UTCC Hybrid learning เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการสอนในชั้นเรียน (Face-to-Face) กับการสอนแบบ e-Learning โดยนำส่วนที่ดีที่สุด (Best features) ของการสอนทั้งสองแบบมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
ในปีการศึกษา 2550 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.จีรเดช อู่สวัสดิ์ ได้มีนโยบายในการปรับกระบวนทัศน์ใหม่ในการการสอน (Teaching paradigm) จากการสอนที่เน้นการบรรยาย (Lecture) ที่ผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียนแต่เพียงผู้เดียว มาเป็นการสอนแบบ Hybrid ที่เน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ในการเรียน (Interactive learning) ระหว่างผู้เรียนด้วยกันหรือผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรมการเรียนการสอนมาสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Active learning) |
. |
UTCC Hybrid learning เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการสอนในชั้นเรียน (Face-to-Face) กับการสอนแบบ e-Learning โดยนำส่วนที่ดีที่สุด (Best features) ของการสอนทั้งสองแบบมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน กล่าวคือ |
. |
e-Learning จะเอื้อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าบทเรียนที่ผู้สอนนำไป uploadไว้บน website ได้ตลอดเวลา ทุกสถานที่ และตามศักยภาพที่ผู้เรียนพึงมี ทำให้เกิดการเรียนรู้ในสภาพที่เป็น พลวัต (Dynamic learning environment) โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปช่วยในระบบการจัดการเรียน (Learning management system: LMS) การทดสอบ (Quiz or Test) รวมทั้งการสร้าง Interactive learning โดยใช้ Web board หรือ Chat room ในการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือใช้ Web blog ในการแสวงหาและเชื่อมโยงความรู้ |
. |
Face-to-face teaching ในระบบ UTCC Hybrid เน้นการสอนเนื้อหาที่เป็น "Why" and "How" ที่ผู้สอนจะต้องออกแบบบทเรียนและจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนและเรียนรู้ร่วมกัน โดย การคิดวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น อภิปราย แสวงหาความรู้ และใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา วิธีการสอนสมัยใหม่ที่เน้นการมีส่วนร่วมและทำให้ผู้เรียนสามารถต่อยอดความรู้ด้วยตนเอง ได้แก่ การสอนแบบอภิปราย (Discussion) กรณีศึกษา (Case study) การสอนแบบแก้ปัญหา (Problem solving) การทดลอง (Experiment) และการฝึกปฏิบัติ (Practice) เป็นต้น |
. |
การผสมผสานระหว่าง e-Learning และ Face-to-face teaching ทำให้เกิด Interactive learning ที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนากระบวนการคิด ความสามารถในการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ การทำงานเป็นทีม การเรียนรู้ร่วมกัน และการสร้างความรู้ใหม่ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลโลก (Global citizen) ที่สามารถดำรงตนในโลกศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จ |