เนื้อหาวันที่ : 2008-06-30 10:56:58 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 3922 views

Sato Auto-ID ผู้นำตลาดระบบบาร์โค้ดและ Identification

เป็นบริษัทเครือข่ายสาขาโดยตรงจากบริษัทผู้ผลิตในประเทศญี่ปุ่น ประกอบธุรกิจทางด้าน บาร์โค้ด มาเป็นเวลายาวนานกว่า 60 ปี และมีเครือข่ายสาขาทั่วโลก ผลิตภัณฑ์ของซาโต้ในประเทศไทยจะได้รับ การการันตีคุณภาพโดยวิศวกรชาวญี่ปุ่นก่อนทุกชิ้นจึงออกจำหน่าย เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในคุณภาพสินค้าระดับเดียวกับในประเทศ ญี่ปุ่น

บริษัท ซา โต้ออ โต้ไอดี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทเครือข่ายสาขาโดยตรงจากบริษัทผู้ผลิตในประเทศญี่ปุ่น ประกอบธุรกิจทางด้าน บาร์โค้ด มาเป็นเวลายาวนานกว่า 60 ปี และมีเครือข่ายสาขาทั่วโลก โดยสินค้าหลักจะประกอบด้วย เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด ทั้งแบบ Direct Thermal และ Thermal Transfer หลายรุ่น หลายขนาด เหมาะแก่ทุกความต้องการของผู้ใช้ อีกทั้ง ยังนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับระบบบาร์โค้ดอื่น ๆ เช่น หมึกพิมพ์ เครื่องลอกลาเบลอัตโนมัติ ลาเบลหลากหลายประเภท เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ของซา โต ้ในประเทศไทยจะได้รับ การการันตีคุณภาพโดยวิศวกรชาวญี่ปุ่นก่อนทุกชิ้นจึงออกจำหน่าย เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในคุณภาพสินค้าระดับเดียวกับในประเทศ ญี่ปุ่น

.

สำหรับคอลัมน์ Interview ได้รับเกียรติจาก Mr.Susumu Tasai (General Manager) บริษัท ซา โต ้ ออ โต ้-ไอดี (ประเทศไทย) จำกัด ได้มาร่วมพูดคุยกันถึงความเป็นมาของบริษัท วิสัยทัศน์ทางด้านการดำเนินงาน เทคโนโลยีและนวัตกรรมล่าสุดของผลิตภัณฑ์ และช่องทางการจัดจำหน่าย ความสามารถทางด้านการแข่งขัน แนวโน้มธุรกิจ ที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของบริษัท

.

                         

. 

Mr.Susumu Tasai

General Manager

บริษัท ซา โต้ออ โต้ไอดี (ประเทศไทย) จำกัด

.
Q: ประวัติ สินค้าและบริการ

A: บริษัท Sato Auto ID (Thailand) Co., Ltd.ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 เริ่มต้นด้วยพนักงาน 6 คน แรกเริ่มบริษัทเป็นผู้นำเข้าบาร์โค้ดปริ๊นเตอร์และฉลาก (Label) ที่ผลิตจากมาเลเซีย จนราวปี ค.ศ. 2004 บริษัทก็เริ่มมีการผลิตฉลาก (Label) และป้าย (Tag) ภายในประเทศ ซึ่งสามารถผลิตได้ตามลักษณะการใช้งาน ตามความต้องการของลูกค้า ปัจจุบันบริษัท Sato มีพนักงานร่วม 100 คน ในการดูแลลูกค้าทั่วประเทศ

.

ผู้ประกอบการเกี่ยวกับระบบบาร์โค้ดในประเทศมีอยู่ประมาณ 11 แห่ง บริษัท Sato มีสัดส่วนการตลาดอยู่ราว ๆ 21 เปอร์เซ็นต์ ลูกค้าของบริษัท Sato ส่วนใหญ่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม อาทิ เช่น ที่นิคมอุตสาหกรรมลำพูน แหลมฉบัง ระยอง พระนครศรีอยุธยา ฯลฯ

.

บริษัท Sato สามารถจัดหาระบบบาร์โค้ดที่เหมาะสมให้กับลูกค้าได้ ซึ่งมีตั้งแต่ระบบซอฟต์แวร์ (Software) เครื่องอ่าน (Scanner) เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องติดฉลากแบบมือถือ (Hand Labellers) ซีลและฉลาก (Seal& Label)ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทยในการบำรุงรักษาระบบบาร์โค้ด (Maintenance) ทั้งภายหลังการขายกับลูกค้าเก่า และให้คำปรึกษาในการปรับปรุงระบบกับลูกค้าใหม่ สัดส่วนในการเติบ โต ของบริษัท Sato ส่วน หนึ่ง เกิดจากงานด้าน Maintenance

.

