คนคิดทำธุรกิจต้องมีสัญชาตญาณของความเป็นผู้ประกอบการ คนที่ไม่มีสัญชาติญาณของความเป็นผู้ประกอบการมักจะทำธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ
คนส่วนใหญ่ที่คิดทำธุรกิจเป็นของตนเอง ต้องมีสัญชาตญาณของความเป็นผู้ประกอบการ คนที่ไม่มีสัญชาติญาณของความเป็นผู้ประกอบการมักจะทำธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จถึงแม้คนหล่านั้นจะไม่พอใจกับงานที่ทำอยู่ และกำลังขวนขวายหาธุรกิจที่เหมาะสมจะลงทุน ดังนั้นคนที่จะเป็นผู้ประกอบการมักจะไม่สะทกสะท้านกับปัญหาอุปสรรคใดที่จะเกิดขึ้น มีแต่ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะทำ ต้องทำให้ได้ แม้จะเหน็ดเหนื่อยอย่างไรก็อดทน ทำงานหนักต่อไปและมีความผูกพันกับงานที่ทำ เพื่อให้เกิดความสำเร็จ |
. |
จากการที่เดิมได้มีโอกาสคลุกคลีกับผู้ประกอบการและได้มีผู้ศึกษาคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จนั้น ต้องมีหลายประการประกอบกัน ท่านที่จะเป็นผู้ประกอบการอาจจะไม่จำเป็นจะต้องมีให้ครบทุกข้อ ยกเว้นข้อที่จำเป็นบางข้อที่คุณควรจะมี ดังนั้นขอให้ท่านพิจารณาดูตนเองว่าขาดข้อใดบ้าง เห็นสมควรที่จะพัฒนาให้เกิดขึ้นกับตนเองก็จะเป็นประโยชน์ คุณลักษณะดังกล่าวมีดังต่อไปนี้ |
. |
1. ความกล้าเสี่ยง (Risk Taking) |
"ธุรกิจ" กับ "ความเสี่ยง" เป็นของคู่กัน ผู้ที่เป็นผู้ประกอบการ ชอบทำงานที่ท้าทายความรู้ ความสามารถของเขา เขาจะไม่มีความภูมิใจกับงานที่ง่าย หรืองานที่มีความเป็นไปได้ร้อยเปอร์เซ็นต์หรือเท่ากับไม่มีความเสี่ยงเลย และเขาจะหลีกเลี่ยงงานที่มีความเสี่ยงสูงเกินไป แต่เขาชอบงานที่มีความเสี่ยงปานกลาง คือมีโอกาสประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลว ความเสี่ยงระดับนี้เขาประเมินแล้ว ไม่เกินความสามารถของเขาที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ |
. |
โดยเขาหาทางเลือกไว้หลายทาง เช่นการลงทุนธุรกิจ เขาจะใช้เวลาศึกษาวางแผนตลาด เลือกการผลิตที่เหมาะสมกับวัตถุดิบ เครื่องจักร อุปกรณ์ เงินลงทุน หลักการบริหาร พร้อมทั้งคำนวณผลตอบแทนที่ คาดว่าจะได้รับภายใต้ภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และหน่วยงานของรัฐบาล ศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วน แล้วค่อยตัดสินใจพร้อมที่จะผจญกับปัญหาต่าง ๆ เขาจะไม่เหมือนกับคนทั่วไปที่หลีกเลี่ยงความเสี่ยง แต่เขาจะกล้าเสี่ยงระดับปานกลางที่คิดว่ามีการประเมินความเป็นไปได้อย่างดีแล้ว |
. |
2. ต้องการมุ่งความสำเร็จ (Need for Achievement) |
เมื่อมองเห็นโอกาสแห่งความเป็นไปได้ พร้อมทั้งพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว เขาจะมุ่งมั่นใช้พลังงานความคิดสติปัญญา ความสามารถทั้งหมด ทำงานหนักทุ่มเทให้กับงาน เพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามช่องทางที่วางไว้ โดยไม่คำนึงถึงความยากลำบาก เขายังคงต่อสู้ต่อไป พร้อมจะทุ่มเทเวลาทั้งหมดให้กับงาน เกิดการเรียนรู้ถึงความผิดพลาดจากที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขไปสู่ความสำเร็จ พอใจภูมิใจที่งานออกมาดีเด่น จุดมุ่งหมายทางธุรกิจมิได้อยู่ที่ทำกำไร แต่จะทำเพื่อการขยายความเจริญเติบโตของกิจการ ทำไรเป็นเพียงเครื่องสะท้อนว่าจะทำได้ เขาไม่เพียงสนใจที่ผลบรรลุเป้าหมาย แต่เขาสนใจวิธีการของขบวนการที่ทำให้บรรลุเป้าหมายด้วย |
