กรีนพีซรณรงค์หน้าโรงแรมอินเตอร์คอนทิเนนทัลในกรุงเทพฯ สถานที่ประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน (AMEM) กระตุ้นผู้นำและเจตจำนงทางการเมือง ประเทศสมาชิกติดกับอยู่ในวงจรอุบาทว์แห่งเชื้อเพลิงฟอสซิลและเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่สกปรก อันตราย และ ราคาแพง
. |
อาสาสมัครกรีนพีซรณรงค์หน้าโรงแรมอินเตอร์คอนทิเนนทัลในกรุงเทพฯ สถานที่ประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน (AMEM) โดยใช้ข้อความ "อาเซียน ก้าวสู่การปฏิวัติพลังงาน" กรีนพีซกระตุ้นให้รัฐมนตรีพลังงานอาเซียนแสดงความเป็นผู้นำและเจตจำนงทางการเมือง โดยมีพันธะสู่อนาคตแห่งพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด แทนที่จะทำให้ประเทศสมาชิกติดกับอยู่ในวงจรอุบาทว์แห่งเชื้อเพลิงฟอสซิลและเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่สกปรก อันตราย และ ราคาแพง |
. |
"จากแถลงการณ์ล่าสุดของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าข้อสรุปจากการประชุมดังกล่าวขาดวิสัยทัศน์ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและพลังงานในภูมิภาค ที่สำคัญ อาเซียนยังขาดความตั้งใจจริงที่จะแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเร่งด่วน หากการตัดสินใจของเหล่าผู้นำในการประชุมครั้งนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ทิศทางการเผชิญภัยคุกคามจากสิ่งแวดล้อม เราคงตกอยู่ในวังวนของภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และอนาคตของพลังงานสกปรกที่มีราคาแพง" นายธารา บัวคำศรี ผู้ประสานงานฝ่ายรณรงค์ ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว |
. |
ผลสรุปจากการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนคือข้อเสนอให้มีการใช้พลังงานนิวเคลียร์ อันเป็นสมมติฐานที่มิอาจยอมรับได้ในภูมิภาค ซึ่งมีทั้งความผันผวนทางการเมืองและความไม่มั่นคงของธรณีวิทยามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่ารัฐมนตรีพลังงานอาเซียนมีความเข้าใจที่จำกัดในเรื่องอันตรายของนิวเคลียร์ และไม่คำนึงถึงความเป็นอยู่ของผู้คนในภูมิภาค |
. |
"ผลกำไรทางธุรกิจไม่ใช่ทางเลือกที่ยั่งยืนของคนรุ่นอนาคต แต่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่างหากที่เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง ในปี 2593 ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า รัฐมนตรีพลังงานอาเซียนควรพิจารณาข้อสรุปจากการประชุมอีกครั้ง แล้วหันไปพิจารณากฎหมายสนับสนุนการลงทุนด้านเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่ สะอาดและส่งเสริมผู้สนใจลงทุนในด้านนี้ นอกจากนี้ผู้นำประเทศในกลุ่มอาเซียนยังควรลดบทบาทการแทรกแซงจากภาครัฐ”นายแจสเปอร์ อินเวนเตอร์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซสากล |
. |
ประชาชนในภูมิภาคอาเซียนมีความเสี่ยงต่อการเผชิญผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ซ้ำร้ายกว่านั้น ผู้นำทางการเมืองของภูมิภาคนี้ยังคงตกอยู่ในมายาคติที่ลวงโลกว่า “ถ่านหินสะอาด” ทั้งยังผลักดันต้นเหตุของการทำลายสภาพภูมิอากาศโลกชนิดนี้อย่างเต็มที่ ซึ่งแท้จริงแล้ว ถ่านหินสะอาด เป็นเพียงคำกล่าวอ้างของอุตสาหกรรมถ่านหินเท่านั้น |
. |
. |
คำแถลงการณ์ของอาเซียนในเรื่องพลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพพลังงาน ยังคงห่างไกลจากความต้องการขั้นต่ำสุดในการที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ และการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้ อาเซียนยังขาดการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อพัฒนาศักยภาพพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในภูมิภาค |
. |
อาเซียนสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยการใช้ทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในภูมิภาคแห่งนี้ ซึ่งจะทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก้าวกระโดดจากยุคเชื้อเพลิงฟอสซิลอันสกปรกไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณต่ำ และ บรรลุเป้าหมายความมั่นคงทางพลังงานที่แท้จริง |
. |
"ผลกำไรทางธุรกิจไม่ใช่ทางเลือกที่ยั่งยืนของคนรุ่นอนาคต แต่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่างหากที่เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง ในปี 2593 ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า รัฐมนตรีพลังงานอาเซียนควรพิจารณาข้อสรุปจากการประชุมอีกครั้ง แล้วหันไปพิจารณากฎหมายสนับสนุนการลงทุนด้านเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและส่งเสริมผู้สนใจลงทุนในด้านนี้ นอกจากนี้ผู้นำประเทศในกลุ่มอาเซียนยังควรลดบทบาทการแทรกแซงจากภาครัฐ" นายแจสเปอร์ อินเวนเตอร์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซสากล กล่าว |
. |
พลังงานหมุนเวียนสามารถมีบทบาทและจะมีบทบาททวีมากขึ้นในอนาคตของระบบพลังงานโลก เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี ความมั่นคงทางการเมือง และ เศรษฐกิจ ขณะนี้ถึงเวลาลงมือทำเพื่ออนาคตแห่งพลังงานที่ยั่งยืนและมั่นคงอย่างแท้จริง รวมทั้งอนาคตที่อยู่บนฐานของเทคโนโลยีที่สะอาด การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และ การจ้างงานให้กับคนจำนวนนับล้าน |
. |