ปัจจุบันการควบคุมทางด้าน Automation ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ ภายในเครื่องจักรในสายการผลิต หรือ แม้กระทั่งในขอบเขตปริเวณโรงงาน การควบคุมผ่านระบบการสื่อสารแบบต่าง ๆ ได้รับความนิยมและนำเข้ามาใช้มากขึ้น
ปัจจุบันการควบคุมทางด้าน Automation ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ ภายในเครื่องจักรในสายการผลิต หรือ แม้กระทั่งในขอบเขตปริเวณโรงงาน การควบคุมผ่านระบบการสื่อสารแบบต่าง ๆ ได้รับความนิยมและนำเข้ามาใช้มากขึ้นเพื่อประหยัดต้นทุนของการลากสายทองแดงปริมาณมากเพื่อควบคุมเครื่องจักร ลดเวลาในการติดตั้งระบบ รวมไปถึงการลดเวลาในการแก้ปัญหาเมื่อเครื่องจักรหยุดระหว่างกระบวนการผลิต และสามารถ Monitor Parameter จากเครื่องจักรได้ในระยะไกลซึ่งการลากสายทองแดงทำไม่ได้ |
. |
ปัจจุบันในระบบควบคุมง่าย ๆ ทั่วไป เช่น การควบคุมมอเตอร์สักตัว หนึ่ง ที่ตั้งอยู่ห่างจากตู้ควบคุมห้าร้อยเมตรด้วยตัวปรับความเร็วรอบมอเตอร์ ( AC Drive ) เบื้องต้นเราก็คงใช้สายไฟสักห้าเส้นเพื่อควบคุมการเดิน การหยุด และการเปลี่ยนทางหมุน รวมไปถึงสายสัญญาณอะนาลอกสักคู่ เพื่อควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์ |
. |
ปัญหามีอยู่ว่า…. ถ้าหากโจทย์เป็นมอเตอร์สักสามสิบตัว
|
.. |
ซึ่งถ้าเปลี่ยนไปใช้เป็นการควบคุมทางด้าน Automation ด้วยระบบการสื่อสารแบบ Bus Control ปัญหาดังกล่าวก็จะไม่เกิดขึ้นเพราะจากการที่ต้องลากสายทองแดงเป็นร้อยเส้นในท่อร้อยสายก็จะเหลือเพียงสาย Communication เพียงเส้นเดียว แล้วระบบการสื่อสาร (Bus Control) แบบต่าง ๆ จะช่วยอะไรได้บ้าง เบื้องต้นเรามาทำความรู้จักกับระบบการสื่อสารที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไปสัก 3 แบบซึ่งเรารู้จักกันดี ได้แก่ |
. |
1. Modbus485 (Modbus RTU) 2. CANopen 3. Modbus TCP-IP |
. |
ซึ่งในการใช้งานควรพิจารณาคุณสมบัติของระบบการสื่อสารแต่ละชนิดว่า มีข้อจำกัดอะไรบ้าง และเหมาะกับงานประเภทใด ซึ่งโดยทั่วไปจะพิจารณาจากหลายเงื่อนไขของการใช้งาน เช่น ระยะทางของการลากสาย Communication, จำนวนอุปกรณ์ที่ต้องการต่อใช้งานภายใต้ระบบสื่อสาร (Bus Control), ความเร็วของการสื่อสารซึ่งความเร็วนี้มีผลกับการตอบสนองของการควบคุมของระบบ และอีกสิ่ง
|
Modbus485 (Modbus RTU) การสื่อสารแบบอนุกรม (RS-485) ที่รู้จักกันดีใช้มาตั้งแต่ปี 1979 สามารถสื่อสารผ่านสายเคเบิลแบบอนุกรมทั่วไปได้ในระยะประมาณ 1,200 เมตร ด้วยความเร็วสูงสุด 38,400 บิตต่อวินาที (38.4 kbps) ในระบบพื้นฐานสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้สูงสุด 247 จุด มีลักษณะการควบคุมการสื่อสารเป็นแบบ Master–Slave |
. |
รูปที่ 2 CANopen Network |
. |
ในรูปที่ 2 แสดงถึงตัวอย่างของระบบสื่อสารแบบ CANopen ซึ่งประกอบด้วย TWIDO PLC ซึ่งทำหน้าที่เป็น Master ของ Network มี ATV 71,
|
. |
Modnet , Modbus TCP/IP , Modbus on Ethernet คือการสื่อสารแบบ Modbus บนเครือข่าย Ethernet (LAN Network) ระยะในการใช้งานสำหรับการลากสายทองแดง (สาย LAN ) คือ 100 เมตร โดยสามารถขยายระยะในการสื่อสารได้โดยใช้อุปกรณ์ Repeater หรือในระบบ LAN จะเรียกอุปกรณ์นี้ว่า Hub หรือ Switch ก็จะสามารถลากสายได้อีก 100 เมตรและยังสามารถต่อ Repeater ขยายระยะทางได้โดยไม่จำกัด และระยะทางการใช้งานสำหรับสาย Fiber optic ระยะการต่อที่ทำได้อยู่ที่ประมาณ 80 กิโลเมตรปัจจุบันใช้อยู่กับงานด้านปิ
