ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในปี 51 มีมูลค่าประมาณ 176,364 ล้านบาท ขยายตัวประมาณร้อยละ 5.3 เป็นการเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 167,550 ล้านบาท ขยายตัวประมาณร้อยละ 5.9
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในปี 51 มีมูลค่าประมาณ 176,364 ล้านบาท ขยายตัวประมาณร้อยละ 5.3 เป็นการเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 167,550 ล้านบาท ขยายตัวประมาณร้อยละ 5.9 |
. |
โดยเป็นตลาดบริการด้านเสียง(Voice Service)จะมีมูลค่าประมาณ 159,619 ล้านบาท ขยายตัวประมาณร้อยละ 4.3 และตลาดบริการเสริมไม่ใช่เสียง(Non-Voice Service) มีมูลค่าประมาณ 16,745 ล้านบาท ขยายตัวประมาณร้อยละ 16 และคาดจำนวนเลขหมายจะเพิ่มไปอยู่ที่ประมาณ 60 ล้านเลขหมาย ให้สัดส่วนจำนวนเลขหมายต่อประชากร (Penetration Rate) เพิ่มขึ้นไปใกล้เคียงกับระดับร้อยละ 100 มากขึ้น |
. |
"การที่จำนวนเลขหมายเพิ่มขึ้นนี้สาเหตุสำคัญมาจากการที่ผู้บริโภคในตลาดส่วนหนึ่งหันมานิยมใช้เลขหมายที่สองมากขึ้น เนื่องจากการจัดโปรโมชั่นและกิจกรรมส่งเสริมตลาดของผู้ให้บริการ แต่หากพิจารณาจากจำนวนผู้มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งคาดว่าจะมีอยู่ประมาณ 30 ล้านคน และมักจะกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดสำคัญในภูมิภาค" บทวิจัยฯ ระบุ |
. |
จึงมองว่า ผู้ให้บริการมีโอกาสในการขยายตลาดไปสู่กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ในพื้นที่ดังกล่าวได้ รวมทั้งยังมีโอกาสขยายตลาดในกลุ่มอายุใหม่ๆ ด้วย เช่น กลุ่มอายุก่อนวัยรุ่น (Preteen) กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น |
. |
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งหลังของปี 51 คาดจะมีมูลค่าประมาณ 88,537 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณร้อยละ 5.5 โดยแบ่งเป็นตลาดบริการด้านเสียง มีมูลค่าประมาณ 80,381 ล้านบาท ขยายตัวประมาณร้อยละ 4.5 และตลาดบริการเสริมที่ไม่ใช่เสียง มีมูลค่าประมาณ 8,156 ล้านบาท ขยายตัวประมาณร้อยละ 17 |
. |
จากในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ประเมินว่ามีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 87,827 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณร้อยละ 5 โดยแบ่งเป็นตลาดบริการด้านเสียงมีมูลค่าประมาณ 79,238 ล้านบาท ขยายตัวประมาณร้อยละ 4 และตลาดบริการเสริมที่ไม่ใช่เสียง มีมูลค่าประมาณ 8,589 ล้านบาท ขยายตัวประมาณร้อยละ 15 |
. |
ศูนย์วิจัยกสิกรไทช่วงครึ่งปีหลังคาดอัตราเติบโตในระดับใกล้เคียงหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วงครึ่งปีแรก เป็นเพราะได้รับปัจจัยวก จากการปรับตัวของผู้บริโภคที่รับรู้ถึงแนวโน้มราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้สามารถวางแผนลดการเดินทางที่ไม่จำเป็นและหันมาใช้การติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มากขึ้น รวมทั้งภาคธุรกิจซึ่งคาดว่าจะต้องปรับตัวเพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงานและหันมาใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมากขึ้น ตลอดจนการเริ่มเปิดให้บริการระบบ 3G บนคลื่นความถี่เดิมก็น่าจะช่วยกระตุ้นตลาดให้กลับมาคึกคึก |
. |
ในขณะที่ในช่วงครึ่งปีแรก ต้องเผชิญแรงกดดันจากราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายลง |