ไอบีเอ็มยังนำเสนอชุดเครื่องมือเพื่อใช้ฟรีสำหรับนักพัฒนา ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ โลตัส ซิมโฟนี รวมถึงนักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระ สามารถสร้างปลั๊กอิน หรือซอฟต์แวร์อแด็ปเตอร์ และแอปพลิเคชั่นแบบผสม หรือแมชอัพ (Mashup) เพื่อใช้กับโลตัส ซิมโฟนีได้
ไอบีเอ็ม ประเทศไทย เปิดตัวซอฟท์แวร์ โลตัส ซิมโฟนี 1.0 เพิ่มทางเลือกใหม่ทางด้านซอฟท์แวร์ที่ใช้งานในสำนักงาน โดยผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโลตัส ซิมโฟนีเพื่อใช้งานได้ฟรีจากเว็บไซท์ http://symphony.lotus.com การเปิดตัวซอฟท์แวร์โลตัส ซิมโฟนีของไอบีเอ็มในครั้งนี้ ถือเป็นเครื่องยืนยันความมุ่งมั่น ของไอบีเอ็มในการพัฒนาและปรับปรุงซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานในสำนักงานทั่วไป |
. |
โลตัส ซิมโฟนี ถูกสร้างและพัฒนาโดยทีมงานนักพัฒนาซอฟท์แวร์ระดับโลกของไอบีเอ็ม ประกอบด้วยซอฟท์แวร์ที่นิยมใช้โดยทั่วไป ได้แก่ งานเอกสาร (โลตัส ซิมโฟนี ดอคคิวเมนท์) สเปรดชีท (โลตัส ซิมโฟนี สเปรดชีท) หรือ การนำเสนอ (โลตัส ซิมโฟนี พรีเซนเทชั่น) รองรับมาตรฐานเอกสารแบบเปิด (Open Document Format - ODF) สนับสนุน 24 ภาษา รวมทั้งภาษาไทย |
. |
และสามารถทำงานร่วมหรือถ่ายโอนกับไฟล์ที่ถูกพัฒนาโดยไมโครซอฟท์ ออฟฟิสได้ ไม่ว่าจะเป็น เวิร์ด เอ็กเซล หรือ เพาเวอร์พอยท์ โลตัส ซิมโฟนี เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน 2550 และถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง เนื่องจากถูกดาวน์โหลดและทดลองใช้โดยผู้ใช้กว่าล้านคนทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็ว ต่อมาได้มีการพัฒนาและ ได้รับการปรับปรุงผ่านทางชุมชนและเว็บไซท์ผู้ใช้โลตัส ซิมโฟนี ให้ดียิ่งขึ้น จนมาเป็นเวอร์ชั่น 1.0 ในปัจจุบัน |
. |
สำหรับการสนับสนุนทางเทคนิคสำหรับผู้ใช้โลตัส ซิมโฟนี ในเวอร์ชั่น 1.0 นี้ ไอบีเอ็มจะให้บริการสนับสนุนทางเทคนิค ผ่านทางออนไลน์ในระดับหนึ่ง แต่สำหรับการสนับสนุนทางเทคนิคสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ไอบีเอ็มได้เปิดตัว บริการสนับสนุนแบบคิดค่าธรรมเนียม ในชื่อว่า ไอบีเอ็ม อีลิท ซัพพอร์ท สำหรับโลตัส ซิมโฟนี 1.0 (IBM Elite Support for Lotus Symphony 1.0) ซึ่งประกอบด้วยการบริการสนับสนุนทางเทคนิคแบบไม่จำกัดในระดับที่เทียบเท่ากับ ผลิตภัณฑ์ซอฟท์แวร์อื่น ๆ ของไอบีเอ็ม |
. |
จากการประเมินทางด้านค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ในสหรัฐอเมริกา ไอบีเอ็ม ประเมินว่า โลตัส ซิมโฟนี จะสามารถช่วยให้องค์กรที่มีพนักงาน 20,000 คน ประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้านไลเซนท์ซอฟท์แวร์ ได้ถึง 8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และกว่า 4 ล้านเหรียญสำหรับค่าใช้จ่ายในการต่ออายุการใช้งานซอฟท์แวร์ของพนักงานจำนวนดังกล่าว ในแต่ละปี |
. |
นางเจษฎา ไกรสิงขร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซอฟท์แวร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า "ไอบีเอ็ม มีความภาคภูมิใจที่จะนำเสนอทางเลือกทางด้านซอฟท์แวร์กลุ่มออฟฟิสสำหรับผู้ใช้ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับองค์กรหลายแห่งที่อาจมีข้อจำกัดเรื่องเงินลงทุนทางด้านซอฟท์แวร์ เนื่องจากโลตัส ซิมโฟนีสามารถตอบสนอง ความต้องการการใช้งานแก่ผู้ใช้โดยทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจัดสรรเงินลงทุนด้านซอฟท์แวร์มากมายแต่อย่างใด" |
. |
นอกจากนั้น นางเจษฏา ยังกล่าวอีกว่า "ด้วยการสนับสนุนมาตรฐานเอกสารแบบเปิด (ODF) ไอบีเอ็มเชื่อมั่นว่าโลตัส ซิมโฟนีจะเป็นเครื่องมืออันทรงพลังแก่ผู้ใช้และองค์กรธุรกิจทั่วไป ที่ต้องการจะหลุดพ้น จากข้อจำกัดทางเทคโนโลยีและข้อผูกมัดด้านค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลในแต่ละปี โดยมีโอกาสได้ใช้ทางเลือกระดับ มาตรฐานระดับโลกจากไอบีเอ็มเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรในระยะยาว" การเชื่อมต่อสู่เว็บ 2.0 |
. |
คุณประโยชน์อีกประการหนึ่งของ โลตัส ซิมโฟนี ก็คือ การรองรับ เว็บ 2.0 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตล่าสุด ทั้งนี้ ภายใต้แนวทางของ เว็บ 2.0 ผู้ใช้ โลตัส ซิมโฟนี มีอิทธิพลต่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ดังกล่าว ด้วยการแสดงความคิดเห็นผ่านทาง เว็บไซท์ผู้ใช้งานโลตัส ซิมโฟนี ซึ่งคล้ายกับการแก้ไขและปรับปรุงเนื้อหาอย่างต่อเนื่องบนวิกิพีเดีย (Wikipedia) นั่นเอง |
. |
ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ไอบีเอ็มยังนำเสนอชุด API แบบเปิดที่มีประสิทธิภาพสำหรับการขยายปลั๊กอินที่หลากหลายของ โลตัส ซิมโฟนี รวมถึงโมเดลคอมโพเนนต์ของ Eclipse และ Universal Network Object และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรในองค์กรธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากระบบงานธุรกิจที่ทรงพลัง เช่น การวางแผนทรัพยากรภายในองค์กร (Enterprise Resources Planning — ERP) |
. |
และการบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management — CRM) ได้โดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง โดยบริษัทต่างๆ และหน่วยงานราชการจะสามารถผนวกรวมเครื่องมือ โลตัส ซิมโฟนี เข้ากับแอปพลิเคชั่นขององค์กรที่มีอยู่ และเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำงานในมุมมองเดียวกัน โดยมีการแสดงและอัพเดตข้อมูลจากหลายๆ แหล่งในเวลาเดียวกันได้อีกด้วย |
. |
นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังนำเสนอชุดเครื่องมือเพื่อใช้ฟรีสำหรับนักพัฒนา ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ โลตัส ซิมโฟนี รวมถึงนักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระ สามารถสร้างปลั๊กอิน หรือซอฟต์แวร์อแด็ปเตอร์ และแอปพลิเคชั่นแบบผสม หรือแมชอัพ (Mashup) เพื่อใช้กับโลตัส ซิมโฟนีได้ โดยเครื่องมือเหล่านี้ สามารถเปลี่ยนแปลงเอกสารที่มีอยู๋ให้กลายเป็นสตรีมข้อมูลที่สามารถจัดการงานธุรกิจหลักๆ เช่น การจัดส่งสินค้า การขาย และการส่งมอบ เป็นต้น |