โกลว์ ขยายกำลังการผลิตพร้อมเดินหน้าเป็นธุรกิจโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่หรือธุรกิจผลิตไฟฟ้าและไอน้ำร่วมกัน ทั้ง 3 โครงการใหม่นี้ถือว่าเป็นการลงทุนครั้งสำคัญของบริษัท โดยในอีก 3 ปีข้างหน้าโกลว์จะมีการลงทุนทั้งสิ้นมากกว่า 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ
โกลว์ ขยายกำลังการผลิตพร้อมเดินหน้าเป็นธุรกิจโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่หรือธุรกิจผลิตไฟฟ้าและไอน้ำร่วมกัน ทั้ง 3 โครงการใหม่นี้ถือว่าเป็นการลงทุนครั้งสำคัญของบริษัท โดยในอีก 3 ปีข้างหน้าโกลว์จะมีการลงทุนทั้งสิ้นมากกว่า 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ |
. |
บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) แจ้งผลประกอบการสำหรับครึ่งปีแรก 2551 โดยมีรายได้รวม 16,697 ล้านบาท กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายภาษีเงินได้และค่าเสื่อม ("EBITDA") จำนวน 4,066 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิก่อนรวมกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่รับรู้ ("NNP") จำนวน 2,139 ล้านบาท |
. |
นายปีเตอร์ เทอร์โมท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทโกลว์ |
. |
นายปีเตอร์ เทอร์โมท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทโกลว์ กล่าวว่า "ในครึ่งปีแรกบริษัทมีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้และค่าเสื่อม (EBITDA) ลดลงร้อยละ 7.4 และกำไรสุทธิก่อนรวมกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่รับรู้ (NNP) ลดลงร้อยละ 5.1 สืบเนื่องจากปัจจัยลบทางเศรษฐกิจ โดยตั้งแต่ต้นปีมานี้ราคาค่าไฟมิได้สะท้อนถึงต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นมากนัก ทำให้บริษัทมีกำไรลดลงจากเหตุนี้ประมาณ 360 ล้านบาท |
. |
นอกจากนั้นในปีนี้เงินบาทได้แข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 7.62 ส่งผลต่อกำไรของบริษัทให้ลดลงอีกราว 160 ล้านบาท ทั้งนี้ยังคงมีปัจจัยบวกที่สำคัญนั้นคือปีนี้บริษัทได้มีแผนการลดต้นทุนประเภทต่างๆเพิ่มเติม เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานและผลประกอบการให้ดีขึ้นในปีนี้และต่อไปในอนาคตด้วย" |
. |
นายปีเตอร์ เทอร์โมท กล่าวต่อไปว่า "สำหรับธุรกิจผลิตไฟฟ้าและไอน้ำร่วมกัน (Cogeneration) บริษัทยังคงเติบโตไปอย่างมั่นคงด้วยยอดจำหน่ายไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 และยอดจำหน่ายไอน้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ซึ่งปัจจุบันยอดการจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นยังไม่ส่งผลต่อกำไรของบริษัทมากนัก เนื่องมาจากการผลิตยังคงมีต้นทุนการผลิตที่สูงจนกว่าโครงการขยายโรงไฟฟ้า 115 เมกะวัตต์จะเริ่มเปิดดำเนินการในสิ้นปี 2552 นี้ |
. |
ทั้งนี้จนถึงปัจจุบันนอกเหนือจากสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) จำนวน 74 เมกกะวัตต์แล้ว บริษัทยังได้ลงนามในสัญญากับกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมสำหรับการจำหน่ายไฟฟ้ากำลังการผลิตรวม 152 เมกะวัตต์ และการจำหน่ายไอน้ำ 358 ตันต่อชั่วโมง ซึ่งยอดขายทั้งหมดคาดว่าจะเริ่มจำหน่ายได้ภายในปี 2553-2554 นี้" |
. |
แผนการขยายโครงการขนาดใหญ่ยังคงเดินหน้าต่อไป |
ธุรกิจโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) |
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2551 บริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างกลุ่มบริษัทโกลว์ และบริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นหนังสือสัญญาบอกกล่าวให้เริ่มการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) แห่งที่ 2 โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 40 เดือนจึงแล้วเสร็จ พร้อมเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในเดือนพฤศจิกายน 2554 โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่นี้ได้ลงทุนในอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อช่วยการปล่อยมลสารและการเผาผลาญเชื้อเพลิงให้อยู่ในปริมาณต่ำ |
