สศอ.เผยราคาน้ำมันพุ่งพ่นพิษอุตฯก่อสร้างติดลบ หลังธุรกิจอสังหาฯซึม แนะผู้ประกอบการปรับตัวรับมือวิกฤตพลังงาน ชี้ดัชนีอุตฯ เม.ย. โดยรวมยังขยายตัว จากปีก่อน ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างได้รับผลกระทบอย่างหนักจากราคาน้ำมันที่ยังคงมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตวัสดุก่อสร้างแต่ละชนิดสูงขึ้น
สศอ.เผยราคาน้ำมันพุ่งพ่นพิษอุตฯก่อสร้างติดลบ หลังธุรกิจอสังหาฯซึม แนะผู้ประกอบการปรับตัวรับมือวิกฤตพลังงาน ชี้ดัชนีอุตฯ เม.ย. โดยรวมยังขยายตัว จากปีก่อน |
. |
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือโอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อุตสาหกรรมบางกลุ่มที่ใช้พลังงานมาก เช่น อุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ปูนขาวและปูนปลาสเตอร์ อุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทาง และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค มีการขยายตัวที่ติดลบเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน |
. |
ดร.อรรชกา กล่าวว่า การผลิตปูนซีเมนต์ ปูนขาวและปูนปลาสเตอร์ มีภาวะการผลิตและการจำหน่ายที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.4 และร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปรับลดลงในเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้นการจำหน่ายปูนซีเมนต์ชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เพียงชนิดเดียวที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่อยู่ในภาวะชะลอตัวจากปีก่อนอย่างต่อเนื่อง |
. |
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล |
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หรือโอไออี กระทรวงอุตสาหกรรม |
. |
โดยในปัจจุบันภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างได้รับผลกระทบอย่างหนักจากราคาน้ำมันที่ยังคงมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตวัสดุก่อสร้างแต่ละชนิดสูงขึ้น โดยราคาวัสดุก่อสร้างในเดือนเมษายนปี 2551 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 18.1 และเทียบในช่วง 4 เดือนแรกของปีก่อน ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 14.9 |
. |
ซึ่งกระทบต่อเนื่องไปยังกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง ทั้งค่าจ้างแรงงานที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผู้รับเหมารายย่อยทิ้งงานไปหลายราย และการประมูลงานราชการก็เริ่มชะลอตัวลง เพราะผู้รับเหมาไม่กล้ารับงานโดยเฉพาะงานโครงสร้าง เพราะต้นทุนเหล็กสูงขึ้นมากกระทบกับโครงการเมกะโปรเจ็กต์ของภาครัฐก็ยังไม่ดำเนินการ เช่นเดียวกับโครงการการก่อสร้างบ้านที่อยู่อาศัยก็เริ่มชะลอตัว |
. |
จากปัจจัยของต้นทุนการผลิตที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ภายในประเทศอยู่ในภาวะซบเซาการผลิตกระเป๋าเดินทาง ดัชนีผลผลิตยังคงติดลบกว่าร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยยังคงมีสาเหตุจากบริษัทแม่จากต่างชาติที่เข้ามาตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทยได้ปิดตัวลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูง อีกทั้งยอดการจำหน่ายลดลงอย่างต่อเนื่อง |
. |
การผลิตผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค ภาวะการผลิตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีการปรับตัวลดลง ร้อยละ 4.3 เนื่องจากราคาสารเคมีที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตมีราคาปรับตัวสูงขึ้นจากเดิมเกือบ 2 เท่า จากการปิดตัวของโรงงานผลิตสารเคมีเกือบร้อยละ 90 ในประเทศจีน ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตสารเคมีรายใหญ่ของโลก ทำให้วัตถุดิบขาดตลาดทั่วโลก โดยเฉพาะสารเคมีที่ต้องนำมาใช้ในการผลิตยาปฏิชีวนะจำพวกเพนนิซิลิน ทั้งวัตถุดิบในประเทศบางตัวก็มีการปรับราคาสูงขึ้นเช่นกัน |
. |
และคาดว่าในช่วงไตรมาสที่ 2-4 ภาวะอุตสาหกรรมยายังไม่มีแนวโน้มสดใสเท่าใดนัก เนื่องจากต้องประสบปัญหาเรื่องต้นทุนน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นมาก ทั้งผลิตภัณฑ์ยายังเป็นสินค้าควบคุม ทำให้ไม่สามารถปรับราคาจำหน่ายได้ และจากมาตรการ GMP ที่เข้มงวดมาก ทำให้โรงงานมีต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นมาก ทั้งยังประสบปัญหาเรื่องแรงงานที่หายาก จะเห็นได้ว่าจากวิกฤตพลังงานที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมไทย ผู้ประกอบการคงต้องปรับตัวหันมาใส่ใจการประหยัดพลังงานอย่าริงจัง เพื่อลดต้นทุนให้แก่ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น" ดร. อรรชกา กล่าว |
. |
อย่างไรก็ตาม แม้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะซบเซา เนื่องจากปัจจัยลบต่างๆที่มีรอบด้าน แต่ในภาพรวมของดัชนีอุตสาหกรรมไทยยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีอุตสาหกรรมเดือนเมษายน ขยายตัวร้อยละ 11.72 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการส่งออกที่ยังขยายตัวได้ดีและการบริโภคภายในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อการขยายตัวที่สำคัญคือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ( Hard Disk Drive) อุตสาหกรรมยานยนต์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป |
. |
ดร.อรรชกา กล่าวอีกว่า สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนเมษายนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 168.86 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.72 จาก 151.15 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 169.97 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.48 จาก 151.11 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 169.14 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.35 จาก 149.22ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 175.96 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.44 จาก 171.76 |
. |
ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 199.01 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.08 จาก 172.94 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 107.65 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.49 จาก 106.07 และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 146.61 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.06 จากระดับ 138.23 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 61.12 |