เนื้อหาวันที่ : 2008-07-04 09:48:00 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 3411 views

บทบาทของมืออาชีพทางด้านบริหารคุณภาพในศตวรรษที่ 21

บางท่านที่มองโลกในแง่ร้ายเชื่อว่ามืออาชีพทางด้านคุณภาพจะเป็นคนกลุ่มแรกที่มีโอกาสตกงาน

บทคัดย่อ  

หลักการและแนวทางปฏิบัติของการบริหารคุณภาพ ( Quality Management) ได้วิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องโดยเริ่มจากการตรวจสอบคุณภาพ (Inspection) และการควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Control) ในทศวรรษ 1970 และได้วิวัฒนาการไปสู่การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) และการบริหารคุณภาพ (Quality Management) ทศวรรษ 1980 และ 1990 ตามลำดับ รวมทั้ง TQM (Total Quality Management) และ Six Sigma ที่เพิ่งจะเริ่มมีขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมานี่เอง

. 

.

 .

จากนี้ไปผู้เชี่ยวชาญ หรือมืออาชีพทางด้านบริหารคุณภาพจะมีบทบาทอย่างไรอย่างไรในศตวรรษที่ 21 นี้ในเรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญ  นักวิชาการ  และปรมาจารย์ด้านบริหารคุณภาพได้หารือกันตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา เป็นต้นมา  บางท่านที่มองโลกในแง่ร้ายเชื่อว่ามืออาชีพทางด้านคุณภาพจะเป็นคนกลุ่มแรกที่มีโอกาสตกงานและยังคาดคะเนอีกด้วยว่าบทบาทของผู้ที่ทำหน้าที่เป็นอาชีพด้านคุณภาพ เช่น ผู้จัดการบริหารคุณภาพ วิศวกรบริหารคุณภาพ  ผู้ตรวจสอบ เป็นต้น กำลังใกล้จะสูญพันธุ์ภายในเวลา  8-10 ปี อย่างไรก็ตามท่านที่มองโลกแง่ดีเชื่อว่าอนาคตของมืออาชีพดังกล่าวจะสดใส  ท้าทาย  เป็นที่ต้องการ  และมีโอกาสดีมาก  ความต้องการด้านการบริหารคุณภาพ  และมืออาชีพด้านคุณภาพจะยังไม่ลดน้อยลง  แต่จะต้องมีการปรับแนวใหม่ให้เหมาะสมโดยการ "ย้อนกลับไปมองอดีตเพื่อคาดคะเนอนาคต"

..

วัตถุประสงค์ของบทความนี้ก็ เพื่อทบทวนเกี่ยวกับวิวัฒนาการของการบริหารคุณภาพและสรุปความคิดเห็นที่แตกต่างของปรมาจารย์ทางด้านคุณภาพและนักวิจัยในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับบทบาทของผู้เชี่ยวชาญทางด้านคุณภาพและพัฒนาการ  รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับองค์ความรู้ที่เหมาะสมสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารคุณภาพรุ่นต่อไปในอนาคต

..
1.บทนำ

Dr. Joseph M. Juran ปรมาจารย์ทางด้านคุณภาพชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงและมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลเคยกล่าวไว้ว่า ศตวรรษที่ 21 จะเป็นศตวรรษแห่งคุณภาพซึ่งความเป็นจริงที่ไม่ต้องสงสัยตลอดกาล เพราะแนวคิดทางด้านคุณภาพได้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงและมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องในแต่ละศตวรรษที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา เรื่องของการควบคุมคุณภาพได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น เมื่อย่างเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 คุณภาพจึงมีบทบาทสำคัญในทุกเรื่องและได้วิวัฒนาการจากภาคการผลิตไปสู่ภาคการบริการ โดยผู้เชี่ยวชาญคุณภาพยังคงยึดมั่นในหลักปรัชญาและเทคโนโลยีที่เคยใช้ได้ผลดีในอดีต เช่น กระบวนการผลิตแบบ Mass Production   

..

