เนื้อหาวันที่ : 2006-09-04 15:26:18 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1590 views

ปตท. นำลดราคาน้ำมันขายปลีกทุกชนิด อีก 40 สตางค์ เป็นครั้งที่ 5 ติดต่อกัน

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากที่ ปตท. ได้ปรับลดราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินไปแล้ว 4 ครั้ง ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา และจากการติดตามแนวโน้มราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่อง

รวมปรับราคาน้ำมันเบนซิน 2.10 บาท / ลิตร หลังจากราคาตลาดโลกเริ่มปรับตัวลดลง มีผลพรุ่งนี้ (5 ก.ย. 49) เวลา 05.00 น. เป็นต้นไป นายชัยวัฒน์ ชูฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังจากที่ ปตท. ได้ปรับลดราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินไปแล้ว 4 ครั้ง ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา และจากการติดตามแนวโน้มราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งราคาน้ำมันในตลาดโลกมีทิศทางปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดในวันนี้ (4 ก.ย. 49) ราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 66.14 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล

.
น้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ เบนซิน95 อยู่ที่ระดับ 72.04 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และน้ำมันดีเซล อยู่ที่ระดับ 84.51 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ปตท. จึงสามารถปรับลดราคาขายปลีกทุกชนิดลงได้อีกครั้ง ลิตรละ 40 สตางค์ (นับเป็นครั้งที่ 5 ติดต่อกัน) โดยมีผลตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (5 ก.ย. 49) เวลา 05.00 น. เป็นต้นไป ทำให้ราคาน้ำมันในเขต กทม. และปริมณฑลเป็นดังนี้
.

หน่วย : บาท/ลิตร

น้ำมันเบนซิน    พีทีที อัลฟา เอ็กซ์ 95                                         28.09

น้ำมันเบนซิน    พีทีที แก๊สโซฮอล์ 95 พลัส                                  26.59

น้ำมันเบนซิน    พีทีที อัลฟา เอ็กซ์ 91                                         27.29

น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว พีทีที เดลต้า เอ็กซ์ ยูโร ทรี                           27.14

น้ำมันพีทีทีไบโอดีเซล / น้ำมันดีเซล-ปาล์มบริสุทธิ์                       26.64

.

นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า การปรับลดราคาน้ำมันครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 5 ติดต่อกันแล้ว รวมลดราคาน้ำมันเบนซิน 2.10 บาท / ลิตร ( 16 ส.ค., 19 ส.ค., 26 ส.ค., 30 ส.ค. และ 5 ก.ย. ศกนี้)  ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงสืบเนื่องมาจากผู้ค้าน้ำมันในตลาดล่วงหน้าได้เทขายเพื่อทำกำไรก่อนวันหยุดต่อเนื่องในสหรัฐฯ (4 ก.ย. 49 เป็นวัน Labor Day) ซึ่งนับเป็นการสิ้นสุดฤดู Driving Season ในสหรัฐฯ ประกอบกับการที่ US Hurricane Research ได้ปรับลดการคาดการณ์จำนวนพายุเฮอร์ริเคนและพายุโซนร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกลงเป็นครั้งที่ 2

.

อย่างไรก็ตามแม้ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตาม คือ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและกลุ่มประเทศตะวันตกเกี่ยวกับกลุ่มประเทศตะวันตกเกี่ยวกับการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ หลังจากที่อิหร่านไม่ปฏิบัติตามเส้นตายของ UN เรื่องการระงับโครงการเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมเมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยล่าสุดรัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพยุโรปออกมากล่าวว่า EU จะให้เวลาอิหร่านอีก 2 สัปดาห์ก่อนที่จะมีการพิจารณาเรื่องคว่ำบาตรประเทศอิหร่าน ซึ่งคงต้องจับตามองว่ากลุ่มโอเปคว่าจะมีการปรับกำลังการผลิตน้ำมันหรือไม่ต่อไป