ส่วน หนึ่ง จากการจำหน่ายฉลากและป้ายต่าง ๆ เพราะระบบบาร์โค้ดเป็นของใช้แล้วหมดไป ลูกค้าญี่ปุ่นในประเทศไทยจะรู้จักบริษัท Sato ดี เพราะบริษัท Sato เป็นเบอร์ 1 เรื่องบาร์โค้ดของตลาดญี่ปุ่น จึงมีสัดส่วนลูกค้าที่เป็นญี่ปุ่นและต่างชาติอยู่สูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ลูกค้าบริษัทคนไทย 30 เปอร์เซ็นต์ โดยที่บริษัท Sato ต้องการขยายตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าคนไทยให้มากขึ้น

.

Q: ทิศทางการเปิดตลาดสินค้าบาร์โค้ดในประเทศไทย และต่างประเทศในภูมิภาคนี้

A: บริษัท Sato ไม่ได้มีลูกค้าอยู่เฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเท่านั้น ยังมีลูกค้าทางด้านลอจิสติกส์ ค้าปลีก อาหาร การแพทย์ ฯลฯ ซึ่งนอกจากบริษัท Sato จะเสนอผลิตภัณฑ์ในรูปแบบบาร์โค้ด (แบบแท่ง) แล้ว บริษัท Sato ยังมีระบบบาร์โค้ดแบบ 2 มิติให้กับลูกค้าด้วย ซึ่งเป็นนวัตกรรมแบบล่าสุดของบาร์โค้ด ปกติบาร์โค้ดแบบแท่งจะมีความจุที่เก็บได้ 13 ตัวอักษร ในขณะที่บาร์โค้ดแบบ 2 มิติ สามารถเก็บได้ราว 50 ตัวอักษร ความแตกต่างของบาร์โค้ดทั้งสองแบบคือ บาร์โค้ดแบบแท่งหากแถบในบาร์โค้ดแถบใดแถบ หนึ่ง ลอกหรือเสียหายไป ก็จะไม่สามารถอ่านข้อมูลได้ และมีขนาดใหญ่ ในขณะที่บาร์โค้ดแบบ 2 มิติมีขนาดเล็กกว่ามาก แม้จะมีบางส่วนลบเลือนไป ก็จะยังสามารถอ่านข้อมูลได้

.

บริษัท Sato ต้องการเปิดตลาดในกลุ่มบริษัทในประเทศไทยให้มากขึ้นโดยการประชาสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่การออกแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้า การลงโฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์ อินเตอร์เน็ต ที่ประสบความสำเร็จมากคือการออกงานแสดงสินค้าในงาน Assembly Technology ในปีที่ผ่านมา มีลูกค้าที่เป็นบริษัทในประเทศไทยติดต่อกลับเข้ามาหลายราย และการเข้าร่วมงาน Assembly Technology ในปีนี้ก็คาดหวังว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีเช่นเดิม

.

สำหรับตลาดบาร์โค้ดในต่างประเทศ นอกจากที่บริษัท Sato จะมีโรงงานและสำนักงานอยู่ที่มาเลเซียแล้ว ยังมีโรงงานล่าสุดอยู่ที่เวียดนามด้วย ซึ่งกำลังจะเปิดสำนักงานที่เวียดนามด้วยในไม่ช้านี้ ส่วนในประเทศจีนมีสำนักงานอยู่แล้วสองแห่งที่เซี่ยงไฮ้และเสิ่นเจิ้น และกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเกี่ยวกับการสร้างโรงงานในจีน

Q: ผลประกอบการและการเติบ โต ของบริษัท Sato

A: บริษัท Sato เปิดทำการมาปีนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว บริษัทมีการเติบ โต โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 150 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ยอดขายต่อเดือนอยู่ที่ประมาณ 22 ล้านบาท บริษัทของเราต้องเพิ่มพนักงานในทุกปีเพื่อรองรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น และในปีนี้บริษัท Sato มีความตั้งใจจะนำงานด้านการผลิตเข้าสู่ระบบ ISO 9001 เพื่อสร้างความมั่นใจในสินค้าและบริการของบริษัท Sato ยิ่งขึ้น และในปีนี้เช่นกันบริษัท Sato จะมีการขยับขยายสำนักงานไปพื้นที่ใหม่เพื่อรองรับพนักงานที่เพิ่มขึ้น

.
Q: กลยุทธ์ทางการตลาดที่ บริษัท Sato เป็นผู้นำด้านบาร์โค้ด

A: บริษัท Sato เป็นทั้งผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ ฉลาก และระบบซอฟต์แวร์เอง ดังนั้นลูกค้าจะได้รับความสะดวกอย่างมากเมื่อใช้บริการของเรา นอกจากนี้เรายังสามารถออกแบบระบบบาร์โค้ดตามคำสั่งของลูกค้าได้ บริษัท Sato ถือได้ว่ามีจุดแข็งหลายด้าน กล่าวคือ ผลิตได้เอง ดูแลรักษาได้ ทำตามสั่ง และต้นทุนต่ำ

