ไทยพาณิชย์ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมฯ สร้างองค์ความรู้เชิงลึกให้ผู้ประกอบการ ติดตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด นับเป็นการเตรียมความพร้อมและสร้างภูมิคุ้มกันให้ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เติบโตอย่างแข็งแกร่ง
ธนาคารไทยพาณิชย์ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท.ดำเนิน "โครงการที่ปรึกษาอุตสาหกรรม SCB-FTI" มุ่งสร้างองค์ความรู้เชิงลึกให้ผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง โดยสรรหา ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแต่ละภาคอุตสาหกรรมเพื่อติดตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด นับเป็นการเตรียมความพร้อมและสร้างภูมิคุ้มกันให้ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เติบโตอย่างแข็งแกร่ง |
. |
ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า "ธนาคารไทยพาณิชย์มีนโยบายมุ่งพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง แต่ในยุคที่ภาวะเศรษฐกิจและการแข่งขันทวีความรุนแรงมากขึ้น อุตสาหกรรมต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและนอกประเทศเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือการที่ภาคอุตสาหกรรมสามารถปรับตัวรองรับให้ทันต่อทุกสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว |
. |
สำหรับ โครงการที่ปรึกษาอุตสาหกรรม SCB-FTI เป็นอีกหนึ่งโครงการที่อยู่ภายใต้ “โครงการยกระดับ ขีดความสามารถของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภาคอุตสาหกรรม (SMI)" ที่ธนาคารร่วมกับ ส.อ.ท. จัดขึ้นเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยโครงการที่ปรึกษาอุตสาหกรรม SCB-FTI เน้นการสร้างองค์ความรู้เชิงลึกให้ผู้ประกอบการแต่ละภาคอุตสาหกรรม |
. |
โดยโครงการได้เปิดโอกาสให้กลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการที่ปรึกษา นำเสนอรายชื่อผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและเป็นที่ยอมรับของกลุ่มอุตสาหกรรมมาเป็นที่ปรึกษาเพื่อติดตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อ อุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และเสนอแนะให้ผู้ประกอบการเตรียมความพร้อมในการแข่งขันทางธุรกิจได้อย่าง ทันท่วงที นับเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แต่ละอุตสาหกรรมเติบโตได้อย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม" |
. |
นายธานี พุฒิพันธุ์พฤทธิ์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า "กลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ รายงานเข้ามาถึงภาวะความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมและปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเผชิญในการดำเนินงาน คณะทำงานของโครงการ SCB-FTI จึงพิจารณาสรรหาบุคคลากรผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็น ที่ปรึกษาให้แก่ 4 กลุ่มอุตสาหกรรมนำร่อง ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก กลุ่มอุตสาหกรรมเคมี และกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร |
. |
ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ที่กำลังเผชิญกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นและวัตถุดิบ ที่ขาดแคลน จึงได้วางแนวทางการแก้ปัญหาโดยสร้างความเข้าใจทั้งวงจรอุตสาหกรรม ตั้งแต่ กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการ พ่อค้าคนกลาง รวมถึงผู้บริโภค เพื่อนำไปวางกรอบยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมยางพาราของชาติรวมถึงความต้องการนวัตกรรมใหม่เพื่อช่วยลดปัญหาโลกร้อน โดยมี คุณประยงค์ หิรัญญะวนิชย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามมิชลิน จำกัด เป็นที่ปรึกษากลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าว |
. |
นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ซึ่งถูกกล่าวขานว่าเป็นต้นเหตุของภาวะโลกร้อนและปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์จากพลาสติก โดยความเป็นจริงแล้ว หากนำมาใช้อย่างคุ้มค่าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยว่าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ทำให้ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจใน วงจรชีวิตของพลาสติกอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สังคมเห็นถึงประโยชน์ของอุตสาหกรรมพลาสติกมากขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก จึงได้คัดเลือกให้ ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา รองคณบดีฝ่ายบริหาร วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษาของกลุ่มฯ เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องพลาสติกกับสิ่งแวดล้อม |
. |
ทางด้าน กลุ่มอุตสาหกรรมเคมี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำระบบการจำแนกและการจัดทำฉลากสารเคมีให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสหประชาชาติ ที่เรียกว่าระบบ GHS (The Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals) ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจ SMEs นำไปใช้พัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานของสินค้าให้สามารถส่งไปขายยังกลุ่มประเทศต่างๆ ได้ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเคมีได้คัดเลือก คุณพร้อมพร อิศรางกูร ณ อยุธยา รองประธานคณะกรรมการ Responsible Care Management Committee of (RCMCT) เป็นที่ปรึกษาของกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี |
. |
สำหรับ กลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร ระบุว่าปัจจุบันสมุนไพรไม่ได้รับการพัฒนาและผลักดันให้มีการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านสมุนไพรอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้ขาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรสู่เชิงพาณิชย์ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากภาครัฐสู่เอกชน เพื่อให้เกิดยา อาหาร และเครื่องสำอางสมุนไพรที่มีคุณภาพ โดยมี ภญ.รศ.ดร.ปลื้มจิตต์ โรจนพันธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและนายกสมาคมนักประดิษฐ์แห่งประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร |
. |
ทั้งนี้ โครงการที่ปรึกษาอุตสาหกรรม SCB-FTI มุ่งหวังที่จะติดตามสถานการณ์ของ 4 กลุ่มอุตสาหกรรมนี้อย่างใกล้ชิด และได้ดำเนินการพิจารณาให้การสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยมีความแข็งแกร่ง พร้อมแสดงศักยภาพในเวทีของการแข่งขันระดับสากลได้อย่างยั่งยืนต่อไป |