ดัชนีราคาผู้บริโภคของนิวซีแลนด์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 พุ่งทะยานขึ้นสูงสุดในรอบ 18 ปี ซึ่งเป็นผลจากต้นทุนด้านเชื้อเพลิงและอาหารที่ยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่า เศรษฐกิจกำลังเผชิญภาวะ stagflation ที่เสี่ยงต่อการเข้าสู่ภาวะถดถอยพร้อมกับมีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ
ดัชนีราคาผู้บริโภคของนิวซีแลนด์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 พุ่งทะยานขึ้นสูงสุดในรอบ 18 ปี ซึ่งเป็นผลจากต้นทุนด้านเชื้อเพลิงและอาหารที่ยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่า เศรษฐกิจกำลังเผชิญภาวะ stagflation ที่เสี่ยงต่อการเข้าสู่ภาวะถดถอยพร้อมกับมีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ |
สำนักงานสถิติออสเตรเลียเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคประจำไตรมาส 2 พุ่งขึ้น 1.6% จากช่วงไตรมาสแรก ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ 12 รายจากโพลล์ของสำนักข่าวบลูมเบิร์กคาดการณ์ว่าจะขยายตัวขึ้น 1.4% ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับเมื่อปีที่ผ่านมา ดัชนีราคาพุ่งทะยานขึ้น 4% |
. |
ราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และสถานการณ์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาล้วนส่งผลต่อเศรษฐกิจนิวซีแลนด์ทั้งสิ้น |
. |
อลัน บอลลาร์ด ผู้ว่าการธนาคารกลางนิวซีแลนด์กล่าวเมื่อเดือนที่ผ่านมาว่า เขาไม่สามารถสกัดกั้นความเป็นไปได้ในการที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจาการใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่การลงทุนในภาคธุรกิจก็ปรับตัวลดลง |
. |
แมทธิว จอห์นสัน นักวิเคราะห์จาก ICAP Australia Ltd. ในซิดนีย์กล่าวว่า "ภาวะ stagflation คือภาวะที่เศรษฐกิจยังไม่มีการขยายตัว ซ้ำร้ายยังเผชิญปัญหาด้านเงินเฟ้อขึ้นในขณะเดียวกัน ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องยากที่ธนาคารกลางจะหามาตรการมาใช้เพื่อแก้ปัญหา เนื่องจากหากธนาคารใช้นโยบายชะลอเงินเฟ้อ ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาด้านนโยบายซึ่งอาจทำให้ดอกเบี้ยลอยตัวสูงในระยะยาว |
. |
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ณ เวลา 11.25 น. ตามเวลาในนิวซีแลนด์ เงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ซื้อขายกันที่ระดับ 76.28 ต่อเซนต์สหรัฐ จากระดับ 76.40 ต่อเซนต์สหรัฐ ก่อนที่ทางการจะรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวทำให้โอกาสที่ธนาคารกลางนิวซีแลนด์จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในที่ประชุมวันที่ 24 ก.ค.มีลดน้อยลง |