. |
3. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity Thinking) |
เมื่อท่านต้องการประสบความสำเร็จ ต้องเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่พอใจที่จะทำในสิ่งซ้ำ ๆ เหมือนแบบดั้งเดิม แต่เป็นผู้ที่ชอบเอาประสบการณ์ที่ผ่านมา นำมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์หาวิธีการใหม่ที่ดีกว่าเดิมนำมาใช้กับการบริหารธุรกิจ เป็นผู้เข้าถึงปัญหาแล้วหาทางแก้ไข หาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงการผลิตตลอดเวลา |
. |
กล้าที่จะผลิตสินค้าที่แตกต่างจากตลาดที่มีอยู่เดิม กล้าใช้วิธีการขายที่ไม่เหมือนใคร กล้าประดิษฐ์ค้นคว้าสิ่งแปลกใหม่เข้าสู่ตลาด และเกือบทุกครั้งของความแตกต่างนั้นทำให้ได้ผลเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังกล้าคิดค้นประดิษฐ์เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ ๆ มาใช้ในการผลิต นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ พร้อมทั้งแสวงหาวัตถุใหม่ ๆ มาทดแทน ปรับปรุงการดำเนินงาน นำการจัดการสมัยใหม่มาใช้ผลิตให้มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต ความคิดสร้างสรรค์นี้เขาอาจคิดขึ้นมาเอง หรือเอาแนวคิดมาจากนักประดิษฐ์ นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษามาก็ได้ |
. |
คุณ แจ็ก มิน ซุน ฮู นักธุรกิจไต้หวัน มาอยู่เมืองไทยท่านได้ร่วมกับ บริษัท สหวิริยา โอเอเซ็นเตอร์ บุกเบิกธุรกิจคอมพิวเตอร์ในเมืองไทย ซึ่งเป็นสิ่งใหม่สำหรับคนไทย เมื่อ 20 กว่าปีก่อนมีราคาแพงไม่ค่อยมีใครซื้อ แต่ แจ็ก มองการณ์ไกล เขาจะทำในส่งที่ยังไม่มีใครทำ ในตอนแรกยังไม่มีตลาด แต่เราทำก่อน |
. |
ตลาดก็จะเป็นของเรา แจ็กเชื่อว่า "คนประสบความสำเร็จจะต้องทำในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้" หรือไม่อยากทำ แต่เราพิจารณาคาดการณ์ถูกต้อง ต้องลงมือทำก่อน เขาเอาความคิดนี้เปรียบเทียบกับเครื่องคิดเลข แบบพกใส่กระเป๋าได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน และปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ก็วิวัฒนาการจนเป็นเครื่องแบบกระเป๋าหิ้ว แจ็กมองเห็นช่องทางจึงสร้างโรงงานผลิตในประเทศไทยปัจจุบันนี้ธุรกิจคุ้มทุน และมีกำรมากมาย |
. |
อีกท่านหนึ่งคือคุณรังสรรค์ ต่อสุวรรณ สถาปนิกที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีสายเลือดพาณิชย์ศิลป์ โดยริเริ่มนำเอากลยุทธ์การขายโครงการก่อสร้างตึกสูง ๆ ก่อนกิจการจะสร้างเสร็๗ ซึ่งในเวลาต่อมา กลยุทธ์นี้เป็นที่นิยมของวงการอสังหาริมทรัพย์จนถึงปัจจุบัน วิธีนี้ทำให้ผู้ลงทุนใช้เงินสดหรือเงินกู้น้อยลง นอกจากนี้เขายังเป็นคนแรกที่ริเริ่มนำเอาโครงการของอาคารที่ก่อสร้าง ทำเป็นรูปเสาโรมันมาใช้ในเมืองไทย ซึ่งทำให้ดูหรูหราอลังการ คล้ายตึกที่พระที่นั่งอนันต์ ทำให้ขายง่าย ลูกค้านิยม นี่ก็เป็นตัวอย่างที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำธุรกิจ |
. |
4. รู้จักผูกพันต่อเป้าหมาย |
เมื่อการตั้งเป้าหมาย มีการวาดภาพจินตนาการไปถึงความสำเร็จ และจะต้องทำอย่างไรถ้าล้มเหลว จะเกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไร ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เขาจะทุ่มเททุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เป้าหมายนั้นล้วนแต่เป็นการเอาชนะทั้งนั้น ความคิดผูกพันที่จะเอาชนะ ถึงกับวางแผนกลยุทธ์ไว้ล่วงหน้า เป็นอย่างดี เพราะกลัวความล้มเหลว มีการวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค์ที่อาจขัดขวางในการไปสู่เป้าหมาย เตรียมป้องกันที่จะเอาชนะปัญหาอุปสรรค์ที่คาดว่าจะทำให้เกิดการล้มเหลว แต่ขณะเดียวกันมองโลกในแง่ดี มีความหวัง มุ่งมั่นต่อเป้าหมายของความสำเร็จจนมองเห็นอนาคต |
. |
5. ความสามารถโน้มน้าวจิตใจผู้อื่น |
ผู้ประกอบการที่ดีนอกจากมีความสามารถในการทำงานแล้ว ยังต้องมีความสามารถในการชักจูงโน้มน้าวจิตใจ ผู้อื่นให้ความร่วมมือช่วยเหลือในการทำงาน รู้จักใช้ความสามารถในการทำงานสร้างทัศนคติและแรงจูงใจต่อผู้ร่วมงานให้สามารถเข้าใจการทำงาน เต็มใจปฏิบัติงานตามที่วางไว้ สามารถโน้มน้าวใจแหล่งเงินทุน เช่น ธนาคาร ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ให้คล้อยตามความคิดของเขาและยินดีให้การสนับสนุนทางการเงินลงทุนแก่เขา คุณศุภกิจ รุ่งโรจน์ ผู้มีชื่อเสียงในการทำพิซซ่าลอยฟ้าเจ้าของบริษัท อัลเพรโดเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด มีสาขา 19 แห่ง ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องการโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นไว้ ดังนี้ |
. |
"คิดอะไร เราจะเริ่มจากความคิด เมื่อคิดว่าเป็นไปได้ก็นำไปสู่ความเชื่อ เมื่อเชื่อแล้วก็ต้องบอกว่าทำได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องขายความเชื่อให้กับผู้ที่ร่วมทำให้สำเร็จ คือต้องขายความคิดนี้ให้หุ้นส่วนให้กับลูกน้อง ให้กับผู้ขายวัตถุดิบ (ซัพพลายเออร์) ให้กับลูกค้า และครอบครัว" |
. |
6. ยืนหยัดต่อสู้ทำงานหนัก |
เมื่อพิจารณารอบคอบแล้วตั้งเป้าหมาย พยายามทำงานหนัก ทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ ยากที่จะหยุดยั้งหรือท้อแท้ได้ แม้ว่าจะต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรค ถูกกดดันอย่างใหญ่หลวงก็ไม่สามารถหยุดหยั้งได้ ขอเพียงให้งานที่เขารับผิดชอบสำเร็จเท่านั้น พูดได้ว่าเขาเก็บตัวอยู่กับงานตลอดเวลา |
. |
7. เอาประสบการณ์ในอดีตมาเป็นบทเรียน |
เป็นคุณลักษณะสำคัญที่ควรจะปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการ เป็นการมองในอดีตที่เคยทำผิดพลาด นำมาเป็นบทเรียนสะท้อนไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีก หรือนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานหรือนำไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการทำงาน ให้มุ่งไปสู่การทำงานที่ดีกว่าเดิม เขาจะมองเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้ ในการทำงาน บางครั้งเขาไม่สามารถทำได้สำเร็จ เขาก็จะหยุดคิดหาวิธีใหม่ ๆ มาแก้ไขปัญหา เขาจะไม่มุทะลุยึดมั่นกับแผนเดิมแล้วทำไม่ได้ เขาจะยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงจนทำได้สำเร็จ ฟังความคิดเห็นของผู้รู้ผู้แนะนำ |
. |
8. มีความสามารถในการบิรหารงาน และเป็นผู้นำที่ดี |
มีลักษณะการเป็นผู้นำ รู้หลักการบริหารงาน เมื่อต้องทำงานร่วมกับคนหลายระดับในภาวะที่แตกต่างกันออกไป ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ลักษณะของความเป็นผู้นำก็ย่อมแตกต่างกันไป โดยเฉพาะระยะเริ่มทำธุรกิจ จะต้องรับบทเป็นผู้นำ ที่ลงมือทำทุกอย่างด้วยตนเอง ทำงานหนัก เพื่อให้บรรลุความสำเร็จเอาใจใส่ผู้ร่วมงาน วางแนวทางการทำงาน พร้อมให้คำแนะนำ ผู้ร่วมงานรับคำสั่งด้วยความเต็มใจปฏิบัติ เขาจะเป็นผู้กำกับดูแลอย่างใกล้ชิด และเป็นกันเอง ผลงานดำเนินไปด้วยดี |
. |
ต่อมากิจการเติบโตขึ้น การบริหารงานก็เปลี่ยนแปลงไป ลูกน้องมีการเปลี่ยนแปลงและเชื่อมั่นได้มากขึ้น ไว้ใจและแบ่งความรับผิดชอบให้ลูกน้องมากขึ้น จนถึงปล่อยให้ดำเนินการเอง ส่วนตนเองจะได้มีเวลาใช้ความคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ ขยายกิจการหรือลงทุนใหม่ มีการวางแผนสั่งการ ตัดสินใจทำงานตามที่วางไว้ กล้าลงทุนจ้างผู้บริหารมาช่วยงานมากกว่าเป็นธุรกิจเครือญาติ รู้จักปรับเปลี่ยนแปลงการบริหารสามารถทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ |
. |
9. มีความเชื่อมั่นตนเอง |
ผู้ประสบความสำเร็จ มักจะเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง ชอบอิสระและพึ่งตนเอง มีความมั่นใจ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว เข้มแข็งมีลักษณะเป็นผู้นำ และมีความเชื่อมั่นที่จะพิชิตเอาชนะสิ่งแวดล้อมที่น่าสะพรึงกลัวได้ มีความทะเยอทะยาน มักจะประเมินความสามารถของตนเองสูงเกินไป เชื่อมั่นตัวเองมากเกินไป จึงไม่แปลกที่ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ เคยมีประวัติความล้มเหลวมาแล้วหลายครั้ง |
. |
โดยเฉพาะช่วงแรกของชีวิตการทำงาน แต่เขาไม่เลิกล้ม ความล้มเหลวทำให้เขาไม่หยุดก้าวต่อไป กล้านำบทเรียนนั้นมาแก้ไขปรับปรุง จนสามารถต่อสู้ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ได้สำเร็จ เขาเชื่อมั่นว่า ไม่ว่าสถานการณ์อย่างไรเขาต้องพึ่งตนเองได้ ปัจจัยอื่น ๆ เป็นปัจจัยเสริมเท่านั้น การทำงานหนัก ความทะเยอทะยาน และการแข่งขันจะเป็นสิ่งสนับสนุนตนเองได้ดีที่สุด |
. |
10. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล |
เป็นผู้ที่มีประสบการณ์สามารถที่จะวิเคราะห์เหตุการณ์ในอนาคตข้างหน้าได้อย่างแม่นยำและพร้อมรับเหตุการณ์ที่จะเปลี่ยนแปลง |
. |
11. มีความรับผิดชอบ |
รับผิดชอบต่องานที่ทำเป็นอย่างดี เป็นผู้นำในการทำสิ่งต่าง ๆ เขามักจะมีความคิดริเริ่มแล้วลงมือทำเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นทำ และเขาจะเป็นผู้ดูแลจนงานสำเร็จไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เขาก็จะรับผิดชอบตัดสินใจในผลงานนั้น ไม่ว่าจะผลออกมาจะดีหรือไม่ เขาเชื่อว่าความสำเร็จเกิดจากความเอาใจใส่ ความพยายาม ความรับผิดชอบมิใช่เกิดจากโชคหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำให้เกิดขึ้นเท่านั้น |
. |
12. มีความกระตือรือร้น และไม่หยุดนิ่ง |
แสดงให้เห็นการทำงานเต็มไปด้วยพลัง มีชีวิตชีวาที่ยากจะทัดทาน มีความกระตือรือร้น ทำงานทุกอย่างรวดเร็ว ทำงานหนักมากกว่าวันละ 18 ชั่วโมง เกินกว่าคนปกติทั่วไป เร่งรัดตัวเองทุกวัน มีพลังผูกพันตัวเองไม่อยู่นิ่งด้วย การฆ่าเวลาให้หมดไปวันหนึ่ง ๆ เบื่อหน่ายต่องานซ้ำซากจำเจ |
. |
13. ใฝหาความรู้เพิ่มเติม |
ถึงแม้จะเชี่ยวชาญชำนาญในการผลิต แต่ความรู้และประสบการณ์อย่างอื่น หรือที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอ ก็ต้องหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอด โดยเฉพาะความรู้ข้อมูลทางการตลาด เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย ทั้งในและต่างประเทศ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เขาวิเคราะห์สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ความรู้ไม่มีวันเรียนจบ ความรู้อาจจะได้จากการสัมมนาฝึกอบรม อ่านหนังสือทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้น และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ มาช่วยให้ข้อคิดเห็นแก้ไขปัญหา สิ่งเหล่านี้จะเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้งานสำเร็จเร็วขึ้น |
. |
14. กล้าตัดสินใจและมีความมุมานะพยายาม |
กล้าตัดสินใจมีความหนักแน่นไม่หวาดหวั่น เชื่อมั่นในตนเองกับงานที่ทำ มีจิตใจของนักต่อสู้ แม้งานจะหนักก็ทุ่มเทให้สุดความสามารถ ไม่กลัวงานหนัก ถือว่างานหนักนั้นเป็นงานท้าทายใช้ความรู้ สติปัญญา ความสามารถของเขาในการทำงาน เขาจะภูมิใจเมื่อทำได้สำเร็จความมุมานะพยายามนั้น เป็นการทุ่มเทชีวิตจิตใจ ทำแข่งขันกับตัวเองและแข่งขันกับเวลาขวนขวายหาทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคืจนสามาถบรรลุความสำเร็จ |
. |
15. อย่าตั้งความหวังไว้กับผู้อื่น |
ผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ มักใช้น้ำพักน้ำแรงที่มาจากตนเอง จึงมีการผลักดันให้ผู้ที่อยู่รอบด้าน ลูกน้องทำงานหนักอย่างเต็มที่เช่นเดียวกับตนเพื่อให้งานสำเร็จ บางครั้งเข้าไปควบคุมกำกับอย่างใกล้ชิด ทำให้ดูเหมือนไม่ไว้วางใจผู้ร่วมงาน แต่เขาหวังเพียงความสำเร็จ |
. |
16. มองเหตุการณ์ปัจจุบันเป็นหลัก |
ผู้ประกอบการบางคนมักจะฝังใจในอดีต ซึ่งบางคนประสบความสำเร็จ บางคนล้มเหลวแล้วไม่สามารถปรับตัวเองได้ บางคนปรับตัวได้โดยพยายามเข้าใขในอดีต บางคนมีแต่โลกแห่งความฝัน สร้างวิมานในอากาศ แล้วไม่ลงมือทำ จึงไม่บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้นจงทำงานปัจจุบันให้ดีที่สุดคิดถึงอนาคตด้วยการวางแผนไว้อย่างรอบคอบ แต่มุ่งทำปัจจุบันให้สำเร็จ ไม่ต้องไปกังวลอย่างอื่นจนทำอะไรไม่ได้ |
. |
17. สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม |
ต้องเชื่อมั่นในความสามารถของตนที่จะปรับตนเองให้เป็นไปตามต้องการของสภาพแวดล้อมมากกว่าปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามที่ควบคุมไม่ได้ หรือขึ้นอยู่กับโชค หรือดวง ถ้าพูดถึง โชค หรือ ดวงนั้น ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จให้ความเห็นว่า "เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านนั้นไม่ใช่เป็นหลักแต่ทั้งนี้อยู่ที่การกระทำของตนเอง ต้องใช้ความรู้ความสามารถผลักดันตนเอง จึงจะประสบความสำเร็จไม่ใช่ไปดูหมอดู" |
. |
18. ทำอะไรเกินตัวคือความล้มเหลว |
การทำอะไรรู้จักประมาณตนเอง ไม่ทำสิ่งใดเกินตัว เกินความสามารถ จะได้ไม่ประสบกับความล้มเหลวในการลงทุนทำธุรกิจ ในระยะแรกการคาดการณืตลาดยังไม่ชัดเจน แต่ทำธุรกิจแบบใจใหญ่ แทนที่จะเริ่มเล็ก ๆ ไปก่อน แต่กลับไปลงทุนใหญ่ที่เดียว ผลลัพธ์ไม่สามารถหาตลาดได้ สินค้าที่ผลิตได้ก็ไม่สามารถจะระบายออกไปได้ ผลสุดท้ายมีสินค้าค้างสต็กอกมาก เงินทั้งหมดก็มาจมอยู่ ไม่สามารถหาเงินลงทุนต่อไปได้ นี่เป็นสาเหตุของความเกินตัว ทำให้ธุรกิจล้มเหลวได้ |
. |
19. ต้องมีความร่วมมือและแข่งขัน |
การทำธุรกิจย่อมมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ เพื่อกำไร แม้ว่าจุดม่งหมายเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องแข่งให้ล้มไปข้างหนึ่ง ยังมีวิธีการที่จะมุ่งสู่ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันออกไป |
. |
ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกันจะต้องไม่พยายามทำธุรกิจให้เกิดผู้แพ้ผู้ชนะ แต่ต้องดำเนินให้เกิดเพียงผู้ชนะอย่างเดียว ร่วมมือกันพึ่งพาอาศัยกันเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดโดยร่วมกันตั้งเป็นสมาคม ชมชม เพื่อช่วยหลือกัน การทำธุรกิจต้องมีการแข่งขัน ควรแข่งขันในเรื่องพัฒนาผลิตภัณฑ์ คุณภาพ บริการ ด้านลดต้นทุนการผลิต ถ้าไม่มีการแข่งขัน ก็จะไม่มีการพัฒนาเกิดขึ้น |
. |
20. ประหยัดเพื่ออนาคต |
การดำเนินธุรกิจต้องใช้ระยะเวลายาวนานกว่าจะบรรลุเป้าหมาย การดำเนินงานระยะสั้นยังไม่เห็นผล ผู้ประกอบการต้องมีการประหยัด อดออมไว้เพื่อนำไปขยายกิจการในอนาคต ต้องรู้จักห้ามใจที่จะหาความสุขความสบายในช่วงที่ธุรกิจพึ่งจะตั้งตัว อดเปรี้ยวไว้กินหวาน เพื่ออนาคตข้างหน้า |
. |
21. มีความซื่อสัตย์ |
ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าในด้านคุณภาพสินค้าและต้องสร้างความเชื่อถือของตัวเองในการเป็นลูกหนี้ที่ดีของธนาคาร เป็นนายที่ดีของลูกน้อง โดยสัญญาจะให้โบนัสกับเขาก็ต้องให้ มีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อนร่วมหุ้น ต่อครอบครัว และต่อตนเอง โดยจะโกหกตนเองไม่ได้ และที่สำคัญต้องซื่อสัตย์ต่อรัฐโดยการเสียภาษีอากร |
. |
คุณสมบัติของผู้ประกอบการทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ท่านลองพิจารณาดูว่าท่านเองมีคุณสมบัติอยู่แล้วเป็นทุนกี่ข้อ ส่วนข้อที่ยังขาดอยู่ในใช่ว่าจะเรียนรู้ไม่ได้ ถ้าหากท่านต้องการจะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ท่านสามารถฝึกฝนตนเองก็จะเป็นประโยชน์แก่ตัวท่าน |
. |
ที่มา : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม |