ระบบโลจิสติกส์ กำลังกลายเป็นแนวรบใหม่ทางการค้าของธุรกิจแทบทุกประเภท ที่เข้ามามีบทบาทและเกี่ยวข้องกับช่องทางการจัด
สภาพการแข่งขันที่นับวันจะทวีความรุนแรงและผันผวนมากขึ้นในปัจจุบัน เมื่อพิจารณาตามส่วนผสมการตลาด พบว่าความสามารถในการสร้างความแตกต่างของสินค้ากลับไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร เพราะความหลากหลายของสินค้าที่ออกสู่ตลาด รวมถึงการแข่งขันด้านราคา กลับส่งผลเสียต่อผู้ผลิตในตลาดทั้งหมด ส่วนการส่งเสริมการตลาดได้มีการพัฒนาจนไม่สามารถสร้างความได้เปรียบในการค้ามากนัก |
. |
ขณะที่ช่องการจัดจำหน่ายยังเป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจเดียวที่ดูเหมือนว่าจะสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างไม่สิ้นสุด เนื่องจากหากผู้ประกอบการมีระบบช่องทางการจัดจำหน่ายที่ดี จะช่วยเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายสินค้ามากขึ้น ช่องทางการจัดจำหน่าย กำลังกลายเป็นแนวรบใหม่ทางการค้าของธุรกิจแทบทุกประเภท โดยมีระบบที่เข้ามามีบทบาทและเกี่ยวข้องกับช่องทางการจัดจำหน่ายคือ ระบบโลจิสติกส์ (Logistics) |
. |
โลจิสติกส์ คือระบบบริหารการสั่งซื้อ การจัดเตรียมวัตถุดิบ การเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัตถุดิบสินค้าระหว่างการผลิต และสินค้าสำเร็จรูป รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากจุดกำเนิดสินค้า ผ่านขั้นตอนการผลิตและการกระจายสินค้าไปยังลูกค้าในเวลาที่เหมาะสม ตลอดจนการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล โดยวัตถุประสงค์การทำงานในทุกขั้นตอนเพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า เพิ่มกำไร ลดต้นทุน เป็นหัวใจหลัก |
. |
การใช้โลจิสติกส์ พบว่าระบบนี้ไม่ได้หมายถึงการขนส่งสินค้าไปยังผู้รับที่รวดเร็วเพียงอย่างเดียว แต่โลจิสติกส์ยังมีหน้าที่ประสานกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อเชื่อมโยงประโยชน์ระหว่างขั้นตอนต่างๆ ทางธุรกิจที่ได้ร่วมมือกันอยู่ภายใต้ห่วงโซ่อุปทานเดียวกัน โดยโลจิสติกส์จะเน้นที่การจัดซื้อสินค้า ควบคุมสินค้าคงคลังและการขนส่งสินค้าเป็นหลัก ในการนำระบบโลจิสติกส์ไปใช้ในธุรกิจของแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกันบ้าง ตามขั้นตอนการดำเนินงานและแนวทางธุรกิจที่ต่างกัน ซึ่งมีการทำงานของโลจิสติกส์หลักที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับธุรกิจทุกประเภทได้ |
. |
โดยผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้จักและสามารถอธิบายทุกขั้นตอนการทำงานแต่ละขั้นตอนไปจนถึงการไหลเชื่อมโยงกันทั้งระบบ เพื่อนำมาออกแบบระบบโลจิสติกส์ของตนออกมาเพื่อดูว่าช่องโหว่ของระบบการทำงานที่ทำให้สูญเสียต้นทุนคืออะไรและจะป้องกันหรือพัฒนาระบบไปได้อย่างไร รวมถึงทำให้ทราบว่าควรพัฒนาขั้นตอนการทำงานใดก่อนหลัง โดยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของโลจิสติกส์ 3 ส่วนหลักคือ การสั่งซื้อ การบริหารสินค้าคงคลัง และการบริหารการขนส่งและจัดส่งสินค้า |
. |
การสั่งซื้อเป็นจุดเริ่มต้นของระบบโลจิสติกส์ เป้าหมายสำคัญในการปรับปรุงระบบสั่งซื้อของ โลจิสติกส์คือ การซื้อวัตถุดิบในราคาและคุณภาพที่เหมาะสมรวมถึงจัดส่งได้ทันเวลาที่กำหนดจาก ซัพพลายเออร์ที่น่าเชื่อถือ หลายครั้งในการจัดระบบการสั่งซื้อที่ไม่มีประสิทธิภาพทำให้เงินที่ลงทุนหดหายไปอย่างน่าเสียดาย การพิจารณาเบื้องต้นเพื่อดำเนินการจัดระบบการสั่งซื้อที่ผู้ประกอบการควรทราบกระบวนการในภาพรวมของขั้นตอนการสั่งซื้อเพื่อนำมาประกอบเป็นฐานข้อมูลจัดระบบ |
. |
โดยการสั่งซื้อสินค้าจะเกิดขึ้นเมื่อวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าในคลังสินค้ากำลังจะลดลงในเกณฑ์ที่กำหนด จึงทำการวางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ การกำหนดซัพพลายเออร์ที่สั่งซื้อนั้นในแต่ละครั้งผู้ประกอบการอาจคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่มีเงื่อนไขการค้าต่างๆ จากการทำเป็นแฟ้มข้อมูลซัพพลายเออร์เพื่อสะดวกในการคัดเลือกและสามารถตรวจสอบการสั่งซื้อแต่ละครั้งว่าซัพพลายเออร์นำส่งสินค้าครบตามจำนวน ได้ตามราคา คุณภาพ หรือสินค้าเสียหายมากขนาดไหน |
. |
นอกจากนี้ข้อมูลสำรองผู้ขาย สามารถช่วยในการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจจะเกิด อาทิ ซัพพลายเออร์เจ้าประจำไม่สามารถจัดหาสินค้าได้ทันตามกำหนด หรือราคาขณะนี้ปรับตัวสูงขึ้นกว่าเดิมหรือเลิกผลิตวัตถุดิบชนิดนี้แล้วเนื่องจากไม่คุ้มทุนและมีผู้สั่งซื้อน้อย ผู้ประกอบการอาจเลือกซัพพลายเออร์สำรองจากแฟ้มข้อมูลซัพพลายเออร์ได้ ขั้นตอนการจัดทำใบสั่งซื้อสินค้า เมื่อกำหนดปริมาณ ราคาและคุณภาพวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ที่กำหนดได้แล้ว |
. |
ผู้ประกอบการจะทำการออกใบสั่งซื้อไปยังซัพพลายเออร์ เพื่อทำการขนส่งสินค้าตามกำหนด ผู้ประกอบการควรทำการเช็คปริมาณ คุณภาพสินค้าว่าตรงตามที่สั่งซื้อหรือไม่ มีสินค้าเสียหายมากน้อยขนาดไหน หากมีสินค้าที่เสียจะทำการส่งคืนสินค้ากลับไปกับรถขนส่งทันที ผู้ประกอบการควรนำข้อมูลจากการสั่งซื้อแต่ละครั้งมาจัดทำการติดตามผลและปรับปรุงระบบการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อค้นหาข้อผิดพลาดจากการทำงานหรือตรวจสอบขั้นตอนการทำงานที่วางไว้ว่าเป็นไปตามที่กำหนดหรือไม่ |
. |
สินค้าคงคลัง เป็นการวางแผน จัดการและควบคุมสินค้าและวัตถุดิบทั้งหมดที่มีอยู่และที่จะมีอยู่ต่อไปในอนาคต ก่อนนำไปเข้าสู่กระบวนการผลิต เพื่อใช้ในองค์กรหรือจำหน่ายตามความต้องการต่อไป โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการประหยัดทั้งในส่วนเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บและการเคลื่อนย้าย ซึ่งการบริหารสินค้าคงคลังมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการวางแผนการสั่งซื้อสินค้า หากผู้ประกอบการสามารถจัดการสินค้าคงคลังได้ด้วยการบริหารความต้องการของลูกค้า โดยที่ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องมีการเก็บสินค้าคงคลังไว้ให้น้อยที่สุด นั่นหมายถึงต้นทุนการผลิตย่อมลดลงด้วย |
. |
ขั้นตอนสุดท้ายก่อนสินค้าและบริการจะไปถึงมือผู้บริโภค คือ ขั้นตอนการขนส่งและการจัดส่งสินค้า ซึ่งต้องกำหนดประเภทสินค้าและปริมาณให้เหมาะสมกับวิธีการขนส่งแต่ละประเภท เพื่อนำมาสร้างแผนงานและกำหนดขั้นตอน เช่น สร้างแผนความต้องการขนส่ง การเลือกผู้ให้บริการขนส่ง การจัดทำแบบฟอร์มประเมินผลผู้ให้บริการ การเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน และอีกสิ่งที่ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงคือบุคลากรที่จะต้องชี้แจงให้เห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรและพนักงานร่วมกัน ซึ่งบางครั้งผู้ประกอบการอาจขาดความรู้และ |
. |
ประสบการณ์ในการนำไปประยุกต์และเข้าใจวิธีการทำงาน โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหม่ อาจปรึกษาหรือขอข้อมูลจาก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มหาวิทยาลัยต่างๆ กลุ่มโลจิสติกส์เพื่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม |
. |
ที่มา : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม |