เนื้อหาวันที่ : 2008-06-16 11:38:56 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1462 views

ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท ยิ้มรับมาตรการ สนพ.หนุนเทศบาลแปรรูปขยะเป็นน้ำมัน

ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท ยิ้มรับมาตรการของ สนพ.อัดฉีดงบ 105 ล้านบาท ชวนเทศบาลร่วมโครงการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน หนุนธุรกิจบริษัทย่อยแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันดิบ ขยะที่จัดเก็บได้ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 30 ตัน/วัน ต้องมีขยะพลาสติกเป็นส่วนใหญ่

.

ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท ยิ้มรับมาตรการของ สนพ.อัดฉีดงบ 105 ล้านบาท ชวนเทศบาลร่วมโครงการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน หนุนธุรกิจบริษัทย่อยแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันดิบ ขยะที่จัดเก็บได้ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 30 ตัน/วัน ต้องมีขยะพลาสติกเป็นส่วน

.

บมจ. ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท ยิ้มรับมาตรการของ สนพ.อัดฉีดงบ 105 ล้านบาท ชวนเทศบาลร่วมโครงการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน หนุนธุรกิจบริษัทย่อยของ SPPT โดดเด่น เหตุประกอบธุรกิจเป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันดิบอยู่แล้ว นำร่องนำเครื่องจักร Polymer Energy ติดตั้งที่เทศบาลนครระยองเป็นเครื่องแรกของไทย โดยคาดเริ่มผลิตได้จริงภายในเดือน ก.ค.นี้ และเมื่อผู้ลงทุนมองเห็นประโยชน์ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้จริงจะช่วยผลักดันให้ขายสินค้าได้มากขึ้น

.

นายประพจน์ พลพิพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (SPPT) ให้ความเห็นต่อกรณีที่สำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดโอกาสให้เทศบาลทั่วประเทศยื่นโครงการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันเพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานที่มีวงเงินรวมทั้งหมด 105 ล้านบาทว่าโครงการดังกล่าวจะส่งผลบวกต่อการดำเนินธุรกิจของ SPPT โดยตรง เนื่องจาก บริษัท ซิงเกิ้ล พอยท์ เอ็นเนอร์ยี่ แอนด์ เอ็นไวรอนเม้นท์ จำกัด (SPEE)

.
ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ SPPT เป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันดิบ ซึ่งบริษัทได้ร่วมทุนกับบริษัท Northern Technology International ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้แทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยและในกลุ่มประเทศอินโดจีนที่ได้รับลิขสิทธิ์ในการนำเข้านวัตกรรม ในการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันดิบซึ่งเป็นเทคโนโลยีจากประเทศโปแลนด์
 

.

นายประพจน์ พลพิพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการบริหาร

บริษัท ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (SPPT)

.

โครงการดังกล่าวถือว่าเป็นโครงการนำร่องในการนำขยะพลาสติกมาแปรรูปเป็นน้ำมันเพื่อขยายผลที่จะเกิดขึ้น ซึ่งบริษัทมีโอกาสแสดงผลงานโดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาร่วมใช้ในการแปรรูปขยะดังกล่าว เพราะมีคุณสมบัติที่ตรงตามที่ทางการกำหนด โดยประเมินจากเทศบาลต่างๆ ที่จะเสนอของบประมาณจะต้องมีปริมาณขยะที่จัดเก็บได้ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 30 ตัน/วัน ต้องมีขยะพลาสติกเป็นส่วน ประกอบไม่น้อยกว่า 6 ตัน/วัน และมีขยะในหลุมฝังกลบไม่น้อยกว่า 1 แสนตัน'

.

เขากล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาบริษัทได้เซ็นสัญญาจำหน่ายเครื่องแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน 1 เครื่องเป็นโครงการนำร่องพร้อมจัดสร้างอาคารสำหรับติดตั้งเครื่องจักร 1 กับเทศบาลเมืองระยอง โดยเครื่องจักร Polymer Energy ที่จะส่งมาทำการติดตั้ง ณ เทศบาลเมืองระยอง เพื่อแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันดิบเป็นเครื่องแรกของประเทศไทยนั้น

.

คาดว่าจะมาถึงประเทศไทยภายในเดือน มิถุนายนนี้และจะเริ่มทำการติดตั้งภายในเดือนเดียวกันโดยวิศวกรชาวโปแลนด์, อินเดีย และไทยร่วมกัน คาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2551 ซึ่งในจุดนี้ คาดว่าหลังจากที่นักลงทุนเห็นความชัดเจนและประโยชน์ที่จะได้รับ คือสามารถสร้างผลตอบแทนได้จริง และมี คุณภาพจริง จะทำให้สามารถขายสินค้าได้มากขึ้น

.

โดยปีนี้คาดว่าจะจำหน่ายได้ 3 เครื่องโดยเป็นภาครัฐ 2 เครื่องและภาคเอกชน 1 เครื่อง นอกจากนี้บริษัทยังจะมีรายได้อีกส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายสารเร่งปฎิกิริยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่กำหนดในสัญญาว่าลูกค้าจะต้องซื้อจากบริษัท

.

ทั้งนี้ นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 14 ก.ค. 2551 สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดโอกาสให้เทศบาลทั่วประเทศยื่นโครงการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน เพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานที่มีวงเงินรวมทั้งหมด 105 ล้านบาท

.

โดยโครงการนี้เป็นไปตามนโยบายของ พล.ท.หญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ต้องการส่งเสริมพลังงานทางเลือก ซึ่งขยะถือเป็นวัตถุดิบประเภทหนึ่งที่สามารถนำมาผลิตน้ำมันได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติใกล้เคียงน้ำมันดิบและเริ่มมีการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันแล้วในหลายประเทศ ประกอบกับยังเป็นการช่วยเหลือชุมชนลดปริมาณขยะพลาสติกที่กำจัดยาก และช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย คาดว่าจะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นจำนวนมากที่พร้อมจะเข้าร่วมโครงการนี้

.

ในเบื้องต้นกระทรวงพลังงาน จะให้การสนับสนุนในรูปแบบงานศึกษาวิจัย พัฒนาและสาธิตเพื่อเป็นโครงการนำร่อง สำหรับคุณสมบัติขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะเสนอของบประมาณดังกล่าวจะต้องมีปริมาณขยะที่จัดเก็บได้ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 30 ตัน/วัน ต้องมีขยะพลาสติกเป็นส่วนประกอบไม่น้อยกว่า 6 ตัน/วัน และมีขยะในหลุมฝังกลบไม่น้อยกว่า 1 แสนตัน

.

โดยกองทุนจะให้เงินสนับสนุนค่าลงทุนระบบคัดแยกและระบบแปรรูปขยะเป็นน้ำมันไม่เกิน 25% ของเงินลงทุนระบบคัดแยกและแปรรูปขยะเป็นน้ำมันและเงินสนับสนุนค่าที่ปรึกษาออกแบบระบบไม่เกิน 10% ของเงินลงทุน ทั้งนี้วงเงินสนับสนุนรวมไม่เกิน 35 ล้านบาท/แห่ง