สถานการณ์น้ำมันในช่วงขาลงช่วยลดแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา แต่การทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น นอกจากทิศทางน้ำมันช่วงขาลงแล้ว คงเป็นเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า รัฐบาลจะยังไม่ปรับเปลี่ยนแนวทางของ 6 มาตรการ 6 เดือน โดยเฉพาะมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน เพราะยังไม่แน่ใจในเสถียรภาพราคาน้ำมัน รวมทั้งประเด็นทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไปก่อน |
. |
แม้ก่อนหน้านี้ราคาน้ำมันยังมีทิศทางในช่วงขาลง แต่เมื่อวานนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังก็ปรับขึ้นไปราว 1 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล จึงยังไม่มีความชัดเจนว่าราคาน้ำมันจะมีทิศทางอย่างไรต่อไป ภาวะที่เกิดขึ้นทำให้รัฐบาลยังไม่แน่ใจในสถานการณ์ราคาน้ำมัน |
. |
"หากมีการปรับเปลี่ยนนโยบายที่กำหนดไว้อาจทำให้เกิดความสับสน ดังนั้น 6 มาตราการ 6 เดือนยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะภาษีน้ำมัน หากราคาน้ำมันยังไม่ชัดเจนเรื่องเสถียรภาพราคา จึงขอให้ติดตามสถานการณ์ต่อไปก่อน ขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ" นพ.สุรพงษ์ กล่าว |
. |
ส่วนกรณีที่เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 9 เดือน มองในแง่ดีคือการส่งออกดีขึ้น แต่รัฐบาลไม่ได้คาดหวังให้บาทอ่อนเพื่อเป็นกลไกส่งเสริมการขยายตัวภาคส่งออก และการที่บาทอ่อนค่าจะทำให้มูลค่าการนำเข้าน้ำมันสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนที่มาจากราคาน้ำมันได้ "ตอนนี้ยังไม่ถึงจุดความสมดุลหรือเสถียรภาพ ทั้งในเรื่องราคาน้ำมันและเรื่องอื่น ๆ เรายังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป"นพ.สุรพงษ์ กล่าว |
. |
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์น้ำมันในช่วงขาลงช่วยลดแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา แต่การทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น นอกจากทิศทางน้ำมันช่วงขาลงแล้ว คงเป็นเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น รัฐบาลเองก็พยายามสร้างความเชือมั่น โดยเฉพาะการสร้างความชัดเจนโครงการเมกะโปรเจ็คต์ |