ไอบีเอ็ม เผยผลการสำรวจความคิดเห็นซีอีโอทั่วโลกประจำปี 2008 ระบุซีอีโอในเอเชีย-แปซิฟิกกำลังเพิ่มการลงทุนในกิจกรรมเพื่อสังคม CSR ในอัตราที่รวดเร็วกว่าซีอีโอในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก อัตราการลงทุนอยู่ที่ 42 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับอัตราเฉลี่ยทั่วโลก 25 เปอร์เซ็นต์
. |
ไอบีเอ็ม ประกาศข้อมูลในส่วนของเอเชีย-แปซิฟิกจากผลการสำรวจความคิดเห็นซีอีโอทั่วโลกประจำปี 2008 ระบุซีอีโอในเอเชีย-แปซิฟิกกำลังเพิ่มการลงทุนในกิจกรรมเพื่อสังคม CSR ในอัตราที่รวดเร็วกว่าซีอีโอในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก อัตราการลงทุนอยู่ที่ 42 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับอัตราเฉลี่ยทั่วโลก 25 เปอร์เซ็นต์ |
. |
ไอบีเอ็มประกาศข้อมูลในส่วนของเอเชีย-แปซิฟิกจากผลการสำรวจความคิดเห็นซีอีโอทั่วโลกประจำปี 2008 (2008 Global CEO Study) โดยเปิดเผยถึงแง่มุมทางด้านธุรกิจที่โดดเด่นของซีอีโอในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในรายงานวิเคราะห์ที่มีชื่อว่า “องค์กรแห่งอนาคต” (The Enterprise of the Future) ระบุว่า องค์กรแห่งอนาคต หมายถึงองค์กรที่มุ่งมั่นจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์นวัตกรรมให้เกินขอบเขตจินตนาการของลูกค้า มีการบูรณาการทั่วโลก กระจายอำนาจ และมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อย่างจริงใจ และที่น่าสนใจก็คือ ซีอีโอในเอเชีย-แปซิฟิกกำลังเพิ่มการลงทุนในกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility - CSR) ในอัตราที่รวดเร็วกว่าซีอีโอในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก |
. |
การสำรวจความคิดเห็นซีอีโอทั่วโลกประจำปี 2008 ของไอบีเอ็ม นับเป็นงานวิจัยระดับโลกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับซีอีโอ 1,130 ท่านจาก 40 ประเทศใน 32 อุตสาหกรรม รวมถึงซีอีโอ 400 ท่านจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก |
. |
ข้อมูลการวิเคราะห์ในส่วนของเอเชีย-แปซิฟิกระบุว่า ซีอีโอในภูมิภาคนี้ยืนยันว่าตนเองกำลังดำเนินการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับการวางรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เพื่อไขว่คว้าโอกาสจากสภาวะแวดล้อมใหม่ๆ ที่ประกอบด้วยลูกค้า ‘ที่บริโภคข้อมูลข่าวสารผ่านหลากหลายช่องทาง’ และซีอีโอเหล่านี้ยังเพิ่มการลงทุนทางด้าน CSR ในอัตราที่รวดเร็วกว่าผู้บริหารระดับซีอีโอในภูมิภาคอื่นๆ โดยอัตราการลงทุนอยู่ที่ 42 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับอัตราเฉลี่ยทั่วโลก 25 เปอร์เซ็นต์ |
. |
มร. สตีเว่น เดวิดสัน รองประธาน ฝ่ายให้คำปรึกษาทางด้านกลยุทธ์และการเปลี่ยนแปลง ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและจีน กลุ่มธุรกิจให้คำปรึกษาของไอบีเอ็ม (IBM Global Business Services) "ซีอีโอในเอเชีย-แปซิฟิกตระหนักถึงความสำคัญของการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อย่างจริงใจ และกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของซีอีโอในเอเชีย-แปซิฟิกเชื่อว่า ลูกค้ามีความคาดหวังที่สูงขึ้นเกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อสังคมขององค์กรต่างๆ ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจขององค์กรเหล่านี้ เปรียบเทียบกับ 69 เปอร์เซ็นต์ของซีอีโอทั่วโลก ซีอีโอในภูมิภาคนี้มองว่ากิจกรรมเพื่อสังคมเป็นองค์ประกอบหลักของกลยุทธ์ทางธุรกิจในการสร้างความแตกต่างและกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจ" |