ในปี 1996 American Society for Quality (ASQ) ในฐานะที่เป็นองค์กรชั้นนำในด้านการบริหารคุณภาพของโลกได้ศึกษาเกี่ยวกับอนาคตของความเคลื่อนไหวทางด้านคุณภาพ ซี่งถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธุ์และการปรับเปลี่ยนจุดยืนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง โดยในบันทึกการศึกษานี้ได้กล่าวถึงวิวัฒนาการในด้านการบริหารคุณภาพและมืออาชีพด้านคุณภาพ เพื่อพัฒนาให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในปัญหาที่บรรดามืออาชีพด้านบริหารคุณภาพกำลังเผชิญอยู่

..

นอกจากนี้ ยังได้รวบรวมวรรณกรรม หรือ บทสรุปต่าง ๆ จากการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการ  ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารคุณภาพ  และปรมาจารย์ด้านคุณภาพบางท่าน  ได้ศึกษาเกี่ยวกับอนาคตของการพัฒนาคุณภาพละบทบาทของผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพตั้งแต่ปี 1970  จนถึง02ปัจจุบัน  นอกจากนี้ยังได้มีการหารือเกี่ยวกับแนวคิดต่าง ๆ ที่นำเสนอไว้ใน ASQ Futures Study Report, 2005 รวมทั้งในเนื้อหาของการจัดอภิปรายในหัวข้อเรื่อง "New Challenges of Quality Professionals in Asia"

..
2.ประวัติศาสตร์ของการบริหารคุณภาพ

การบริหารคุณภาพมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน  ซึ่งเริ่มวิวัฒนาการในช่วงการปฎิวัติอุตสาหกรรมโดยเริ่มจากบทบาทของการตรวจสอบคุณภาพแบบเดิม ( Inspection) การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ และ TQM ในหนังสือเรื่อง The Wealth of the Nationเขียนโดย Adam Smith ในปี 1776 โดยได้นำแนวคิดเกี่ยวกับการจำแนกแรงงาน ซึ่งเป็นแรงผลักดันหนึ่งที่ทำให้เกิดการปฎิวัติอุตสาหกรรมต่อมาในปี 1914 การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้กระตุ้นให้เกิดการผลิตแบบ Mass Production ในช่วงเวลาดังกล่าว การตรวจสอบทางด้านอุตสาหกรรมกลายเป็นสิ่งจำเป็น แนวทางใหม่ในการบริหารที่พัฒนาขึ้นโดย Frederick W. Taylor ในปี 1919 หรือที่เรียกว่า "การบริหารโดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์" ( Scientific Management ) นั้น  มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผมผลิต โดยไม่มีการเพิ่มจำนวนช่างฝีมือ 

..

ต่อมาในปี 1924 Dr. Walter A. Shewhart วิศวกรจากบริษัท Western Electric ได้นำแนวคิดเกี่ยวกับ Control Chart มาใช้ในการควบคุมความผันแปรของคุณภาพผลิตภัณฑ์ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการควบคุมคุณภาพโดยใช้สถิติที่เรียกว่า Statistical Quality Control ( SQC ) ในปี 1931 ในขณะเดียวกันที่ประเทศอังกฤษก็ได้พัฒนามาตรฐาน British Standards นอกจากนี้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ( 1941 1945 ) สหรัฐได้พัฒนาวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใหม่โดยใช้แนวคิด Acceptable Quality Levels ( AQLs )

..

ดังนั้น  การตรวจสอบโดยวิธีสุ่มตัวอย่างจึงใช้เวลาลดน้อยลง  ภายหลังจากที่ Dr. Deming และ Dr. Juran ได้ไปญี่ปุ่นในปี 1950 การพัฒนาคุณภาพของญี่ปุ่นได้เจริญอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาถึง 2 ทศวรรษ โดยแนวคิดในเรื่องคุณภาพเทคนิค  และปรัชญาหลายอย่าง เช่น Fool Proof, QCC, CWQC, ผังก้างปลา รวมทั้งวิธีการของ Taguchi ก็ได้ถูกนำมาใช้ในการบริหารคุณภาพ

..

ต่อมาในปี 1946 American Society For Quality Control ( ASQC ) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นนับตั้งแต่ปี 1950 -1960 สหรัฐให้การยอมรับในคุณค่าของทฤษฏีต่าง ๆ ของ Dr. Deming และ Dr.Shewhart และแล้วศักราชใหม่ของการประกันคุณภาพ ( QA ) ก็ได้เปลี่ยนแปลงสิ่งที่อุตสาหกรรมได้มุ่งเน้น  นั่นคือการเปลี่ยนจากการตรวจสอบคุณภาพ ( Inspection ) เพื่อหาของเสียไปเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดของเสีย ( Prevention ) ในช่วงเวลาดังกล่าว  ปรัชญาทางด้านคุณภาพมากมายได้เกิดขึ้น เช่น  เรื่อง Cost of Quality ( CQQ ) , Total Quality Control ( TQC ) , Reliability Engineering , Zero Defeets, Management by Objective เป็นต้น ในระหว่างปี 1980 -1990 ความต้องการของลูกค้า  ผลการดำเนินงานของคู่แข่งขัน  และการลดต้นทุนคุณภาพเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ซึ่งนำไปสู่การดำเนินการในเรื่องการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ( TQM )

..
3.วิวัฒนาการของมืออาชีพทางด้านคุณภาพ

ประวัติศาสตร์ของวิวัฒนาการทางด้านคุณภาพ  ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อบทบาทของมืออาชีพด้านคุณภาพได้วิวัฒนาการจากยุคของการควบคุมคุณภาพ โดยอาศัยสถิติ (Statistics Quality Control) ซึ่งดำเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์ทางด้านคุณภาพ (Quality Scientists) และนำไปสู่วิธีการที่เน้นผลการดำเนินงานโดยวิศวกรคุณภาพ (Quality Engineers) สุดท้ายได้วิวัฒนาการไปสู่วิธีควบคุมคุณภาพแบบญี่ปุ่น เช่น การจัดตั้งกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ ( Quality Circles) และทีมงาน Total Quality Management และ Organizational Empowerment โดยใช้ที่ปรึกษา (Quality Consultants) ได้นำไปสู่การกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ของระบบการบริหารและความเป็นเลิศของธุรกิจ ได้แก่ ที่ปรึกษาด้านคุณภาพ (Quality Consultants/Advisors)

..
4.มุมมองเกี่ยวกับอาชีพทางด้านคุณภาพในอนาคต

บทบาทของมืออาชีพด้านการบริหารคุณภาพเริ่มได้รับการยอมรับในปลายทศวรรษ 1960 เมื่อ ASQL หรือ American Society for Quality Control ได้จัดให้มีการทดสอบ เพื่อให้การรับรองวิศวกรคุณภาพ (Certified Quality Engineer) CQE examinations องค์กรดังกล่าวนี้ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น ASQ โดยมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 1997 ได้คัดเลือกบทความ 38 เรื่องที่ตีพิมพ์ในระหว่างปี 1980 พบว่าการควบคุมคุณภาพเป็นเรื่องที่ให้ความสนใจมากที่สุด  นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่คล้ายคลึงกันต่าง ๆ ของบรรดาปรมาจารย์ทางด้านบริหารคุณภาพแต่ละท่านในช่วงเวลาต่าง ๆ ในอดีตซึ่งสามารถนำสรุปได้ดังต่อไปนี้

..

1). แนวคิดที่ว่าความรู้ที่มีอยู่แบบเดิม ๆ ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอสำหรับการเป็นมืออาชีพทางด้านคุณภาพ  เช่น  ยังขาดความรู้ในด้าน Marketing และ Management ขอยกตัวอย่างแนวคิดในเรื่องนี้ของอาจารย์ 7 ท่านดังนี้

1.1  West’cott (2004): ควรเพิ่มความสามารถใหม่ ๆ เช่น ภาษาทางด้านการบริหารจัดการให้กับมืออาชีพ ทางด้านคุณภาพเพื่อให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน

1.2   Crosby (2004): การศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการจะช่วยให้ทราบว่าลูกค้าที่เป็นผู้บริหารระดับสูงคิดและเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ      นั่นคือแนวคิดที่เรียกว่า Customer Focus

1.3 Aubrey (1999): ผู้ที่เป็นมืออาชีพด้านคุณภาพเป็นสมาชิกของทีมงานฝ่ายบริหารซึ่งมีความสัมพันธ์ อย่างแน่นแฟ้นกับการวางแผนทางด้านการเงิน การควบคุม และการปรับปรุงคุณภาพ

1.4 Hoerl (1998): Six Sigma มีผลกระทบที่สำคัญต่ออนาคตของมืออาชีพทางด้านบริหารคุณภาพเพราะจะนำไปสู่ความสำเร็จทางการเงิน

1.5 Ross (1996): มืออาชีพทางด้านคุณภาพจะได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการบริหาร

1.6 Merritt (1993): ใช้รูปแบบ Competency ของ AT&T เป็นแนวทางสำหรับมืออาชีพทางด้านการบริหารคุณภาพ เพื่อปูทางจากการเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกไปสู่คู่ค้าทางธุรกิจ

1.7 Lindsey (1990): ได้คาดคะเนบทบาทของมืออาชีพทางด้านคุณภาพที่จะนำองค์กรไปสู่ผลการดำเนินงานที่ดีเยี่ยมใน 3 เรื่องได้แก่ ด้านคุณภาพ ด้านการบริหาร และด้านระยะเวลาการส่งมอบ

..

2) ความต้องการมืออาชีพทางด้านคุณภาพที่มีทักษะทางด้านการสอนงาน และการฝึกอบรม (Coaching and Training) จะเพิ่มมากขึ้นในอุตสาหกรรมบริหาร

2.1 Spichiger (2002): ความต้องการมืออาชีพทางด้านคุณภาพจะเปลี่ยนจากอุตสาหกรรม การผลิตไปสู่การบริการ โดยมีแนวโน้มว่าจะมุ่งไปสู่ในเรื่องการดูแลและรักษาสุขภาพและภาคการศึกษา

2.2 Dalgleish (2001): มืออาชีพทางด้านคุณภาพมีบทบาทหน้าที่เป็นผู้นำการสอนการแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการใช้เครื่องมือคุณภาพต่าง ๆ นอกจากนี้จำเป็นต้องเผยแพร่ความรู้ไปสู่หน่วยงานอื่น ๆ เช่น หน่วยงานวิศวกรรม การตลาด การบริหาร

2.3 Chin: ในธุรกิจที่ไม่ใช่การผลิต มืออาชีพทางด้านคุณภาพจะเป็นที่ต้องการมากขึ้นในฮ่องกง

2.4 Dedhia (2000) Thomas & Michelle คาดการณ์ว่ามืออาชีพทางด้านคุณภาพในฐานะที่เป็นผู้นำกลุ่มรับการอบรมโดยมุ่งเน้นเรื่องกระบวนการต่าง ๆ ตามหลักการเดิม

..
3) บทบาทหน้าที่ของมืออาชีพทางด้านคุณภาพจะเน้นเรื่องคน และพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศให้มากขึ้น

3.1 Spichiger (2002): มืออาชีพทางด้านคุณภาพในอนาคตจะให้คุณค่าแก่องค์กรต่าง ๆ โดยทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบ ผู้อำนวยความสะดวก ผู้ให้ความรู้ ผู้จัดการโครงการ ผู้นำทีม และผู้ให้ความปรึกษา

3.2 Ryan (2000): ชี้ให้เห็นว่า Internet กำลังถูกนำมาใช้ในบ้าน ในสำนักงาน รวมทั้ง software ต่าง ๆ มืออาชีพทางด้านคุณภาพจำเป็นต้องฝึกความชำนาญของตนให้สามารถใช้กับ Internet

3.3 Thawani: ในอนาคตมืออาชีพทางด้านคุณภาพ และ IT จำเป็นต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด

3.4 Pyzdek (1999): มืออาชีพทางด้านคุณภาพควรใช้ความชำนาญพิเศษของตนให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร

3.5 Cutshaw (1996): เสนอแนะให้มืออาชีพทางด้านคุณภาพส่งเสริมให้เกิดทักษะในการวิเคราะห์หาสาเหตุรวมทั้งความรู้ในเรื่อง ISO 9000

3.6 Bluestone (1996): เสนอแนะให้รวบรวมทักษะของมืออาชีพทางด้านคุณภาพไว้ด้วยกัน

..
5.บทสรุป

ภารกิจหลักของมืออาชีพทางด้านการบริหารคุณภาพ คือการบรรลุมาตรฐานคุณภาพที่สูงขึ้นของผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ในระหว่างการประชุม เพื่อทบทวนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของการพัฒนาคุณภาพ และการมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องวิวัฒนาการของมืออาชีพทางด้านการบริหารคุณภาพ ความคล้ายคลึงกันต่าง ๆ ระหว่างแนวคิดที่ได้จากการศึกษาของ ASQ และที่ได้จากรายงานที่นำเสนอในที่ประชุม INFORMS 2006 มีดังต่อไปนี้

..

1)    โลกาภิวัฒน์ (Globalization): การรื้อถอนอุปสรรคต่าง ๆ ทางการค้าช่วยให้การค้าขายและการบริการคล่องตัวขึ้น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถอธิบายความหมายได้จากชื่อหนังสือใหม่เล่มหนึ่งที่เพิ่งออกสู่ตลาดเมื่อปี 2006 ที่มีชื่อว่า “The World is flat” (โลกแบน)

2)    การจัดซื้อจัดหาจากภายนอก (Outsourcing ): ชี้ให้เห็นว่าสถานที่สำหรับทำงานหรือผลิตสินค้าหรือให้บริการนั้นจะมีความอิสระมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสถานที่ทำงานในบริษัทหรือในโรงงานเช่นเดียวกับในอดีต  การทำงานต่าง ๆ จะมีความเป็นอิสระมากขึ้นเรื่อย ๆ

3)    การมุ่งเน้นลูกค้า (Customer Focus ): ลูกค้าในปัจจุบันมีความคาดหวังสูงมากเกี่ยวกับสินค้าและบริการ โดยต้องการใช้เวลาสั้นลงในการผลิตสินค้า วงจรชีวิตของสินค้าสั้นลง สินค้าที่เคยส่งเป็น batch ใหญ่ ปริมาณมาก ๆ จะต้องลดขนาดของ batch ให้เล็กลง เพื่อปรับให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า  รวมทั้งคิดค้นรูปแบบใหม่ ๆ  ในการผลิตสินค้าและให้บริการ เพื่อให้โดนใจลูกค้า (Customization and Innovation )

4)    การเปลี่ยนทัศนคติหรือแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพ (Changing Concepts of Quality): ควรจะให้คำจำกัดความของคำว่าคุณภาพเสียใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในศตวรรษที่ 21 นั่นคือ พัฒนาการจากรูปแบบที่เป็นกระบวนการไปสู่แนวทางที่เป็นระบบนั่นเอง

จากการประชุม ASQ Futures Study and HKSQ Panel Discussion ทำให้มืออาชีพทางด้านคุณภาพหลายท่านเกิดแนวคิดเกี่ยวกับอนาคตหลายอย่าง เช่น ความรู้ในด้านบริหารธุรกิจและการตลาด การมุ่งสู่อุตสาหกรรมการบริการ ทักษะในการสอนและฝึกอบรม การมุ่งเน้นเรื่องของคน และการพึ่งพาเทคโนโลยีด้านสารสนเทศมากขึ้น

..

ที่มา: The Role of Quality Professionals in the 21st Century, Proceedingd of the ANQ Congress 2006, Singapore 27th - 29th September 2006  by Lotto, Kim – Hung LAI, Environmental Technology & Engineering Mgt., Management city University of Hong Kong; Albert H.C. TSANG,Dept3.of Industrial & Systems Engineering, The Hong Kong Polytechnic University 

..
http://nec.dip.go.th/