โครงการ iTAP (สวทช.) หนุนผู้ประกอบการอาหารและขนมไทย พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะญี่ปุ่นถือเป็นตลาดส่งออกอาหารสำคัญของไทย หวังกระตุ้นให้นำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
. |
โครงการ iTAP (สวทช.) หนุนผู้ประกอบการอาหารและขนมไทย พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะญี่ปุ่นถือเป็นตลาดส่งออกอาหารสำคัญของไทย ล่าสุดนำผู้ประกอบการดูแนวโน้มตลาดและเทคโนโลยีการผลิตถึงดินแดนปลาดิบ หวังกระตุ้นให้นำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารของไทยให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นในฐานะประเทศผู้ผลิตอาหารรายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญชี้ผลิตภัณฑ์อาหารส่งออกของไทยยังมีอนาคตสดใส แต่อยากเห็นการบังคับใช้กฎหมายควบคุมคุณภาพอาหารเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมของไทย |
. |
อุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ภาครัฐให้ความสำคัญในการพัฒนาและผลักดันไปสู่ตลาดโลก เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีจุดแข็งทั้งในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร แม้ว่าผลจากการแข็งค่าของเงินบาททำให้ราคาขายสูงขึ้น และสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง แต่สินค้าอาหารส่งออกของไทยยังคงมีแนวโน้มที่ดีจากความต้องการของตลาดโลกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง |
. |
โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่นถือเป็นตลาดส่งออกสินค้าของไทยที่มีความสำคัญและเป็นตลาดใหญ่เทียบเท่ากับตลาดสหรัฐฯ โดยญี่ปุ่นมีการนำเข้าสินค้าจากไทยเป็นอันดับ 10 หรือ มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 3 ของสินค้านำเข้าทั้งหมดของญี่ปุ่น โดยสินค้าเกษตรและอาหารมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 20 ในสินค้านำเข้าจากประเทศไทย |
. |
โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยีของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้จัดกิจกรรมโครงการเสาะหาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมขนมไทย โดยล่าสุดได้นำผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอาหารและขนมไทยเข้าชมงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มนานาชาติ หรือ FOODEX JAPAN 2008 ณ Makuhari Messe จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น พร้อมทั้งนำคณะผู้ประกอบการเข้าเยี่ยมชมกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและขนมชั้นนำของประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ระดับโอท็อปไปจนถึงโรงงานขนาดกลาง และขนาดใหญ่ถึง 7 แห่ง |
. |
นางสาวสนธวรรณ สุภัทรประทีป ผู้อำนวยการโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) กล่าวว่า งาน FOODEX JAPAN 2008 เป็นงานแสดงสินค้าที่มีความสำคัญและใหญ่ที่สุดที่จัดขึ้นในญี่ปุ่น โดยจัดเป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่อง และในปีนี้จัดเป็นปีที่ 33 แล้ว โดยมีบริษัทผู้ผลิตและส่งออกสินค้าอาหารกว่า 2,400 ราย จาก 65 ประเทศทั่วโลกมาร่วมจัดแสดงสินค้าในงาน รวมทั้งจากประเทศไทยด้วย โดยมีผู้เข้าร่วมชมงานครั้งนี้ถึงกว่า 96,000 คน |
. |
