยานยนต์รุ่นใหม่ๆ ภายใต้สัญลักษณ์ โบว์ไทสีทอง ของเชฟโรเลต หลังคาอันโค้งมนของ เชฟโรเลต ครูซ ที่พาดเป็นแนวยาวจากกระจกบังลมหน้าลงมายังขอบกระจกบังลมหลัง และมีช่วงท้ายรถสั้น พร้อมทั้งนำดีไซน์ของรถยนต์คูเป้มาออกแบบอย่างได้สัดส่วนลงตัว จึงทำให้ เชฟโรเลต ครูซ เป็นรถซีดานที่มีกลิ่นอายสปอร์ต ดูโฉบเฉี่ยว และมีความคล่องตัวสูง |
. |
ด้วยตัวถังรถที่กว้างขวางและมีความยาวของตัวถังมากกว่ารถคู่แข่งในระดับเดียวกัน ขณะเดียวกันรูปทรงของครูซนั้นยังให้ความรู้สึกถึงความมั่นคง จากการออกแบบให้ขอบล้ออยู่ล้ำออกมาจากซุ้มล้อ (Fenders) ซึ่งต่างจากรถรุ่นอื่นทั่วไปที่ล้อรถจะอยู่ลึกเข้าไปในซุ้มล้อ จึงทำให้ล้อของครูซดูเป็นส่วนเดียวกันกับตัวรถ ขณะเดียวกันตัวถังและชิ้นส่วนที่ใช้ตกแต่งภายนอกเชฟโรเลต พิถีพิถันด้วยการเลือกใช้วัสดุคุณภาพสูงเท่านั้น จึงทำให้ครูซ ดูสะดุดตาด้วยรูปลักษณ์อันหรูหรา และปราณีตตั้งแต่หน้าจรดท้ายรถ |
. |
เชฟโรเลต ครูซ นั้นยังมีชื่อเสียงในเรื่องของด้านหน้าตัวรถที่มีความโค้งมนสวยงาม เสริมความลงตัวด้วยกรอบไฟหน้าขนาดใหญ่โค้งมนครอบคลุมพื้นที่บริเวณมุมด้านหน้าของรถ เมื่อรวมกับการออกแบบซุ้มล้อและฝากระโปรง ทำให้ครูซดูเหมือนลักษณะของลูกศรที่พร้อมพุ่งไปด้านหน้า ส่วนรูปแบบดีไซน์ที่โดดเด่นอื่นๆ นั้น ยังรวมถึงเส้นขอบข้างตัวถังที่ทำให้ดูมีส่วนโค้งส่วนเว้า กระจังหน้ารถยังถูกออกแบบเป็น 2 ชั้น อันเป็นเอกลักษณ์ของรถยนต์เชฟโรเลต และ ลักษณะที่ดูมั่นคงจากขอบล้อที่ยื่นออกมาจากซุ้มล้ออย่างชัดเจน การออกแบบภายในของครูซ โดดเด่นด้วยเบาะนั่งคู่หน้าแบบทวิน ค็อกพิต (twin cockpit) ซึ่งเป็นเบาะนั่งแบบเดียวกันกับที่ใช้ในรถสปอร์ต คอร์เวตต์ |
. |
"จุดมุ่งหมายของเราในการออกแบบครูซ นั่นคือ แสดงถึงความกล้าหาญของทีมดีไซน์อย่างชัดเจน ไม่ใช่เพื่อสร้างวิวัฒนาการของรถรุ่นนี้...เราต้องการก้าวไกลไปข้างหน้าในการสร้างเอกลักษณ์ที่ชัดเจนด้านการออกแบบรถยนต์เชฟโรเลตทั่วโลก" มร.แทวาน คิม (Taewan Kim) หัวหน้าทีมออกแบบกล่าว |
. |
สำหรับผู้ที่มีโอกาสมาเยี่ยมชมงานแสดงรถยนต์ในปารีสครั้งนี้จะได้เห็นว่า ดีไซน์ของเชฟโรเลตนั้นก้าวหน้าไปถึงระดับไหนและ ครูซ ยังคงสะท้อนถึงคุณภาพการออกแบบภายในเชฟโรเลตได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น การตกแต่งแผงคอนโซลกลาง และทั่วทั้งห้องโดยสารด้วยวัสดุไม้ชั้นดี ใช้วัสดุที่อ่อนนุ่มรองรับการสัมผัส และตกแต่งภายในด้วยวัสดุที่มีความมันวาวน้อยลง แต่เพิ่มคุณภาพของวัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในให้สูงขึ้น ซึ่งสะท้อนความหรูหราน่าสัมผัส เช่นเดียวกับการออกแบบภายนอก |
. |
เชฟโรเลต ครูซ จะเปิดตัวที่ยุโรป ทั้งในรุ่น เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ 16 วาล์ว ขนาด |
. |
จากยอดจำหน่ายในยุโรปที่สูงขึ้นถึง 23 เปอร์เซนต์ ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2551 เชฟโรเลตกลายเป็นแบรนด์หลักที่เติบโตเร็วที่สุดของ จีเอ็ม ยุโรป การเปิดตัวของครูซนั้นจะเป็นการเบิกทางไปสู่การผลิตรถรุ่นใหม่ๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งคาดว่าจะนำแบรนด์จีเอ็มและเชฟโรเลตไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นอีก |
. |
มร.เวยน์ แบรนนอน ผู้อำนวยการบริหาร เชฟโรเลต ยุโรป เกริ่นนำพร้อมกล่าวต่อไปอีกว่า "เชฟโรเลตนั้นยึดมั่นการแสดงถึงความคุ้มค่าเสมอมา และครูซ ก็แสดงให้เห็นถึงสิ่งเหล่านั้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นอกเหนือจากนั้น ครูซยังสร้างคำจำกัดความใหม่กับเชฟโรเลต ทั้งในเรื่องของการออกแบบ คุณภาพในการประกอบ วัสดุ และสไตล์ที่ยอดเยี่ยมทั้งการออกแบบภายในและภายนอก อีกทั้งยังเน้นในการผสานรอยต่อระหว่างชิ้นส่วนต่างๆทั้งภายในและภายนอกของครูซ เป็นการยกระดับมาตรฐานการออกแบบรถซีดานขนาดกลางของยุโรป และทั่วโลก" |
. |
ครูซ เป็นผลลัพธ์ที่ได้รับมาจากกระบวนการร่วมกันพัฒนาของเครือข่ายจีเอ็มทั่วโลก และเป็นรถยนต์รุ่นแรกจากตระกูลรถยนต์ขนาดกลางที่มีคุณภาพระดับโลก ซึ่งครูซนั้นยังได้รับการคาดการณ์ว่าจะได้รับการรับรองด้วยคะแนนที่สูงที่สุด จากการประเมินมาตรฐานความปลอดภัยจากการทดสอบการชน เชฟโรเลต ครูซ จะออกจำหน่ายในยุโรปตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2552 เป็นต้นไป และจะวางจำหน่ายในตลาดอื่นๆ ทั่วโลกต่อไป ตามความเหมาะสมของแต่ละภูมิภาค |
. |