สศช.ตั้งเป้าหมายอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 51 ที่ 5.5% โดยมองว่าสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้จะยังไม่มีผลต่อภาพรวมในขณะนี้ แต่น่าจะส่งผลอย่างชัดเจนในปีหน้า หากเหตุการณ์ยืดเยื้อต่อไปอีก
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)กล่าวว่า สศช.ยังตั้งเป้าหมายอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 51 ที่ 5.5% โดยมองว่าสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้จะยังไม่มีผลต่อภาพรวมในขณะนี้ แต่น่าจะส่งผลอย่างชัดเจนในปีหน้า หากเหตุการณ์ยืดเยื้อต่อไปอีก |
. |
แม้ว่าจะมีความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศต่อเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ โดยเฉพาะเงินทุนที่ไหลออกจากตลาดหลักทรัพย์หรือการหดตัวในภาพรวม ผลกระทบภาคการท่องเที่ยว แต่ปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวจะยังไม่ส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจในปีนี้มากนัก โดยเชื่อว่าความเชื่อมั่นต่อการลงทุนที่ลดลงจะกระทบกับฐานเศรษฐกิจใน ปี 52 |
. |
อย่างไรก็ตาม สศช.จะสอบถามตัวเลขที่ชัดเจนจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจครั้งหน้าก่อนจะมีการประเมินภาพเศรษฐกิจ |
. |
"เศรษฐกิจผ่านมา 8 เดือน อัตราลดลงคงเป็นไปไม่ได้ แต่เศรษฐกิจโดยเฉพาะฐานการลงทุนในภาคการส่งออก ภาคการเกษตร และประสิทธิภาพการผลิต ในปีหน้าจะได้รับผลกระทบแน่นอน เศรษฐกิจจะดิ่งตัวลงจากปัญหาการเมืองหากมีการหยุดการลงทุน หรือถอนการลงทุน"เลขาธิการ สภาพัฒน์ กล่าว |
. |
สำหรับการติดตามการเคลื่อนไหวภาวะทางสังคมไทยในไตรมาสสอง (เม.ย.-มิ.ย.) ปี 51 พบว่า คนไทยมีงานทำเพิ่มขึ้น เป็นจำนวน 36.80 ล้านคนหรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสสองของปีก่อน ซึ่งจะเห็นว่า อัตราการว่างงานได้ลดลงอย่างต่อเนื่องและอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า ร้อยละ 1.4 เนื่องจากการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมและนอกภาคเกษตรกรรมขยายตัวได้ดีถึง ร้อยละ 2.7 |
. |
สศช. ยังพบว่า ภาคหัตถอุตสาหกรรมอัตราการลดลงร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นผลจากการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูง เช่น อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมเครื่องหนังและเครื่องเรือน โดยเฉพาะเครื่องไม้ เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐซึ่งส่งให้เกิดผลกระทบกับอุตสาหกรรมไม้ |