ทุ่มงบกว่า 80 ล้านเหรียญฯ บุกตลาดพลังงานทดแทนประเดิมสร้างโรงงานในกรุงเทพ และเชียงใหม่ เป็นฐานหลักในการผลิตไฟฟ้า คาดสามารถผลิตเริ่มต้นที่ 8.5 เมกกะวัตต์ พร้อมช่วยโลกลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย
. |
ทุ่มงบกว่า 80 ล้านเหรียญฯ บุกตลาดพลังงานทดแทนประเดิมสร้างโรงงานในกรุงเทพ และเชียงใหม่ เป็นฐานหลักในการผลิตไฟฟ้า คาดสามารถผลิตเริ่มต้นที่ 8.5 เมกกะวัตต์ พร้อมช่วยโลกลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย |
. |
บริษัท Sindicatum Carbon Capital หรือ SCC ผนึก GR-Tech บริษัทคนไทย บุกตลาดพลังงานทดแทนในไทย นำขยะและน้ำเสียมาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า เตรียมทุ่มงบลงทุนกว่า 80 ล้านเหรียญสหรัฐ ประเดิมสร้างโรงงานในกรุงเทพ และเชียงใหม่ เป็นฐานหลักในการผลิตไฟฟ้า คาดสามารถผลิตเริ่มต้นที่ 8.5 เมกกะวัตต์ พร้อมช่วยโลกลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย |
. |
มร.วิลเลี่ยม ไอ วาย เบียน ประธานบริหารส่วนพลังงานสะอาด(Representative Director Sindicatum Clean Energy), ของ บริษัท ซินดิเคตุม คาร์บอน แคปิตอล(Sindicatum Carbon Capital Limited) หรือ SCC เปิดเผยในงาน “Sindicatum-Thai Carbon Project Partnership” งานแถลงข่าวความร่วมมือและการลงทุนทางธุรกิจร่วมกับบริษัทในประเทศไทยว่า SCC เป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาโครงงานต้นกำเนิด และ นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อพลังงานสะอาดและโครงการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการลดธาตุคาร์บอนของโลก |
. |
โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และ มีการดำเนินธุรกิจด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมตามเมืองใหญ่ต่างๆทั่วโลก อาทิ ปักกิ่ง, ฮ่องกง, ,นิวเดลี,จาการ์ต้า และ ฮุสตัน ด้วยเทคโนโลยีในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะและน้ำเสีย ด้วยเทคโนโลยีและทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านพลังงานของบริษัทโดยเฉพาะ |
. |
ทั้งนี้บริษัทได้เล็งเห็นถึงปัญหามลภาวะทั้งเรื่องขยะและน้ำเสียที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศไทย จึงได้ร่วมกับบริษัท GR-Tech ซึ่งเป็นผู้เชียวชาญในการผลิตพลังงานทดแทนในประเทศไทย โดยโครงการแรกที่จะเริ่มดำเนินการ คือ โครงการบ่อขยะหรือ ซึ่งเคยสร้างปัญหาอย่างมากมายให้กับสภาพแวดล้อม ให้กลายเป็นแหล่งพลังงานทดแทน ที่มีค่ามหาศาล ทั้งยังสามารถช่วยลดปริมาณของก๊าซมีเธนอันเกิดจากการหมักหมมของขยะ และเป็นตัวการสำคัญของการเกิดภาวะเรือนกระจก นอกจากไประโยชน์ด้านพลังงานแล้วยังช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อย่างดี |
. |
. |
มร.แอนโทนี มูดี้ ประธานกรรมการ บริษัท ซินดิเคตุม เอเชีย เปิดเผยว่า SCC เป็นนักพัฒนาโครงการเกี่ยวกับพลังงานสะอาด และผู้ชำนาญในด้านการเพิ่มมูลค่าจากการทำลายก๊าซเรือนกระจก มูลค่าที่เพิ่มขึ้นนี้มาจากรูปแบบการก่อให้เกิดพลังงานกล, ความร้อน, และผลิตผลอื่น ๆ หรือ มาจากผลิตภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม เช่น ธาตุคาร์บอน หรือ การประยุกต์ใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพ |
. |