. |
อีกทั้งยังช่วยลดระดับมลสาร (NOX-SOX) ในเขตชุมชนให้ลดลง โครงการนี้เป็นโครงการที่สำคัญของประเทศที่ช่วยลดระดับการพึ่งพาพลังงานก๊าซธรรมชาติลง และการจำหน่ายไฟฟ้าในราคาที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เป็นเชื้อเพลง ทั้งนี้บริษัทได้ตกลงสัญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้วและคาดว่าจะลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับ กฟผ. ภายในเร็วๆนี้ |
. |
ธุรกิจผลิตไฟฟ้าและไอน้ำร่วมกัน (Cogeneration) |
ในขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2551 โกลว์ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวให้เริ่มการก่อสร้างแก่ผู้รับเหมาสำหรับโครงการขยายโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนและไอน้ำร่วมแห่งใหม่ ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง กำลังการผลิต 382 เมกะวัตต์เทียบเท่า ซึ่งโครงการนี้ได้รับการยืนยันการซื้อขายไฟฟ้าแล้วประมาณร้อยละ 70 ของกำลังการผลิต โดยโครงการนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการขยายอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 3 |
. |
และบริษัทเชื่อมั่นว่าจะสามารถทำสัญญากับลูกค้าสำหรับกำลังการผลิตที่เหลืออยู่ร้อยละ 30 ได้ก่อนการดำเนินการเชิงพาณิชย์ในไตรมาส 3 ของปี 2554 นอกจากนี้สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน CFB3 กำลังการผลิต 115 เมกะวัตต์ ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้างนั้น ขณะนี้สามารถตกลงทำสัญญากับลูกค้าได้ทั้งหมดแล้ว |
. |
นายปีเตอร์ เทอร์โมท กล่าวว่า "สำหรับแผนการขยายกำลังการผลิตของบริษัทยังคงเดินหน้าต่อไป ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) หรือธุรกิจผลิตไฟฟ้าและไอน้ำร่วมกัน ซึ่งทั้ง 3 โครงการใหม่นี้ถือว่าเป็นการลงทุนครั้งสำคัญของบริษัท โดยในอีก 3 ปีข้างหน้าโกลว์จะมีการลงทุนทั้งสิ้นมากกว่า 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือประมาณ 60,000 ล้านบาท) ซึ่งจากการประสานประโยชน์ร่วมกันนี้ การขยายโครงการจะก่อให้เกิดผลกำไรที่สูงขึ้นและจะส่งผลให้รายได้บริษัทขยับขึ้นสู่ระดับใหม่ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป" |
. |
ทั้งนี้ต้นทุนการก่อสร้างของโครงการ CFB 3 กำลังการผลิต 115 เมกะวัตต์ และ โครงการขยายโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนและไอน้ำร่วมแห่งใหม่ กำลังการผลิต 382 เมกะวัตต์เทียบเท่า ซึ่งรวมถึงการลงทุนในส่วนของระบบจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำนั้น จะมีมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 725 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) โกลว์จะใช้เงินลงทุนเพียง 225 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงระหว่างปี 2553-2554 เท่านั้น |
. |
นายสุทธิวงศ์ คงสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายการเงิน กล่าวเพิ่มเติมว่า "โกลว์มั่นใจว่าบริษัทยังคงมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่เพียงพอต่อการขยายการโครงการทั้งหมดในประเทศไทย ดังนั้นจึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มทุนในขณะนี้ โดยบริษัทจะใช้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานและการกู้ยืมเงินซึ่งจะเพียงพอสำหรับโครงการดังกล่าว ในขณะที่การจ่ายเงินปันผลจะยังคงเป็นไปดังเช่นที่ผ่านมา" |