ธปท. รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อล่าสุด โดยระบุว่าจะใช้นโยบายการเงินที่เหมาะสมในการดูแลคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคต หลังจากมีแนวโน้มว่าจะอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะหลุดกรอบ 0-3.5% ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจครึ่งปีหลังชะลอตัวลงจากครึ่งปีแรก
ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)แถลงรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อล่าสุด โดยระบุว่าจะใช้นโยบายการเงินที่เหมาะสมในการดูแลคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคต หลังจากมีแนวโน้มว่าจะอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะหลุดกรอบ 0-3.5% ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจครึ่งปีหลังชะลอตัวลงจากครึ่งปีแรก |
. |
ธปท.คาดว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ(GDP)ในช่วงครึ่งปีหลังจะชะลอตัวลงจากครึ่งปีแรก ซึ่ง GDP ในช่วงไตรมาส 1/51 เติบโต 5.9% และไตรมาส 2/51 เติบโต ในระดับ 5.8% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานพื้นฐานในช่วงครึ่งปีหลังจะหลุดกรอบ 0-3.0% จึงทำให้มีความจำเป็นในการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมในการดูแล |
. |
"ถ้าเงินเฟ้อสูง เรามีมาตรการทำให้อยู่ในเป้าหมายได้ ซึ่งเราไม่อยากให้เขาคิดว่าเงินเฟ้อจะเตลิดเปิดเปิงไป ด้วยการส่งสัญญาณจากดอกเบี้ยอาร์/พี"น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าว |
. |
น.ส.ดวงมณี กล่าวว่า ธปท.คงไม่สามารถควบคุมเงินเฟ้อพื้นฐานให้อยู่ภายใต้กรอบคาดการณ์ได้ เพราะราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวขึ้นสูงกว่าคาดการณ์มาก แต่ธปท.จะมุ่งลดการคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคต เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาสู่กรอบภายใน 8 ไตรมาสข้างหน้า แต่ในปี 52 ควงามเสี่ยงเงินเฟ้อที่จะหลุดกรอบยังมีอยู่ |
. |
รายงานฉบับดังกล่าว ระบุว่า เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกของปีที่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ในประเทศ โดยเฉพาะการใช้จ่ายภาคเอกชน ขณะที่อุปสงค์ของต่างประเทศเติบโตในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง แต่เครื่องชี้การบริโภคและการลงทุนล่าสุดในเดือน เม.ย.และ พ.ค.51 สะท้อนสัญญาณการขยายตัวในอัตราที่แผ่วลงบ้าง เป็นผลจากความเชื่อมั่นที่ลดลง และความไม่แน่นอนทางการเมืองที่กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง |
. |
ช่วงไตรมาส 2/51 แรงกดดันด้านราคาได้เพิ่มขึ้นมากจากราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น ราคาอาหารสด และต้นทุนการผลิตหลายประเภทสูงขึ้น ซึ่งส่งผ่านไปยังราคาสินค้าและบริการเร็วกว่าที่ผ่านมา ทำให้เงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานในช่วงไตรมาส 2 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7.5% และ 2.8% ตามลำดับ |
. |
แต่เสถียรภาพต่างประเทศโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี เพราะแม้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดจะมีแนวโน้มเกินดุลน้อยลงจากปัญหาราคานำเข้าน้ำมันที่สูงขึ้น แต่ฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศและเครื่องชี้สภาพคล่องด้านต่างประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี นอกจากนี้อุปสงค์ในประเทศเริ่มฟื้นตัวซึ่งเพิ่มความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจได้ดีขึ้น ซึ่งฐานะการเงินที่ดีขึ้นของภาคธุรกิจประกอบกับวินัยทางการเงินของภาคครัวเรือนจากความระมัดระวังในการกู้ยืมและใช้จ่ายส่งผลให้เสถียรภาพของสถาบันการเงินอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ |