ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด ค้าส่งค้าปลีกในครึ่งหลังปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 2-5 ยแนวโน้มพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในช่วงครึ่งหลังปี 2551 น่าจะเป็นไปอย่างระมัดระวังไม่แตกต่างจากช่วงก่อนหน้านี้ หรืออาจจะชะลอตัวแรงกว่าที่คาด หากสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองยังคงยืดเยื้อไปจนถึงสิ้นปี และอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบในแง่ลบต่อธุรกิจค้าส่งค้าปลีกมากขึ้นเป็นทวีคูณ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าค้าส่งค้าปลีกในครึ่งหลังปี 2551 น่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2-5 โดยแนวโน้มพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในช่วงครึ่งหลังปี 2551 น่าจะเป็นไปอย่างระมัดระวังไม่แตกต่างจากช่วงก่อนหน้านี้ หรืออาจจะชะลอตัวแรงกว่าที่คาด หากสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองยังคงยืดเยื้อไปจนถึงสิ้นปี และอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบในแง่ลบต่อธุรกิจค้าส่งค้าปลีกมากขึ้นเป็นทวีคูณ จากการชะลอการจับจ่ายใช้สอยของทั้งจากผู้ซื้อชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ |
. |
. |
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีแรก ภาวะธุรกิจค้าส่งค้าปลีกเติบโตเพียง 2.9 % และเป็นไปในทิศทางชะลอตัวลงเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เติบโต 3.4% โดยผู้บริโภคได้ชะลอการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการเกือบทุกหมวด แม้กำลังซื้อของผู้บริโภคจะได้รับแรงหนุนจากปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ปรับค่าครองชีพ ทั้งของภาครัฐและเอกชน และรายได้ภาคเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง แต่ปัจจัยลบทางเศรษฐกิจ ยังมีอิทธิพลรุนแรง ที่ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการอยู่ในระดับสูง และส่งผลต่อภาวะค่าครองชีพผู้บริโภค อีกทั้งยังมีปัญหาการเมือง ที่กระทบต่อความเชื่อมั่น และยังยืดเยื้อต่อไป |
. |
"จากปัจจัยลบที่คาดว่าจะส่งผลกระทบเด่นชัดมากกว่าปัจจัยบวกต่อภาพรวมธุรกิจค้าปลีกค้าส่งในช่วงครึ่งหลังปี 2551 ไม่ว่าจะเป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราเงินเฟ้อยังสูงอยู่ ราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับสูง แม้ว่าจะอ่อนตัวลงมาบ้างแล้วในครึ่งหลังปี 2551 รวมถึงปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง ที่คาดว่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่เข้ามาซ้ำเติมบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค ที่เป็นไปในทิศทางชะลอตัวลงอยู่แล้วจากปัจจัยทางเศรษฐกิจให้มีแนวโน้มชะลอตัวเด่นชัดมากยิ่งขึ้น ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นจะมากหรือน้อยเพียงใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันจะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นรวดเร็วเพียงใด" เอกสาร ระบุ |
. |
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เชื่อว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนมากขึ้น โดยแยกวัตถุประสงค์การเข้าใช้บริการ เช่น หากต้องการซื้ออาหาร หรือของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวันจะเลือกร้านค้าปลีกใกล้บ้านหรือใกล้ที่ทำงาน แต่หากต้องการติดตามกระแสแฟชั่น หรือสันทนาการบันเทิง ก็จะเข้าไปใช้บริการในศูนย์การค้า หรือห้างสรรพสินค้า |
. |
ดังนั้น การทำความเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภค และครอบคลุมกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในแต่ละทำเลพื้นที่ ต้องสร้างความแตกต่างทั้งในส่วนของสินค้าที่วางจำหน่าย หรืออิงกระแสที่กำลังที่เป็นที่นิยม จะเป็นแนวทางที่เหมาะสมสอดคล้องกับภาวะการแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกยุคผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง และภาวะค่าครองชีพสูง |