.
Q: นวัตกรรมล่าสุดในระบบบาร์โค้ดของ บริษัท Sato คืออะไร

A: นอกจากบาร์โค้ดแบบ 2 มิติที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว บริษัท Sato ยังมีการนำระบบ RFID (Radio Frequency Identifications) มาใช้ในการระบุตัวตนผลิตภัณฑ์ ซึ่ง RFID เป็นเทคโนโลยีใหม่แต่ต้นทุนยังสูง RFID จะมีข้อเหนือกว่าบาร์โค้ดทั้งแบบแท่งและ 2 มิติ โดยที่เครื่องอ่านไม่จำเป็นต้องมองเห็นกันก็สามารถอ่านได้ด้วยคลื่นวิทยุ คือสินค้าอยู่ในกล่องโดยไม่ต้องเปิดฝา ก็สามารถทราบได้ว่ามีสินค้าอะไรอยู่ในนั้นบ้าง ขณะที่เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบแท่งและ 2 มิติต้องมองเห็นแถบเพื่อสแกนด้วยลำแสง

.

ปกติระบบบาร์โค้ดก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอยู่แล้ว RFID ก็จะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขึ้นไปอีก ใน RFID บางแบบยังสามารถเขียนและลบข้อมูลได้ด้วย เพียงแต่ว่าขณะนี้การลงทุนระบบ RFID ในช่วงต้นยังมีราคาสูง แต่ก็มีลูกค้าของเราบางรายเริ่มใช้บ้างแล้ว ปัจจุบันบาร์โค้ดแบบแท่งยังครองตลาดอยู่ถึง 92 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ RFID ยังไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์

.
Q: แนวโน้มของเทคโนโลยีบาร์โค้ดจะเป็นไปอย่างไร

A: แม้ว่า RFID จะเป็นเทคโนโลยีที่ดี แต่ก็คงต้องใช้เวลาอีกสักพัก เนื่องจากราคาระบบยังค่อนข้างสูง ขณะที่ระบบบาร์โค้ดเองผ่านการพัฒนาและใช้งานมานาน การจะเปลี่ยนไปใช้ระบบใหม่ต้องใช้เวลาเช่นกัน แม้แต่ระบบบาร์โค้ดแบบ 2 มิติเองก็ยังมีปัญหาที่เครื่องอ่านราคายังสูงกว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ดแท่งถึง 2 เท่า ก็เลยยังไม่เป็นที่แพร่หลาย

.
Q: อุตสาหกรรมที่ใช้ระบบบาร์โค้ดของบริษัท Sato มีอะไรบ้าง

A: ในทุกอุตสาหกรรมแทบจะหลีกไม่พ้น เนื่องจากต้องมีการเก็บข้อมูลวัตถุดิบ การเบิกจ่าย การสต็อกสินค้า การเคลื่อนย้ายสินค้า ฯลฯ สำหรับอุตสาหกรรมที่บริษัท Sato เข้าไปให้บริการได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมการผลิต ลอจิสติกส์ ค้าปลีก โรงพยาบาล การออกตั๋ว ฯลฯ

Q: แนวโน้มตลาดภายในปี 2008 ที่บริษัท Sato จะเป็นไป

A: บริษัทเห็นว่าตลาดเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) น่าจะมีการขยายตัวมากขึ้น ระบบของเราจะเข้าไปช่วยได้อย่างมาก สำหรับปัญหาในเรื่องเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นขณะนี้อาจจะไม่ส่งผลกับการดำเนินการของเรานัก เพราะถึงอย่างไรผู้ประกอบการก็ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดการสูญเสีย ในการผลิตอยู่แล้ว และบาร์โค้ดก็เป็นการลงทุนที่ต่ำแต่คุ้มค่า

.
Q: เหตุผลของการเข้าร่วมงาน Assembly Technology 2008 ของบริษัท Sato ในครั้งนี้
A: เราต้องการนำเสนอโซลูชันใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าที่มาชมงานในปีนี้ โดยเราจะนำเสนอระบบบาร์โค้ดแบบ 2 มิติ และระบบ RFID ให้ลูกค้าได้สัมผัสและทดลองภายในงาน โดยมุ่งหวังให้อุตสาหกรรมไทยพัฒนาขึ้น
.

จากที่กล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานและความสำเร็จของ บริษัท ซา โต้ออโต้ไอดี (ประเทศไทย) จำกัด ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าด้วยสินค้าที่มีมาตรฐานและคุณภาพสูง นอกเหนือจากนั้น ซา โต ้ยังมีบริการรับปรึกษาเกี่ยวกับการวางระบบบาร์โค้ด พร้อมด้วย บริการหลังการขายด้วยช่างมืออาชีพประสบการณ์สูง ทั้งชาวไทย และ ญี่ปุ่นเพียบพร้อมด้วยเครื่องมือและอะไหล่ส่งตรงจากญี่ปุ่น พร้อมให้บริการตลอดเวลา เพื่อสร้างความเชื่อใจและมั่นใจแก่ลูกค้า