" การนำผู้ประกอบการอาหารของไทยไปร่วมชมงานฯ ครั้งนี้ เพื่อต้องการให้เห็นถึงแนวโน้มของตลาดและความต้องการอาหารใหม่ๆ ของผู้บริโภคญี่ปุ่น เพื่อนำกลับมาพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดญี่ปุ่นได้ เพราะที่ผ่านมาญี่ปุ่นมีการนำเข้าอาหารจากไทยค่อนข้างมาก และการเข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตของญี่ปุ่น จะทำให้ผู้ประกอบการไทยได้ประโยชน์ อาทิ วิธีการบริหารจัดการโรงงานอย่างเป็นระบบ วิธีการผลิตที่ได้สุขลักษณะ รวมถึงวิธีการต่อยอดแนวทางการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้ประกอบการไทยสามารถนำกลับมาปรับปรุงและประยุกต์ใช้กับโรงงานของตนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป" |
. |
รศ.ดร.สุวิมล กีรติพิบูล อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในทีมผู้เชี่ยวชาญจากโครงการ iTAP กล่าวว่า "ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศร้อยละ 60 และผลิตขึ้นเองในประเทศเพียงร้อยละ 40 จึงทำให้มีผู้ประกอบการอาหารจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก สนใจเข้าไปแสดงและจำหน่ายสินค้าโดยใช้ช่องทางของงานดังกล่าว |
. |
สำหรับเทรนด์หรือแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารของญี่ปุ่นในปีนี้ จะเน้นในเรื่องของความสด สะอาด และปลอดภัย หรือ Food safety and Healthy เนื่องจากคุณภาพชีวิตของคนญี่ปุ่นค่อนข้างสูง และติดอันดับหนึ่งในเอเชียรวมทั้งติดอันดับโลกจึงให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวอย่างมาก ประกอบกับกระแสความใส่ใจสุขภาพที่กำลังเป็นทิศทางใหม่ของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันและอนาคต" |
. |
รศ.ดร.สุวิมล ยังกล่าวต่ออีกว่า "ความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆ เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลานานและลงทุนสูง ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงเน้นเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเดิมที่มีอยู่ให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น ทั้งรสชาติ รูปลักษณ์ และการบรรจุหีบห่อที่ดีขึ้น เช่น ชา จะมีการพัฒนาขวดหรือแพ็คเก็จจิ้งให้สามารถรักษาความสดใหม่ของใบชามากขึ้น ถือเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากของเดิมที่มีอยู่ให้มีคุณภาพดีขึ้น เป็นต้น รวมไปถึงการพัฒนากระบวนการผลิต วิธีการผลิต และพัฒนารูปลักษณ์ของสินค้าที่แตกต่าง เราในฐานะนักวิจัยด้านอาหารและผู้ประกอบการเมื่อไปได้เห็นแนวโน้มของตลาดสินค้าอาหารแล้วนำกลับมาพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์อาหารของเราต่อไป" |
. |
ด้าน รศ.ดร. วิไล รังสาดทอง อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวเสริมว่า "เรื่องการทำวิจัยและพัฒนา (R&D) และ Food safety เป็นสิ่งที่ต้องทำหลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับผู้ประกอบการด้านอาหาร เพราะหากผลิตอาหารออกมาไม่ปลอดภัย ไม่สะอาด หมายถึงไม่ได้คุณภาพ ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการของประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญอย่างมาก |
. |
จึงต้องลงทุนสูง ที่สำคัญจะต้องทำแบบครบวงจร เช่น เรื่องการทำ R&D และการบริหารจัดการระบบทั้งกระบวนการผลิตและด้านการตลาด ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการสูญเสียและควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดี ที่สำคัญเป็นการเพิ่มความมั่นใจแก่ลูกค้า และหากเกิดปัญหาต้องแก้ไขก็จะสามารถดำเนินการได้เอง ซึ่งปัญหาก็จะน้อยลงหรือแทบไม่มีเลย" |
. |
ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร ยังกล่าวอีกว่า จากที่ได้คลุกคลีกับกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารของไทยยอมรับว่า ผู้ประกอบการอาหารที่เน้นส่งออกส่วนใหญ่จะลงทุนเกี่ยวกับเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหารกันอยู่แล้ว จึงไม่ค่อยน่าเป็นห่วง ยกเว้นโรงงานขนาดเล็กที่ไม่มีเป้าหมายด้านการส่งออก จะไม่มีการลงทุนในเรื่องดังกล่าว |
