เอสซีจี เปเปอร์ นำอุตสาหกรรมกระดาษไทยสู่มาตรฐานระดับโลก เปิดมิติใหม่ในการดำเนินธุรกิจกระดาษอย่างยั่งยืน หลังได้รับการรับรองมาตรฐานสากลในการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนตามแนวทางของ FSC เป็นรายแรกในอุตสาหกรรมกระดาษไทย
เอสซีจี เปเปอร์ นำอุตสาหกรรมกระดาษไทยสู่มาตรฐานระดับโลก เปิดมิติใหม่ในการดำเนินธุรกิจกระดาษอย่างยั่งยืน หลังได้รับการรับรองมาตรฐานสากลในการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนตามแนวทางของ The Forest Stewardship Council (FSC) เป็นรายแรกในอุตสาหกรรมกระดาษไทย พร้อมเดินหน้าขอรับการรับรองเพิ่มเติมสำหรับทุกสวนไม้ของบริษัทฯและสวนไม้สมาชิกเกษตรกรของบริษัทฯทั่วประเทศ |
. |
นายปรเมษฐ ลานรุ่งโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามฟอเรสทรี จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจสวนป่า ในธุรกิจกระดาษ เครือซิเมนต์ไทย (เอสซีจี เปเปอร์) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลในการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนสำหรับโครงการจัดการป่ายูคาลิปตัสที่จังหวัดกำแพงเพชร จาก The
|
. |
"การได้รับการรับรองจาก FSC ถือเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญไม่เฉพาะแต่บริษัทฯ เท่านั้น แต่ถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของอุตสาหกรรมกระดาษของไทย ที่จะหันมาให้ความสำคัญต่อเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะการได้รับการรับรองจากองค์กรระดับโลก จะทำให้บริษัทฯ และผลิตภัณฑ์ของเราได้รับการยอมรับในระดับสากล ขณะเดียวกัน เราก็สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่สิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป" นายปรเมษฐกล่าว |
. |
การจัดการสวนป่าแบบยั่งยืนตามแนวทางของ FSC นั้นจะต้องครอบคลุมองค์ประกอบหลัก 3 ด้านคือ 1. ต้องมีความยั่งยืนทางด้านสังคม 2. ต้องมีความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม 3. ต้องมีความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งสวนป่าของ เอสซีจี เปเปอร์ ที่จังหวัดกำแพงเพชรผ่านเกณฑ์ดังกล่าวทั้งหมด |
. |
แนวทางในการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนของเอสซีจี เปเปอร์ ได้กำหนดทิศทางในการนำหลักการจัดการของ FSC มาดำเนินการในสวนป่าของบริษัทฯและขยายไปยังสมาชิกเกษตรกรของบริษัทฯ โดยได้พัฒนาพื้นที่โดยการปลูกสวนไม้ แปลงวนเกษตร และพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม อนุรักษ์ที่อยู่อาศัยของสัตว์และพืชในท้องถิ่น ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีการกันพื้นที่ 10% ของโครงการทั้งหมดไว้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่นโดยการสร้างงาน การสร้างรายได้ และการให้ความรู้แก่เกษตรกรอีกด้วย |
. |
จากการปฏิบัติตามแนวทางการจัดการสวนไม้ตามมาตรฐานของ FSC ทำให้ผลิตภัณฑ์เอสซีจี เปเปอร์ได้รับการยอมรับในระดับสากล สามารถควบคุมวัตถุดิบไม้ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างสม่ำเสมอและยั่งยืน อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ SCG Paper บรรลุเป้าหมายที่จะสร้างสรรค์ Green Process, Green Product, Green Mind นั่นคือ การมีกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการปลูกจิตสำนึกของพนักงานและสาธารณชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมต่อไป |
. |
นายปรเมษฐ กล่าวต่อว่า "หลังจากที่เราได้รับการรับรองสวนไม้ที่กำแพงเพชรแล้ว เรากำลังจะขอรับการรับรองจาก FSC สำหรับสวนไม้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือด้วย โดยมีแผนที่จะทำการรับรองพื้นที่ทั้งสิ้นมากกว่า 100,000 ไร่ และในจำนวนนี้ 10% จะเป็นป่าอนุรักษ์ ซึ่งเท่ากับว่าเราได้ปลูกพื้นที่ป่าที่มีคุณภาพกลับคืนให้กับประเทศไทยมากกว่า 10,000 ไร่ด้วย" |