โครงการที่ SCC ได้ดำเนินการเมื่อเร็วๆ นี้ คือการจับการปล่อยพลังงานของก๊าซมีเทนจากก๊าซขยะมูลฝอย (หรือ LFG) หรือมีชื่อว่า “Mega-Landfills”เป็นโครงการที่สำคัญโครงการหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย การปล่อยพลังงานของก๊าซ |
. |
ที่จับได้จะถูกใช้เพื่อประโยชน์ในการสร้างพลังงาน ด้วยเหตุนี้ รายได้จากการสร้างพลังงาน และการอ้างความเชื่อถือใน Certified Emissions Reductions (หรือ CER) ผ่านการทำลายของก๊าซมีเทน ขยะมูลฝอยในกรุงเทพฯ มีประมาณ 5,000 ถึง 6,000 ตันของ Municipal Solid Waste (หรือ MSW) ทุกวัน และคาดว่าจะได้รับปริมาณของเสียอย่างนี้ต่อไปอีก 5 ถึง 7 ปี นอกจากนี้เรายังมีโครงการขยะมูลฝอย, โครงการกลั่นน้ำเสียเป็นก๊าซชีวภาพ, และโครงการปลูกพืชทดแทนพลังงานด้วยเศษไม้อีกด้วย |
. |
ทั้งนี้ SCC ได้ลงทุน 80 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการนำเทคโนโลยีที่สะอาดต่อโครงการกรุงเทพฯ และประสิทธิภาพในการสร้างพลังงานเริ่มต้นที่ 8.5 MW และ SCC คาดหวังที่จะสร้างผลเฉลี่ยเท่ากับ 658,000 CERs ต่อปีในระยะเวลาโครงการ 15 ถึง 21 ปี |
. |
นายพิรุณ ชินวัตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท GR-Tech จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านของการดำเนินธุรกิจพลังงานทดแทน ซึ่งเราจะนำเทคโนโลยีของ SCC นำก๊าซมีเทนจากขยะ ซึ่งสร้างปัญหาอย่างมากมายให้กับสภาพแวดล้อมภายในประเทศ ให้กลายเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่มีค่ามหาศาล โดยบริษัทจะเริ่มลงทุนในการก่อสร้างโรงงานในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะ และน้ำเสีย 2 แห่งก่อนคือ กรุงเทพมหานคร และ เชียงใหม่ ซึ่ง มีปริมาณขยะอยู่เป็นจำนวนมาก แค่เพียงจังหวัดเชียงใหม่ สำรวจพบว่ามีปริมาณขยะเฉลี่ย 500 ตันต่อวัน ส่วนในกรุงเทพฯ มีปริมาณขยะเกิดขึ้นประมาณ 10,000 ตันต่อวัน |
. |
"เรามองว่าในปัจจุบันขยะส่วนใหญ่มีกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ ซึ่งก็เป็นการกำจัดขยะที่ถูกสุขาภิบาล แต่ต้องมีการดูแลรักษาอย่างดี และหากดูแลรักษาไม่ดีก็อาจจะก่อให้เกิดผลกระต่อสิ่งแวดล้อมตามมาอย่างมากมายได้ เช่น น้ำเน่าเสียของขยะจะปนเปื้อนในดิน และมีโอกาสไหลลงสู่แหล่งน้ำใกล้เคียงได้ และที่สำคัญการหมักหมมของขยะมูลฝอยจะก่อให้เกิดก๊าซชีวภาพจำพวกมีเทน ซึ่งก๊าซเหล่านี้เมื่อลอยสู่ชั้นบรรยากาศจะก่อให้เกิดปัญหาก๊าซเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน" นายพิรุณ กล่าว |
. |
นายพิรุณ กล่าวต่อว่า ทาง GR-Tech ได้เห็นช่องทางของตลาดในการเปลี่ยนสิ่งปฏิกูลที่ไม่มีมูลค่ากลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยเปลี่ยนขยะมาเป็นพลังงานทดแทน โดยการผลิตเป็นพลังงานกระแสไฟฟ้า การนำเทคโนโลยีการกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงานมาใช้กับประเทศ เป็นการจัดการอย่างถูกวิธี ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นพลังงานที่เป็นผลพลอยได้แต่ที่สำคัญมากไปกว่าคือสามารถลดขยะภายในประเทศได้ |
. |
อย่างไรก็ตามคงต้องให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องกับประชาชนในเรื่องของขยะให้มากขึ้นซึ่งเอ็นจีโอ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้มีการลดการนำเข้า พร้อมการศึกษารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนของภาครัฐหรือภาคเอกชน ให้เกิดการเข้าใจถึงพลังงานทดแทนที่จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นต่อไป |