. |
ซึ่งอาจทำให้ภาพลักษณ์อุตสาหกรรมอาหารโดยรวมของไทยไม่ค่อยดีนัก จึงเห็นด้วยหากมีการบังคับใช้กฎหมายกับเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ดี หากดูในภาพรวมแล้วเห็นว่าผู้ประกอบการอาหารของไทยยังมีศักยภาพและได้รับการยอมรับจากตลาดต่างประเทศในระดับต้นๆ ในเรื่องของคุณภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารยังดีอยู่ในสายตาต่างชาติ อาทิ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อไก่ และกุ้งแช่งแข็ง รวมถึงสับปะรดกระป๋อง เป็นต้น แม้ที่ผ่านมาอาจมีปัญหาบ้างกับบางสินค้าแต่มีเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างต่ำ |
. |
"อยากฝากให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารมองถึงอนาคต เพราะการจะอยู่รอดได้จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยฉพาะผู้ประกอบการส่งออกสิ่งสำคัญ คือ เน้นเรื่องการปรับปรุงคุณภาพ และลดต้นทุนการผลิต ถือเป็นแนวทางในการควบคุมคุณภาพและการบริหารจัดการแบบครบวงจรทั้ง 7 สำหรับเอสเอ็มอี หรือ QCDSMEE ประกอบด้วย Q = คุณภาพ C = ต้นทุน D= ส่งมอบ S= ปลอดภัย M = ขวัญและกำลังใจ E = สิ่งแวดล้อม ส่วนตัวสุดท้าย E = จรรยาบรรณต่อสังคม ซึ่งการจะดำเนินการดังกล่าว ต้องดูว่าบริษัทมีจุดอ่อนหรือจุดแข็งตรงไหน และเป้าหมายของบริษัทอยู่ที่ไหนประกอบ" |
. |
รศ.ดร. วิไล กล่าวนายสุรเดช เอกปัญญาสกุล ประธานบริษัท นิวทรีชั่น เอซี จำกัด ผู้ผลิตสารปรุงแต่งและวัตถุดิบสำหรับอาหาร ในฐานะผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ กล่าวว่า iTAP ได้เข้ามาช่วยเหลือบริษัทหลายโครงการ อาทิ การจัดตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาหรือการถนอมอาหารจนบริษัทสามารถพัฒนาต่อยอดมาสู่ระบบ IEC/17025 , จัดหาผู้เชี่ยวชาญจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ามาถ่ายทอดความรู้และฝึกทักษะให้กับบุคลากร ของบริษัท |
. |
สำหรับการเข้าร่วมโครงการเสาะหาเทคโนโลยีฯ ที่ประเทศญี่ปุ่นครั้งนี้ นายสุรเดช กล่าวว่า จากที่ได้มีโอกาสไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้เราได้เห็นถึงความก้าวหน้าของตลาด และความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น รวมทั้งเรื่องเทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่ก้าวล้ำหน้าเราไปอีกขั้น ทั้งเรื่องของการถนอมอาหาร กระบวนการผลิต ระบบการบริหารจัดการ และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ซึ่งเราสามารถนำความรู้ที่ได้กลับมาพัฒนาปรับปรุงหรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับตนเองต่อไป |
. |
"ในฐานะที่ประเทศไทยมีนโยบายที่จะก้าวไปสู่การเป็นครัวของโลก เรื่องของFood safety ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก และการที่ไทยเป็นหนึ่งในประเทศส่งออกอาหารรายใหญ่ การจะส่งออกไปแต่ละประเทศจะต้องศึกษาเรื่องกฎระเบียบและกฎหมายของประเทศนั้นๆ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกโดยรวม นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจะต้องเร่งปรับปรุงพัฒนาตัวเองตลอดเวลา อยู่นิ่งไม่ได้ ต้องรู้จักออกไปศึกษาตลาด และเทคโนโลยีว่าเขาก้าวไปถึงไหนแล้ว ต้องรู้จักเกาะติดกระแสและรู้จักเปลี่ยนแปลงให้ทันเพื่อความอยู่รอดในระยะยาว จึงถือว่าการจัดกิจกรรมไปเสาะหาเทคโนโลยีเพื่อดูงานในต่างประเทศของ iTAP นับว่าเป็นโครงการที่ดี มีประโยชน์ และ iTAP ยังเป็นที่พึ่งคอยให้ความช่วยเหลือกับผู้ประกอบการได้อย่างมาก หากมีกิจกรรมแบบนี้อีก ตนก็พร้อมที่จะไปร่วมทุกครั้ง" นายสุรเดช กล่าว |