. |
เพื่อที่จะตอบสนองต่อแนวโน้มตลาดและความคาดหวังของลูกค้า ซีอีโอในเอเชีย-แปซิฟิก 84 เปอร์เซ็นต์มีแผนที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างกว้างขวางในช่วง 2 ปีข้างหน้า มร.สตีเว่น เดวิดสัน ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า "ถึงแม้ว่าซีอีโอในเอเชีย-แปซิฟิกมีความเชื่อมั่นมากกว่าซีอีโอในภูมิภาคอื่นๆ ในด้านความสามารถที่จะผลักดันการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร แต่ก็ยังมีช่องว่างที่น่าเป็นห่วงอยู่ นั่นคือ ช่องว่างระหว่างปริมาณการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น กับความสามารถในการจัดการการเปลี่ยนแปลง" |
. |
ประเด็นสำคัญจากผลการวิเคราะห์ในส่วนของเอเชีย-แปซิฟิกคือ: - เมื่อเปรียบเทียบกับซีอีโอทั่วโลก พบว่าซีอีโอในเอเชีย-แปซิฟิกมองโลกในแง่ดีมากกว่าในเรื่องที่เกี่ยวกับผลกระทบของความมั่งคั่งที่เพิ่มมากขึ้นในเขตเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดย 82 เปอร์เซ็นต์ของซีอีโอในเอเชีย-แปซิฟิก มีทัศนคติดังกล่าว เทียบกับ67 เปอร์เซ็นต์ของซีอีโอทั่วโลก |
. |
- ซีอีโอในเอเชีย-แปซิฟิกกำลังลงทุนอย่างมากเพื่อตอบสนองต่อลูกค้าในตลาดใหม่ๆ ที่กำลังเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจีน ซึ่งกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของการลงทุนทั้งหมดถูกจัดสรรไปยังพื้นที่นี้ นอกจากนั้น ซีอีโอในเอเชีย-แปซิฟิกยังขยายการลงทุนอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับลูกค้าที่มีความรู้และมีการติดต่อประสานงานกันมากขึ้น โดยการลงทุนเพิ่มขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์ทั่วเอเชีย ในขณะที่ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 22 เปอร์เซ็นต์ |
. |
- ซีอีโอในเอเชีย-แปซิฟิกกำลังดำเนินการในลักษณะที่ใกล้เคียงกับซีอีโอทั่วโลก นั่นคือ เปลี่ยนแปลงความสามารถในด้านต่างๆ อย่างลึกซึ้ง ร่วมมือกันอย่างกว้างขวาง ปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์และบริการให้มีลักษณะเป็นสากล และปรับปรุงการดำเนินงานทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ซีอีโอในเอเชีย-แปซิฟิกมีแนวโน้มสูงกว่าที่จะก้าวไปสู่ตลาดใหม่ๆ และขยายกิจการโดยอาศัยการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ |
. |
- การยอมรับในนวตกรรมทางรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่ยั่งยืนสำหรับการสร้างความแตกต่าง โดย 71 เปอร์เซ็นต์ของซีอีโอในเอเชีย-แปซิฟิกใช้ประโยชน์จากการบูรณาการและเทคโนโลยีทั่วโลก เพื่อมุ่งเน้นการสร้างสรรค์รูปแบบทางธุรกิจใหม่ |
. |
- ซีอีโอส่วนใหญ่ในเอเชีย-แปซิฟิกมุ่งเน้นรูปแบบธุรกิจที่อาศัยความร่วมมือและการทำงานร่วมกัน แต่กระนั้น ซีอีโอที่เหนือกว่ายังมุ่งเน้นเรื่องการสร้างสรรค์รูปแบบอุตสาหกรรม (Industry Model) ที่แปลกใหม่ด้วยเช่นกัน |
. |
- ซีอีโอในเอเชีย-แปซิฟิกราว 84 เปอร์เซ็นต์ เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงองค์กรครั้งใหญ่ที่รออยู่ข้างหน้า นอกจากนี้ ซีอีโอ กลุ่มนี้ยังมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองต่อการจัดการความเปลี่ยนแปลงมากกว่าซีอีโอทั่วโลก แต่ช่องว่างของการเปลี่ยนแปลง (ช่องว่างระหว่างการเปลี่ยนแปลงที่คาดหวัง กับความสำเร็จในการจัดการความเปลี่ยนแปลง) ในเอเชีย-แปซิฟิก เพิ่มขึ้น 3 เท่าจาก 6 เปอร์เซ็นต์ในปี 2006 เป็น 18 เปอร์เซ็นต์ในปี 2008 |