บัณฑิต รองผู้ว่าการ ธปท. เผย แนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินครึ่งปีหลังจะให้ความสำคัญกับการดูแลปัญหาเงินเฟ้อเป็นหลัก เนื่องจากคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้น และช่วงต่อไปอัตราดอกเบี้ยก็จะเป็นขาขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะรองรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้
|
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) |
. |
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า แนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงครึ่งปีหลังจะให้ความสำคัญกับการดูแลปัญหาเงินเฟ้อเป็นหลัก เนื่องจากคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้น และช่วงต่อไปอัตราดอกเบี้ยก็จะเป็นขาขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะรองรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ |
.. |
"ดอกเบี้ยต่อไปจะเป็นขาขึ้น เพราะเงินเฟ้อไทยมันก็ขาขึ้นด้วย ดังนั้นนโยบายการเงินครึ่งปีหลังต้องดูแลเรื่องนี้ ตอนนี้พื้นฐานเศรษฐกิจไทยเข้มแข็งพอจะรองรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ ขณะเดียวกันพื้นฐานการเงินการคลัง หนี้ต่างประเทศ และการปรับตัวของประชาชนก็สามารถรับตรงนี้ได้"นายบัณฑิต กล่าวในการสัมมนา"วิกฤติน้ำมันกับทิศทางเศรษฐกิจไทย" |
.. |
สำหรับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ครั้งต่อไปในเดือนก.ค.จะมีการประเมินภาพเศรษฐกิจใหม่ หลังจากราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงไปมากจากช่วงต้นปี 51 ซึ่งมีผลต่อภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจของประเทศทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้น เศรษฐกิจโลกก็คาดว่าจะชะลอตัวครึ่งปีหลัง จากปัญหาราคาน้ำมัน อัตรเงินเฟ้อของโลกและของไทยในครึ่งปีหลังก็จะสูงขึ้นด้วย จุดนี้เป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไป |
.. |
นายบัณฑิต กล่าวว่า ปัญหาเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นมากเป็นปัญหาสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดความกังวลว่าเมื่อเงินเฟ้อสูงขึ้น จะส่งผลต่อดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งจะเป็นความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ขณะเดียวกันการผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจก็จะต้องมีความระมัดระวังเพราะจะทำให้เงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น และจะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงขึ้น ดังนั้น จะต้องทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างเหมาะสม แต่ก็มองว่าพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง |
.. |
อย่างไรก็ตาม ในอนาคตเงินเฟ้อต้องลดลงเพื่อเป็นพื้นฐานให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปได้ หากธปท.ดูแลเงินฟ้อไม่ได้ก็จะกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ |
.. |
นายบัณฑิต ยังกล่าวฝากไปยังธนาคารพาณิชย์ว่า ภาวะแวดล้อมในการทำธุรกิจธนาคารช่วงครึ่งปีหลังมีความท้าทายมากขึ้น โดยเฉพาะการขยายตัวของสินเชื่อและการรักษาคุณภาพสินเชื่อที่ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น เพื่อจะไม่ทำให้หนี้เสีย(NPL)เร่งตัวขึ้น เพราะปัจจัยต่าง ๆ ไม่ได้เอื้อเหมือนครึ่งปีแรก โดยเฉพาะปัญหา NPL ต้องดูให้ดี แต่โดยรวมก็เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์ยังปรับตัวได้ และจะมีส่วนสำคัญที่จะสนับบสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป |