เนื้อหาวันที่ : 2008-08-25 10:41:46 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1156 views

สศค.คาดเงินเฟ้อครึ่งหลังยังพุ่ง 7.5% แม้ราคาน้ำมันปรับลง-6มาตรการรัฐหนุน

ภาวะเศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 2551 จะขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 5.9 ต่อปี โดยตัวเลข GDP ของไตรมาส 2 ปี 2551 จะประกาศโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ในวันจันทร์ที่ 25 สิงหาคมนี้ อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปีที่เร่งขึ้นถึงร้อยละ 6.3 ต่อปี ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย

นา พรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 2551 จะขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 5.9 ต่อปี โดยตัวเลข GDP ของไตรมาส 2 ปี 2551 จะประกาศโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ในวันจันทร์ที่ 25 สิงหาคมนี้ อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งแรกของปีที่เร่งขึ้นถึงร้อยละ 6.3 ต่อปี ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย

.

แต่สศค. คาดว่าจะชะลอจากครึ่งปีแรกโดยคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.3 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในครึ่งปีหลังอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7.5 ต่อปี ปรับลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้เดิมเมื่อเดือนมิถุนายน 2551 เนื่องจากรัฐบาลได้ออกมาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคน ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมาจะช่วยชะลอภาวะเงินเฟ้อได้บ้าง

.

ทั้งนี้  การขยายตัวของเศรษฐกิจได้อานิสงส์จากการกระจายการส่งออกไปยังตลาดเกิดใหม่ที่มีอัตรา  การขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง อาทิ  จีน อินเดีย  ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก และแอฟริกา รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งช่วยลดผลกระทบทางลบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นได้พอสมควร

.

นอกจากนี้ การที่เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นทำให้การบริโภคภายในประเทศในช่วงครึ่งปีหลังชะลอลงไม่มากนัก ในขณะเดียวกันการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลได้ช่วยลดผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้น เช่น มาตรการลดภาษีเพื่อคืนเงินกลับกระเป๋าประชาชน มาตรการเงินทุนฐานราก มาตรการขึ้นค่าจ้างเงินเดือน มาตรการประกันราคาข้าว รวมถึงมาตรการ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคน 

.

รวมทั้ง การที่ภาครัฐเน้นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ (Mega Project) เช่น รถไฟฟ้า รถไฟฟ้ารางคู่ และระบบชลประทานจะช่วยสนับสนุนการลงทุนในประเทศมากขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจไทยก็ยังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีความผันผวนมากในปัจจุบัน  ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่เกิดจากปัญหาซับไพร์มในสหรัฐ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย และปัญหาการเมืองซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