|
. |
รูปที่ 3 Modbus TCP/IP Network |
. |
ในรูปที่ 3 แสดงถึงตัวอย่างการใช้งานระบบสื่อสาร Modbus TCP/IP โดยจากรูปจะเห็นได้ว่าระบบสื่อสารชนิดนี้สามารถต่อใช้งานกับอุปกรณ์ได้หลากหลาย เช่น Zelio Smart Relay, Power Meter, STB Remote I/O, OTB Remote I/O, ATV Variable Speed Drive, TesysU Motor Start, Magelis Touch Screen, TWIDO PLC, M340 PLC, Vijeo Citect SCADA เป็นต้น โดยจะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่หลากหลายประเภทที่มีพอร์ตสื่อสาร Modbus TCP/IP เพราะเป็นระบบที่มีความเร็วสูง สามารถใช้งานร่วมกับระบบ LAN Office ได้ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของการลากสาย Communication และสามารถประยุกต์ใช้งานในลักษณะ Remote Control ผ่านระบบ Internet ได้ทำให้สามารถ Control หรือ Monitor ระบบจากที่ใดก็ได้ที่มี Internet |
. |
การวิเคราะห์การเลือกใช้ระบบสื่อสาร (Bus Control) |
ตัวอย่าง ถ้าต้องการใช้ PLC ควบคุมความ เปิด-ปิด และควบคุมเร็วของ Water Pump ด้วย Variable Speed Driveจำนวน 30 ตัว ซึ่งกระจายตำแหน่งติดตั้งอยู่รอบโรงงานแห่ง
|
. |
. |
เมื่อพิจารณาข้อมูลจากตารางข้างต้น จะเห็นว่าค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์ของระบบสื่อสารแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แต่ในการตัดสินใจเลือกใช้ระบบสื่อสารชนิดใดนั้น ควรจะพิจารณาจากการใช้งานมากกว่าที่จะคิดถึงเรื่องราคาของอุปกรณ์เพียงอย่างเดียว แต่เมื่อพิจารณาจากโจทย์แล้วเป็นลักษณะการใช้งานควบคุมการทำงานของปั้มน้ำ ซึ่งไม่ต้องการการตอบสนองของระบบแบบทันทีทันใด จึงไม่จำเป็นต้องใช้ระบบที่มีความเร็วสูงอย่างระบบ Modbus TCP/IP และการติดตั้งก็เป็นการลากสาย Communication ไปรอบ ๆ โรงงาน ซึ่งไม่มีสัญญาณรบกวนมากนักจึงไม่จำเป็นต้องใช้ระบบ CANopen ดังนั้นจากลักษณะการใช้งานและต้นทุนของอุปกรณ์จึงพอจะสรุปได้ว่า ในระบบควบคุมนี้ควรใช้ระบบสื่อสารเป็นระบบ Modbus RTU จึงจะเหมาะสมที่สุด แต่การใช้งานจริงสามารถนำระบบสื่อสารหลาย ๆ แบบมาใช้งานร่วมกันได้ เช่น ระบบ SCADA เป็นต้น |
. |
สรุป |
Modbus 485 ออกแบบมาเพื่อใช้ในการควบคุมการทำงานเช่น Digital I/O, Analog I/O หรือ AC Drive Start, Stop Speed Command ที่มีจำนวนข้อมูลไม่มากนัก ถ้าคิดกันง่าย ๆ แบบอุดมคติที่ความเร็ว 38,400 Bps ถ้าส่งข้อมูล1,200 word (19,200 Bit) ก็จะใช้เวลา 1 วินาทีในการส่งข้อมูลเพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ ซึ่งถ้าหากอุปกรณ์ดังกล่าวคือตัวปรับความเร็วรอบมอเตอร์ปั้มน้ำเข้าถังเก็บหรือใบพัดเติมอากาศให้กับระบบบำบัดน้ำก็คงเหมาะสมดี ตัวอย่างที่เหมาะสมกับระบบนี้ได้แก่ ระบบบำบัดน้ำซึ่งมีจำนวน I/O ไม่มากแต่การกระจายตัวสูงมาก เครือข่าย
|
. |
อุปกรณ์ส่วนใหญ่ทำหน้าที่วัดค่าทางเคมีแปลงเป็นสัญญาณอนาล็อก การวัดค่ากำลังไฟฟ้าในการเดินและเฝ้าระวังระบบเติมอากาศ การเดินเครื่องปรับความเร็วระบบเติมอากาศ และการไหลเวียนของน้ำซึ่งระบบไม่ต้องการความเร็วในการทำงานสูงมากนักแต่ต้องการความแม่นยำ ฉะนั้น Modbus 485 เหมาะที่จะใช้เป็น Control Network ใช้กับการควบคุมและรับส่งข้อมูลจำนวนน้อยระยะการสื่อสารไกลและความเร็วไม่สูงมากนักข้อดีที่สำคัญก็คือราคาอุปกรณ์และการติดตั้งต่ำเสถียรภาพสูงความซับซ้อนต่ำซ่อมบำรุงดูแลรักษาง่าย |
. |
CANopen ออกแบบมาเพื่อใช้ในการสื่อสารด้วยความเร็วสูงตัวอย่างที่ชัดเจนมากได้แก่ Servo Motor, Stepper Motor เนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าวต้องการข้อมูลในการทำงานจำนวนมากและความเร็วสูงเพื่อตอบสนองกับความต้องการของเครื่องจักร หรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ Digital I/O, Analog I/O เป็นกลุ่มจำนวนมาก เช่น การควบคุม Servomotor บนเครื่องติดฉลากขนขวดเครื่องดื่มที่ความเร็ว 600 ขวดต่อนาที |
. |
ต้องมีการทำงานสอดประสานการทำงานอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์ Digital, Analog, Motion Control อุณหภูมิอุปกรณ์ป้องกันเพื่อความปลอดภัย เวลาเพียงเสี้ยววินาทีของความผิดพลาดอาจก่อให้เกิดการเสียโอกาสการผลิตได้เป็นเวลานาน ดังนั้น CANopen เหมาะที่จะใช้เป็น Data Network ใช้กับการควบคุมและรับส่งข้อมูลจำนวนมากและความเร็วสูงระยะการสื่อสารสั้น ข้อดีที่สำคัญคือความเร็วสูง เสถียรภาพสูง ความซับซ้อนต่ำ |
. |
Modbus TCP-IP ออกแบบมาเพื่อใช้ในการสื่อสารด้วยความเร็วสูงมากเพื่อรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ สื่อสารในระบบที่ซับซ้อนหลากหลายระดับตัวอย่างที่ชัดเจนมากได้แก่ การสื่อสารระหว่าง PLC กับHMI (Human Machine Interface, Touch Screen), PLC กับ PLC, PLC กับ SCADA ถึงแม้การสื่อสารโดยทั่วไปจะจำกัดที่ 100 เมตร ต้องต่อเข้า Hub หรือ Switch แต่เนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าวมีใช้กันอย่างแพร่หลายจึงทำให้ราคาต่ำมากและหาผู้ดูแลระบบได้ง่าย |
. |
ตัวอย่างที่ชัดเจนได้แก่การที่เครือข่ายร้านค้าส่งขนาดใหญ่ในกรุงเทพ สามารถเรียกดูและบันทึกค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าของสาขาทั่วประเทศ เพื่อเปรียบเทียบและบริหารต้นทุนระบบดังกล่าวสื่อสารผ่านช่องทางเครือข่าย Ethernet เดียวกับที่วางไว้ใช้ในงานจัดการสินค้าคงคลัง ผู้ติดตั้งระบบไม่จำเป็นต้องรู้โครงสร้างของเครือข่ายและฝ่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เพียงแค่จัดเตรียมช่องทางการสื่อสารให้เพียงพอต่อความต้องการของระบบเท่านั้น อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบ Internet เพื่อลดต้นทุนการสื่อสาร และขยายขอบเขตการเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย |
. |
สรุปว่า Modbus TCP-IP ออกแบบมาเพื่อใช้ในงานประเภท Information Network ทำหน้าที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ไม่จำกัดจำนวนเข้ากับเครือข่ายที่ไม่จำกัดขนาดโดยการใช้เทคโนโลยีที่มีราคาถูก ระดับความซับซ้อนมีตั้งแต่ต่ำจนกระทั่งสูงมากแต่อย่างไรก็ตามบุคลากรที่ดูแลระบบหาได้ง่าย เพราะเป็นเทคโนโลยีที่แพร่หลายเสถียรภาพของระบบสูงมาก |
. |
. |
Construction Mixer |
. |
Plastic Blowing Machine |
Modbus 485 Network |
CAN Open Network |
Automation System on Ethernet Network |
. |
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ K&P F.A. CENTER CO., LTD. 259/83 ซ.พิบูลย์เวศน์ ถ.สุขุมวิท 71 แขวงพระขโนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพ 10110 โทรศัพท์ 0-2381-4681-93 โทรสาร 0-2381-4694 http://www.kpt-group.com, http://www.knp1993.com E-mail: marketing@kpt-group.com |
เรียบเรียงโดย
|