ก.วิทย์ฯ ระดมความคิดเห็นและร่วมสร้างความเข้าใจในปัญหา เพื่อเป็นแรงกระตุ้นในการสร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาภาวะโลกร้อน และนำไปสู่การร่วมกันกำหนดแนวทางรับมือต่อปัญหาวิกฤติโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เตรียมจัดประชุมใหญ่ 17 กันยายนนี้ หวังรับมือภาวะโลกร้อน เปิดรับฟังความเห็นผู้เกี่ยวข้อง ทั้งนักวิชาการ ประชาชาชน ชุมชน หลังเดินสายจัดประชุมระดมความคิดเห็นในส่วนภูมิภาค สงขลา-เชียงใหม่-ขอนแก่น ประสบผลสำเร็จ วุฒิพงศ์ ฉายแสง หวังร่างเป็นมาตรการเสนอรัฐบาลจัดทำนโยบายเผยแพร่สู่สาธารณชน |
. |
นาย
|
. |
"ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาระดับโลก ทุกประเทศต่างก็ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ซึ่งแม้เราจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างหนักเหมือนประเทศเพื่อนบ้าน แต่เราก็นิ่งนอนใจไม่ได้ เพราะขณะนี้มีสัญญาณเตือนจากธรรมชาติหลายอย่าง เช่น ภาวะขาดแคลนน้ำอย่างหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดใหญ่ ภาวะน้ำท่วมที่รุนแรงขึ้นทุกปี หรือว่าล่าสุดที่มีการคาดการณ์ว่า อาจะเกิด Storm Surge ในบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย ดังนั้น ทุกภาคส่วนในประเทศไทยควรจะตระหนักและให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะโลกร้อนให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข และรับมือกับสภาวการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ" นายวุฒิพงศ์ฯ กล่าว |
. |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกล่าวเพิ่มเติมว่า "ในส่วนของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้พัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนอยู่ไม่น้อย เช่น การพัฒนาพันธุ์พืชทนแล้งและน้ำท่วมเพื่อช่วยในการปรับตัวของพืชและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็ม การจัดทำแผนที่นำทางทางด้านพลังงานชีวภาพ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อย มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ การพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้เกิดการสร้างแหล่งพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น" |
. |
การประชุมสมัชชาครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนทั่วไป ได้มีส่วนร่วมในเวทีการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนา และเผยแพร่ความรู้และแนวทางการรับมือกับภาวะโลกร้อนสู่สาธารณชนต่อไป |
. |
การประชุมในส่วนกลางจะจัดขึ้นวันที่ 17 กันยายน 2551 ณ อิมแพ็ค เมืองธานี โดยพิธีเปิดได้เรียนเชิญนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.
|
"ขณะนี้ได้รับการตอบรับจากนักวิชาการ ผู้ประกอบการ และประชาชนที่ให้ความสนใจลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการประชุมแล้วจำนวนมาก ซึ่งภายในงานจะมีการจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 "คาร์บอนเครดิตกับโอกาสของภาคเอกชนไทย" กลุ่มที่ 2 "การใช้พลังงานในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ” และกลุ่มที่ 3 "การใช้พลังงานในภาคการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ และยังจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาภาวะโลกร้อน และแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากหน่วยงานในกระทรวงฯ" |
. |
ที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้ดำเนินการจัดการประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 7 ในส่วนภูมิภาค ใน 3 จังหวัด ได้แก่ ครั้งที่ 1 ภาคใต้ (จังหวัดสงขลา) เรื่อง “ภาวะโลกร้อนกับผลกระทบชายฝั่งและโอกาสของพลังงานชีวภาพ” ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) เรื่อง "ภาวะโลกร้อนและการใช้ประโยชน์จากป่าเศรษฐกิจ" และครั้งที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดขอนแก่น) เรื่อง "ภาวะโลกร้อนกับการจัดการลุ่มน้ำและพืชเศรษฐกิจ" |
. |
ได้รับการตอบรับอย่างดีจากกลุ่มนักวิชาการ ภาคการผลิต ข้าราชการ รวมถึงประชาชนทั่วไปเข้าร่วมประชุมจำนวนมาก ซึ่งได้ช่วยกันระดมความคิดเห็นและร่วมสร้างความเข้าใจในปัญหา เพื่อเป็นแรงกระตุ้นในการสร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาภาวะโลกร้อน และนำไปสู่การร่วมกันกำหนดแนวทางรับมือต่อปัญหาวิกฤติโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป |